ม.ศรีปทุม-ดีโหวต กางผลโพลล์ เลือกตั้ง 66 ปชช.อยากเห็น"พิธา"เป็นนายกฯ

26 เม.ย. 2566 | 19:26 น.
อัปเดตล่าสุด :26 เม.ย. 2566 | 19:32 น.
1.1 k

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับ ดีโหวต เผยผลโพลล์ "เลือกตั้ง 66"ประชาชน โหวตเลือก "พิธา" เป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนพรรคการเมือง -ส.ส.ที่คนเทใจให้ ก้าวไกล -เพื่อไทย ยังมาแรง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) ร่วมกับดีโหวต (D-vote) เปิดเผยผลสำรวจ "คะแนนความนิยมทางการเมือง 2566" ประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 18 เม.ย. - 23 เม.ย. 2566 จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกช่วงอายุ ภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 1,850 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0 โดยทำการสำรวจผ่านเทคโนโลยีสำรวจความเห็นสาธารณะบนบล็อกเชน  

ทั้งนี้การสำรวจประกอบไปด้วย 3 หัวข้อหลักการเลือกตั้ง 2566 ได้แก่ พรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ,ผู้สมัครส.ส.แบบแบ่งเขตที่ประชาชนจะเลือก และ บุคคลที่ประชาชนอยากสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยผลสำรวจจะออกมาเป็นอย่างไรบ้าง พรรคไหนจะได้รับความนิยม สามารถตรวจสอบได้ดังต่อไปนี้ 


บุคคลที่ประชาชนอยากสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี
อับดับ 1 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (ก้าวไกล) ร้อยละ 42.23 
อันดับ 2 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (เพื่อไทย)  ร้อยละ 28.80 
อันดับ 3 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 11.12 
อันดับ 4 นายเศรษฐา ทวีสิน (เพื่อไทย) ร้อยละ 4.88 
อันดับ 5 ไม่รู้/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.47 
อันดับ 6 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (ประชาธิปัตย์) ร้อยละ 2.70 
อันดับ 7 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พลังประชารัฐ) ร้อยละ 2.69 
อันดับ 8  พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (เสรีรวมไทย) ร้อยละ 1.67 
อันดับ 9 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (ไทยสร้างไทย) ร้อยละ 1.14 
อันดับ 10 นายอนุทิน ชาญวีรกุล (ภูมิใจไทย) ร้อยละ 1.01 
อันดับ 11 นายกรณ์ จาติกวณิช (ชาติพัฒนากล้า) ร้อยละ 0.29 

เมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้วบุคคลที่มีคะแนนนิยมขยับสูงขึ้น 3 ลำดับแรกคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
 

พรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1-10 มีดังต่อไปนี้ 
อันดับ 1 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 40.62 
อับดับ 2 พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 34.58 
อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 11.25 
อันดับ 4 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 4.25 
อันดับ 5 พรรคอื่น ๆ  นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 2.05 
อันดับ 6 ประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.94 
อันดับ 7 เสรีรวมไทย ร้อยละ 1.28 
อันดับ 8 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.17 
อันดับ 9 พรรคชาติพัฒนากล้า 1.03
อันดับ 10 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 1.00
ผู้ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 0.16 

เมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว (ระหว่างวันที่ 28 มี.ค. - 10 เม.ย.) พรรคการเมืองที่ความนิยมขยับสูงขึ้นสำหรับแบบบัญชีรายชื่อ 3 ลำดับแรก คือ พรรคก้าวไกล พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคพลังประชารัฐ
 

ผู้สมัครส.ส.แบบแบ่งเขตที่ประชาชนจะเลือกอันดับ 1 -10 มีดังต่อไปนี้ 
อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 34.21 
อันดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 33.28 
อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 10.73 
อันดับ 4 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 6.13 
อันดับ 5 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 6.03 
อันดับ 6 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.63 
อันดับ 7 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.17 
อันดับ 8 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.15 
อันดับ 9 พรรคชาติพัฒนากล้าร้อยละ 0.68 
อันดับ 10 พรรคอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 0.40 
ผู้ยังไม่ตัดสินใจร้อยละ 1.61

เมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว พรรคการเมืองความนิยมขยับสูงขึ้นสำหรับแบบแบ่งเขต 3 ลำดับแรก คือ พรรคก้าวไกล พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคภูมิใจไทย


ทั้งนี้ทางสำนักโพลยังได้เปิดเผยผลเทรนด์ของความนิยมรายสัปดาห์ (เฉลี่ยรวมทั้งแบบบัญชีรายชื่อและแบ่งเขต) ที่มีการเก็บมาตลอดระยะเวลา 2 เดือน จำนวนกลุ่มตัวอย่างแต่ละสัปดาห์อยู่ที่ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 93.0-97.0 เพื่อแสดงถึงความสอดคล้องกับการตอบสนองของประชาชนที่มีต่อแคมเปญของแต่ละพรรคในช่วงหาเสียงเลือกตั้งนี้

ม.ศรีปทุม-ดีโหวต กางผลโพลล์ เลือกตั้ง 66 ปชช.อยากเห็น"พิธา"เป็นนายกฯ