ดาวเทียม THEOS-2 จากกรณีที่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า เผย ภาพแรกจากดาวเทียม "THEOS-2" มองเห็นกรุงเทพฯ แบบชัดแจ๋ว พร้อมให้บริการเต็มรูปแบบ ก.ค.นี้
ดาวเทียม THEOS-2 กว่า 7 เดือนได้ ทดสอบระบบดาวเทียม THEOS-2 ภายหลังถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรของโลกจากท่าอากาศยานอวกาศยุโรปเฟรนช์-เกียนา ทวีปอเมริกาใต้ เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 66 ล่าสุด สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้เปิดเผยภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียมดวงนี้เป็นครั้งแรก
ดาวเทียม THEOS-2 คุณสมบัติและการใช้งาน
ดาวเทียม THEOS-2 จัดอยู่ในกลุ่ม “ดาวเทียมสำรวจโลกที่ถ่ายภาพ แบบรายละเอียดสูง” โดยสามารถถ่ายภาพวัตถุที่มี ขนาดใหญ่กว่า 50x50 เซนติเมตรบนพื้นโลกได้
ปัจจุบัน การประกอบและทดสอบดาวเทียม รวมไปถึงระบบ ภาคพื้นดินที่เกี่ยวข้องกับ THEOS-2 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นทั้งหมดแล้ว ซึ่งขณะนี้ดาวเทียม THEOS-2 ได้ถูกขนย้ายไปอยู่ที่ French Guiana เพื่อเติมเชื้อเพลิงและรอติดตั้งบนฐานปล่อย เพื่อเตรียมส่งดาวเทียมต่อไป
ดาวเทียม THEOS-2 จะช่วยเปิดโอกาสการพัฒนาระบบผลิตภาพถ่ายและบริการภูมิสารสนเทศ การปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม และบริการด้านเทคโนโลยี อวกาศ ซึ่งจะทำให้เกิดความต่อเนื่องจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในประเทศ และเป็นการ สานต่อภารกิจดาวเทียมไทยโชตที่ใกล้จะหมดวาระการใช้งานเร็วๆ นี้
คุณสมบัติเบื้องต้นของดาวเทียม THEOS-2
• วงโคจรแบบสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit)
• โคจรในระดับความสูง 621 กิโลเมตร รอบการโคจร 26 วัน
• เข้าถึงพื้นที่ได้ทั่วโลก
• ความละเอียดภาพ ภาพสี 2 เมตร / ภาพขาวดำ 50 เซนติเมตร
• สามารถผลิตภาพสีรายละเอียดสูง 50 เซนติเมตร (Pan Sharpening)
• ระยะเวลาถ่ายภาพซ้ำที่เดิมใน 4 วัน ที่มุมเอียง 45 องศา
• ความกว้างการถ่ายภาพ 10.3 กิโลเมตร
• สามารถถ่ายภาพและส่งข้อมูลลงมาที่สถานีภาคพื้นดินได้ไม่ต่ำกว่า 74,000 ตารางกิโลเมตร/วัน
• หน่วยความจำ 1 Tera Bits
• น้ำหนัก 425 กิโลกรัม อายุการใช้งานขั้นต่ำ 10 ปี
• แผนการนำส่งขึ้นสู่วงโคจรในช่วงปลายปี 2566 ด้วยจรวดนำส่ง VEGA ที่ฐานนำส่ง Guiana Space Center เมือง Kourou รัฐ French Guiana ทวีปอเมริกาใต้.
ที่มา:จิสด้า