NT หรือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 สำหรับ NT รัฐวิสาหกิจโทรคมนาคมแห่งเดียวในประเทศไทย เกิดจากการควบรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยมี สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นหัวเรือใหญ่ขับเคลื่อนองค์กร
อย่างไรก็ตาม “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ นายสรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ NT เกี่ยวกับแผนธุรกิจในปี 2567 อ่านรายละเอียดจากบรรทัดถัดจากนี้
ผลประกอบการ ณ สิ้นเดือน 31 ตุลาคม 2566 งวด 10 เดือน มีรายได้รวม 72,233 ล้านบาท สำหรับแหล่งที่มาของรายได้มาจากการดำเนินงาน 5 กลุ่มธุรกิจหลัก ประกอบด้วย
ปีนี้ตามแผนธุรกิจขาดทุน 4,000 ล้านบาท แต่คาดว่าในเดือนพฤศจิกายน หลายๆอย่างน่าจะกลับมาเป็นบวก หากไม่รวมโครงการเกษียณก่อนอายุ NT จะมีกำไร 2,000 ล้านบาท แต่หากรวมจะขาดทุน 1,700 ล้านบาท ในส่วนของรายได้ NT ทำได้ดีกว่าแผนที่ได้เสนอต่อบอร์ดไว้
10 เดือนที่ผ่านมา NT มีกำไร 1,000 กว่าล้าน แต่ปรากฏว่ามาโดนเรื่องคดีข้อพิพาทที่จะต้องจ่าย ทรัพย์สินในโครงสร้างพื้นฐาน 4,000 ล้านบาท ให้กับ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS จำนวน 2,000 ล้านบาท รวมติดลบ 9,000 ล้านบาท ปกติแล้วจะกำไร หากไม่รวมโครงการเรื่องการเกษียณราชการ Eariler retire (เออร์ลี่รีไทร์) ถ้าเป็นการบริหารปกติ น่าจะกำไร แต่พอมามีค่าใช้จ่ายที่มาโผล่มาตอนสิ้นปีคือ เออร์ลี่รีไทร์ ซึ่งเป้ารายได้ปีนี้ ตั้งไว้ที่ 98,355 ล้านบาท แค่คาดว่าสิ้นปีทำรายได้รวมต่ำกว่าแผน มีรายได้เพียง 80,000 ล้าน
บอร์ด NT ได้อนุมัติแผนธุรกิจปี 2567 ไปก่อนหน้านี้แล้ว หากไม่รวมค่าใช้จ่ายโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด NT จะมีกำไร 2,000 ล้านบาท ปีหนี้กำหนดโครงการเออร์ลี่รีไทล์ จำนวน 1,200 คน คิดเป็นวงเงิน 3,800 ล้านบาท หากรวมค่าใช้จ่ายโครงการเออร์ลี่รีไทล์ ขาดทุน 1,700 ปัจจุบันโครงสร้างบริษัท มีพนักงานประมาณ 12,600 คน ลูกจ้างประมาณ 4,000 คน รวมทั้งสิ้น 16,600 คน
โดยปี 2567 NT ตั้งเป้ารายได้รวม 89,000 ล้านบาท ซึ่งการเติบโตของรายได้รวมยังอยู่ระดับทรงตัว โดยแผนปีที่แล้วรายได้ 90,000 ล้านบาท ดังนั้น NT พยายามทำให้ได้ หากไม่สามารถทำได้ จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันปีหน้างบการลงทุน จะถูกตัดไปประมาณ 1,000 ล้านบาท จากงบลงทุนรวม 5,000 ล้านบาท
สำหรับแผนธุรกิจปี 2567 ในกลุ่มธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะเน้นให้บริการรูปแบบ Machine To Machine (M2M) เทคโนโลยีที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องและอุปกรณ์อินเทอร์เน็ต และการให้บริการ รัฐบาล รูปแบบ BTB ส่วน คลื่นความถี่ย่าน 26 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) บริษัทจะโฟกัสเรื่องของสมาร์ทต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันอุปกรณ์มาช้า คงต้องรอ ไตรมาส 2/2567 ขณะที่ธุรกิจ IDD การให้บริการจากข้อมูล ยังทรงตัว ส่วนบริการ ฟิกไลน์ ตอนนี้ชุมสายโทรศัพท์ประจำที่ได้ปิดไปแล้ว กว่า 530 แห่ง ซึ่งประหยัดงบเดือนละ 7 ล้านบาท ปัจจุบันมีลูกค้าโทรศัพท์บ้านจำนวน 2 ล้านเลขหมาย.