นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการะทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เปิดเผยว่า นโยบายหลัก ๆ ของ กระทรวงดีอี ได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 5 เรื่องดังนี้
นายประเสริฐ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับผลงาน 1 ปีที่ผ่านมาในฐานะที่ได้นั่งตำแหน่งรัฐมนตรี อีกหนึ่งสมัยนั้น ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC ) หรือ AOC 1441ให้บริการ 24 ช.ม มีความเป็นรูปธรรมชัดเจน หลังจากเปิดให้บริการตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ได้ผลเป็นรูปธรรม จากเดิมมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นวัน 100 ล้านบาท ลดลงมาเหลือ 30-50 ล้านบาท มูลค่าความเสียหายลดลงอย่างมีนัยยะ
นอกจากนี้มีเรื่องการขับเคลื่อนเรื่องคลาวด์ เรื่องโดรนการเกษตร เรื่องเรียนไปด้วยหารายได้ไปด้วย เรื่องข้อมูลรั่วไหลในหน่วยงานราชการลดลงจากเดิมข้อมูลรั่วอดีตประมาณ 30% ปัจจุบันเหลือ 1% เท่านั้น
นอกจากนี้ในวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ออกมาตรการบังคับใช้ COD ( Cash on Delivery คือ บริการจัดส่งพัสดุแบบเรียกเก็บเงินปลายทาง โดยบริษัทขนส่งจะนำส่งพัสดุพร้อมทำหน้าที่เป็นตัวกลางเพื่อทำการจัดเก็บค่าสินค้าแทนผู้ส่งพัสดุ(ผู้ขาย) ตามที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาภายใต้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีมติเห็นชอบ และ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เดือนกรกฏาคม ทีผ่านมา โดยจะบังคับใช้ให้ผู้ส่งสินค้า Hold เงินในบัญชีไว้ 5 วัน หลังจากส่งสินค้าปลายทางถึงจะจัดเก็บเงินได้
"รายละเอียดแผนงานการขับเคลื่อนกระทรวง รวมไปถึงมาตรการช่วยเหลือ SME กรณีเรื่องแพลทฟอร์มต่างชาติทำตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยโดยไม่เสียภาษี ดังนั้นหลังรัฐบาลแถลงนโยบาย ดีอี เร่งหารือกับกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง เพื่อหามาตรการช่วยเหลือ SME ในเรื่องดังกล่าว"
นายประเสิรฐ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กระทรวงดีอี ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี 2568 จำนวน 9,800 ล้านบาท โดยในปี 2567 ได้งบประมาณเพียง 6,700 ล้านบาท ได้งบประมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจากกระทรวงดีอี เป็นกระทรวงที่สำคัญเช่นเดียวกัน โดยงบประมาณดังกล่าวจัดสรรให้กับ สำนักงานปลัด ,ดีป้า และ สดช. เพื่อลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ.