KEY
POINTS
นายอโณทัย กล่าวต่อไปว่า ไอบีเอ็มเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจในไทยมา 72 ปี โดยที่ผ่านมามีการทรานสฟอร์มตัวเองไปสู่องค์กรโมเดิร์นไนซ์ สิ่งที่อยู่ใน DNA ของไอบีเอ็มคือ การค้นคิด ประดิษฐ์ นวัตกรรม นำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยอุตสาหกรรมต่อเนื่อง แต่ยังคงมุ่งให้ความสำคัญ กับ คุณค่าหลัก(Core Value) ที่ช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จจากการนำเทคโนโลยีไอบีเอ็มมาใช้ ในแง่ของนวัตกรรมนั้นจะต้องเหมาะสม กับลูกค้า ภาคอุตสาหกรรม และผู้คนจริงๆ ที่สำคัญยังยึดมั่นในเรื่องของความไว้วางใจของลูกค้า และรับผิดชอบที่สิ่งให้คำมั่นสัญญาไว้
โดยช่วง 7 เดือนที่เข้ามาบริหารไอบีเอ็มได้ยึดมั่นในคุณค่าหลักเหล่านี้ ทั้งนี้ไอบีเอ็มเป็นบริษัทเก่าแก่ มีฐานลูกค้าจำนวนมากครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม ที่ไว้วางใจ หรือเชื่อถือในไอบีเอ็ม โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ ในกลุ่มธนาคาร สถาบันการเงิน จากการได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าเหล่านี้ ไอบีเอ็มกำลังมองว่าจะสามารถสร้างงอิมแพคให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมครอบคลุมทุกๆกลุ่มได้อย่างไร จึงมีแนวคิดการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อขยายระบบนิเวศ โดยจะขยายตัวแทนจำหน่าย ที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละภาคอุตสาหกรรม เพื่อเจาะเข้าไปในแต่ละภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงกลุ่มองค์กรขนาดกลาง และเอสเอ็มอี
โดยเฉพาะการนำ AI ไปช่วยทุกองค์กร AI ไม่ควรกระจุกตัวมีใช้งานเฉพาะในองค์กรใหญ่ๆ เท่านั้น แต่ควรนำ AI และออโตเมชันต้องเข้าไปข่วยทุกองค์กร ในการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ประเทศที่มีความสามารถการแข่งขันสูง โดยวันนี้มีความท้าทายเกิดขึ้นมากมายในทุกอุตสาหกรรรม ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคเปราะบาง มีความกังวลเกิดขึ้นมากมาย ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย
นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารส่วนงานเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าทิศทางการดำเนินการของไอบีเอ็ม ประเทศไทย คือ มุ่งทรานสฟอร์มองค์กรในประเทศไทยไปสู่ดิจิทัล โดยไอบีเอ็มถือเป็นบิ๊กบลู ที่มีเทคโนโลยีครอบคลุมตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่ บริษัทขนาดกลาง และเอสเอ็มอี
โดยไอบีเอ็มมุ่งนำเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging Technology) โดยเฉพาะที่เป็นกระแสมากสุดขณะนี้ คือ AI ที่ไอบีแอ็ม โฟกัสกลุ่มตลาดองค์กร ซึ่งที่ผ่านมาพบความเคลื่อนไหวมากมายที่ทำโครงการนำร่องด้าน AI ทั้งกับไอบีเอ็ม และผู้ให้บริการรายอื่น
อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่าองค์กร 1 ใน 3 ที่ทำโครงการนำร่อง AI ยุติการดำเนินการไป เนื่องจากพบว่าตัวเองไม่พร้อม และพบว่ามีความเสี่ยง ทั้งความน่าเชื่อถือ ความเป็นส่วนตัว และไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ขณะที่ 2 ใน 3 ขององค์กรเดินหน้าการพัฒนา AI ต่อ โดยเริ่มขยายโครงการนำร่องจากทีมีความเสี่ยงต่ำ เช่น ใช้แปลภาษา หรือ บันทึกรายงานการประชุม ไปยังโครงการที่มีความสำคัญทางธุรกิจมากขึ้น เช่น การเขียนโค้ดโปรแกรม หรือ อนุมัติสินเชื่อ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และความสามารถการแข่งขันมากขึ้น โดยปลายปีนี้จะเริ่มเห็นภาพความก้าวหน้าที่ชัดเจนมากขึ้น
นายอโณทัย กล่าวต่อไปอีกว่าไอบีเอ็มมุ่งให้ความสำคัญไปที่ 3 เทคโนโลยีหลัก ประกอบด้วย
1.เทคโนโลยีไฮบริดคลาวด์ โดยจากความร่วมมือระหว่างไอบีเอ็มกับ Red Hat ทำให้ Red Hat OpenShift ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มบริหารจัดการการทำงานบนไฮบริดคลาวด์ ถูกติดตั้งไปในทุกโซลูขันของไอบีเอ็ม ทำให้ไอบีเอ็มเป็นไฮบริดคลาวด์บายดีไซน์สำหรับองค์กร ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของทุกองค์กรที่ต้องการใช้ประโยชน์จากดาต้า พลังของระบบไอที ระบบอัตโนมัติ และ AI
2. AI ภายใต้ผลิตภัณฑ์วัตสัน เอ็กซ์ (Watson X) ที่ประกอบด้วยไอบีเอ็ม watsonx.ai: สตูดิโอ AI พร้อมใช้สำหรับองค์กรสำหรับการฝึก ตรวจสอบ ปรับใช้ และติดตั้งโมเดล AI ซึ่งรวมถึง foundation models ที่ขับเคลื่อน Generative AI , IBM watsonx.data: ดาต้าสโตร์ที่พัฒนาขึ้นบนสถาปัตยกรรม lakehouse แบบเปิด ที่ปรับให้เหมาะกับเวิร์คโหลด AI ที่ต้องกำกับดูแล พร้อมฟังก์ชั่นในการ query กำกับดูแล และรูปแบบข้อมูลเปิดเพื่อการเข้าถึงและแชร์ข้อมูล สามารถจัดการเวิร์คโหลดทั้งแบบ on-premise และในสภาพแวดล้อมแบบ multi cloud โดย Watsonx.data มาพร้อมเครื่องมือกำกับดูแล ออโตเมชัน และอินทิเกรชันแบบบิวท์อิน ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลและเครื่องมือขององค์กรเพื่อให้การติดตั้งและใช้งานระบบเป็นไปอย่างง่ายดาย
และ IBM watsonx.governance: โซลูชัน end-to-end สำหรับการกำกับดูแลข้อมูลและ AI ตอบโจทย์เรื่องความเสี่ยงและความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากองค์กรพัฒนา AI โดยไม่มีกรอบธรรมาภิบาล อนาคตหากไทยมีกฎระเบียบกำกับ AI ออกมา องค์กรเหล่านั้นจะไม่สามารถไปต่อได้
3. ระบบอัตโนมัติ หรือ ออโตเมชัน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในกระบวนการธุรกิจองค์กร เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร โดยยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว องค์กรให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล AI อาจเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยองค์กร แต่ “ออโตเมชัน” คือหัวใจสำคัญในการปฎิบัติการขององค์กร ช่วยให้องค์กร เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล