ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ETDA) เปิดเผยในงานสัมมนาTHAILAND Challenge: ความท้าทายประเทศไทยในหัวข้อTHAILAND Challenge : Opportunity and Position of Thailand.ว่า ปัจจุบันเราแทบจะแยกออกจากเทคโนโลยี ดิจิทัลออกจากชีวิตประจำวันไม่ได้ เอกชนหลายแห่งมีการล่าอาณานิคมมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างประโยชน์
บางประเทศเปิดรับเทคโนโลยี บางประเทศบล็อกการใช้เทคโนโลยีของประเทศอื่น แล้วประเทศไทยอยู่ตรงไหน แน่นอนนว่าเทคโนโลนยีเองมีประโยชน์ทั้งในแง่ของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) การเจรจาการค้า การพาณิชย์ ซึ่งหลายประเทศการนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่1ในปัญหาของการใช้ดิจิตอลเทรดมีข้อจำกัดที่ค่อนข้างเยอะ ทั้งความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม ความนาเชื่อถือผู้ซื้อผู้ชาย
โดยสภาพัฒน์ฯมองว่าการเติบโตของGDPไทยในไตรมาส2ลดลงเหลือ1.8%เป็นการลดลงจากไตรมาส1ในขณะที่ภาคแรงงานผู้มีงานทำมีจํานวน 39.7 ล้านคน ขยายตัว1.7% (YoY) ขยายตัวมากที่สุดในสาขา โรงแรม/ภัตตาคาร และ ก่อสร้าง ภาคเกษตรกรรมได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ขณะที่การใช้จ่าย การส่งออกสินค้า การลงทุนภาครัฐและการใช้ จ่ายภาครัฐบาลปรับตัวลดลง การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกบริการ ชะลอตัว เพราะงบประมาณปี67ยังไม่ได้รับการอนุมัติซึ่งต้องใช้งบพลางไปก่อน ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น ดังนั้นคาดว่าในไตรมาส3 การลงทุนของภาคเอกชนจะมีความเข้มข้นขึ้น
อย่างไรก็ตามคนวันทำงานที่ผ่านช่วงโควิดมีการแข่งขันที่สูงดังนั้นสุขภาพและการเจ็บป่วย คนวัยทำงานจึงมีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน ภาวะเครียดและมีการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 การบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 0.1
ในขณะที่ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การหลอกลวงทางโทรศัพท์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้พบว่าคนไทยรับสายมิจฉาชีพ 17 ล้านครั้ง 1H66 แจ้งความออนไลน์ 278,572 คดี เสียหาย 38,786 ล้านบาท ประชาชนบางส่วนถูกแอบอ้างนําหมายเลขบัตรประจำตัว ประชาชนไปเปิดเบอร์โทรศัพท์โดยไม่รู้ตัว การเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนใช้กัญชาแบบสูบเพื่อ นันทนาการเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะ กลุ่มอายุ 18 – 19 ปี
ดังนั้นจะเห็นว่าการค้าออนไลน์หรือการทำธุรกรรมต่างๆผ่านออนไลน์ยังมีความสำคัญ ยุคนี้การทำธุรกิจอะไรก็ตามยังคงต้องพึ่งพาออนไลน์ เพราะเดินเราจะทพแค่ออฟไลน์คงไม่ได้ ซึ่งหลังจากโควิด ทำให้คนหันมาให้ความสำคัญกับการค้าออนไลน์มากขึ้น ลูกค้าไม่ต้องเดินไปหาที่ร้านค้า ลูกค้าสามาถนั่งสั่งสินค้าที่ไหนก็ได้ ซึ่งเหตุผลที่ผลที่คนส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าออนไลน์ คือ ราคาถูก สินค้าหลากหลาย platform ใช้งานง่าย มี promotion และค่าจัดส่งถูก/ฟรี
แต่อย่างไรก็ตามนักชอปเลือก e-Marketplaceในขณะที่ คนขายเลือก Social Commerceเพราะง่าย แต่คสวามน่าเชื่อถือถ้าเทียบกับ e-Marketplace แน่นอนว่าน้อยว่า เพราะถ้าสินค้ามีปัญหาเราสามารถติดต่อผ่านe-Marketplace ทั้งนี้พบว่าคนเจนY และเจนZ เป็นกลุ่มที่ซื้อสินค้าทางออนไลน์มากที่สุด
ดังนั้นมองว่าไทยเองควรมีแพลตฟอร์มการค้าเป็นของตัวเอง ดีกว่าไปพึ่งพาแพลตฟอร์มของต่างชาติ เพื่อบล็อคการล่าอาณานิคมของเอกชน เราจะก้าวไปสู่ประเทศพัฒนาเราต้องมีเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์คนทั้งประเทศให้ได้โดยการนำเทคโนโลนีมาใช้