นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดผยว่า ขณะนี้มีบริษัทญี่ปุ่น สนใจเข้ามาลงทุนในโครงการ Thailand Digital Valley โดยดีป้ากำลังเร่งดึงซัพพลายเชนผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ ญี่ปุ่น เข้ามาลงทุน และเร่งการโปรโมตดึงผู้ประกอบการด้านคลาวด์ เซมิคอนดักเตอร์ ที่มีซัพพลายเชน จากจีน และไต้หวัน เข้ามาลงทุน โดยคาดว่าหากโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะสร้างให้เกิดมูลค่าการลงทุนราว 1.5 หมื่นล้านบาท และเกิดการสร้างงานราว 2 หมื่นคน
“Thailand Digital Valley” ภายใต้เขต เศรษฐกิจดิจิทัลประเทศ ไทย (EECd) ที่จะเป็นศูนย์กลางการออกแบบ พัฒนา วิเคราะห์ ทดสอบทดลองเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลขั้นสูงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Digital Hub) พร้อมขับเคลื่อนและให้บริการ Deep Tech เช่น 5G, AI, Big Data, IoT, Cloud และอื่นๆ ที่จะดึดดูดนักพัฒนาและนักลงทุนจากทั่วโลก โดยจะช่วยสนับสนุนธุรกิจและต่อยอดการส่งออกของประเทศ นำไปสู่การใช้งานทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน รวมถึงการให้บริการด้านดิจิทัลที่เกิดขึ้น ตลอดจนรองรับรูปแบบการใช้ชีวิตและอุตสาหกรรมต่างๆ
นอกจากนี้ จะทำให้เกิดบทบาทและจุดยืนในเรื่อง Digital Content, Animation, Game และ e-sports เป็น พื้นที่สร้างบรรยากาศการค้าการลงทุน และผลักดันให้เกิดศูนย์กลางความร่วมมือทาง การค้าระดับสากล
โครงการ Thailand Digital Valley ประกอบด้วยอาคารหลัก 5 อาคาร รวมพื้นที่ใช้สอย 100,000 ตารางเมตร โดยขณะนี้ อาคาร 1 ขนาดพื้นที่ 1,500 ตารางเมตร สร้างแล้วเสร็จ มีผู้เช่าเต็มพื้นที่แล้ว โดยมีบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS เป็นเจ้าแรกที่มาเปิดพื้นที่ และตั้ง AIS EEC - Evolution Experience Center หรือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อธุรกิจ ส่วนตึก 2 พื้นที่ประมาณ 4,500 ตารางเมตร มีคนมาเช่าใช้พื้นที่เต็มหมดแล้ว ขณะที่ตึกที่ 3 พื้นที่ 20,000 ตรม.เป็นพื้นที่ของสตาร์ทอัพ, ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอปอเรเตอร์) และบริษัทเครือข่ายโทรคมนาคม
“โครงการดังกล่าวเกิดความล่าช้าไป 270 วัน เนื่องจาก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ติดปัญหาโควิด นํ้าท่วม และการสั่งซื้อของไม่ทันเวลา และเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน คาดว่าภายในเดือน ก.ย.-พ.ย. 2567 นี้ จะสามารถเปิดพื้นที่ให้เอกชนเข้ามาตกแต่งภายใรออฟฟิศของตัวเองได้”
นายณัฐพล กล่าวยํ้าว่าสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในโครงการ Thailand Digital Valley ถือเป็นเงื่อนไขที่ดีสุดใน ภูมิภาคอาเซียน โดยนอกจากได้รับการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี อาทิ Smart VISA, Long-term Residence (LTR) จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้ว ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการลงทุนด้าน Big Data, Cloud Innovation และอื่นๆ ที่ได้ขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัล (Thailand Digital Catalog) สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 100% และสูงสุด 3 ปี
รวมถึงมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษา ฝึกอบรม หรือจัดอบรมแก่พนักงานของตนเอง เพื่อ Upskill หรือ Reskill ทักษะด้านดิจิทัลในหลักสูตรและสถานฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจากดีป้า ลดหย่อนภาษีเงินได้ 250% ของรายจ่ายที่ได้เป็นค่าใช้จ่าย ผนวกกับ การจ้างงานบุคลากรที่ผ่านการเข้าอบรมข้างต้น สามารถนำเงินเดือน 12 เดือนมาลดหย่อนภาษีได้ 150% ที่เป็นกลไกในการพัฒนากำลังคนดิจิทัล นอกจากนี้การขึ้นทะเบียน Thailand Digital Catalog ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงตลาดภาครัฐได้สะดวกยิ่งขึ้น