นายกรวัฒน์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ก่อตั้ง แอมิตี(Amity)บริษัทผู้ให้บริการ Software-as-a-Service (SaaS) ไทยระดับโลก กล่าวว่าAmity ตั้งบริษัทย่อยแยกออกจากหน่วยธุรกิจที่เน้นทำตลาดไทย ภายใต้แบรนด์ใหม่ชื่อแอมิตี โซลูชันส์ ( Amity Solutions)
โดยธุรกิจหลัก (core businesses) ของ Amity Solutions จะประกอบไปด้วย เอโค่(Eko) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ (automation) และเน้นการสร้างการมีส่วนร่วม(engagement) ภายในองค์กรอันเป็นผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมของ Amity ไปจนถึงผลิตภัณฑ์แชตบอตที่เรียกว่า แอมิตีบอตส์ (Amity Bots)
นอกจากนี้ ธุรกิจ Amity Solutions จะรวมถึงแหล่งรายได้อื่น ๆ ในไทยของ Amity เช่น ธุรกิจผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็น API โดยรวมแล้ว ผลิตภัณฑ์ Amity Solutions มียอดผู้ใช้งานมากกว่า 20 ล้านคนต่อเดือน และสุดท้ายคือ Amity Solutions จะรวมถึงโซลูชันและผลิตภัณฑ์ AI ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี GPT ของ Amity ที่เพิ่งเปิดตัวไปล่าสุด โดยมีเป้าหมายที่จะนำโซลูชัน AI ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT รวมเข้า (integrate) กับผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด อีกทั้งยังลงทุนเพิ่มเติมเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการโซลูชัน AI ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนึ้คาดว่าจะนำบริษัทย่อยเสนอขายหุ้นครั้งแรกของบริษัทให้กับสาธารณชน (initial public offering: IPO) Amity Solutions ในปี 2567 และจะนำเงินที่ได้ไปใช้เร่งการลงทุนในผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) ที่ขับเคลื่อนด้วย GPT การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะเห็นถึงการแบ่งออกกันอย่างชัดเจนระหว่างธุรกิจของ Amity ที่เป็น “Software Development Kit (SDK) และ Application Program Interface (API)” ที่มีการเติบโตสูงและเน้นขายตลาดโลก กับธุรกิจของAmity ที่มีเน้นตลาดไทย
“เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า GPT กำลังพาเราเข้าสู่ยุคใหม่ของความสามารถด้านการประมวลผล (computing capabilities) เราเชื่อว่ามันจะมาพลิกโฉมอุตสาหกรรมทั้งหมดในหลาย ๆ อุตสาหกรรม และแน่นอนว่ารวมถึงวิธีที่ธุรกิจดำเนินกิจการด้วยเทคโนโลยีแชตจีพีที (ChatGPT) แต่นี่เป็นเพียงการแสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์ม GPT ของ OpenAI นั้นมีศักยภาพอะไรบ้าง และ Amity Solutions มีเป้าหมายคือมุ่งสู่เป็นผู้นำระดับภูมิภาคที่พัฒนาโซลูชัน AI นอกเหนือจาก GPT”
เพื่อให้แน่ใจว่า Amity Solutions จะมีทรัพยากรที่ใช่และเหมาะสมต่อการบรรลุความทะเยอทะยานของ Amity เองในด้านเทคโนโลยี AI ที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง GPT Amity ตั้งเป้าสู่การเสนอขาย IPO Amity Solutions ในปี 2567 ในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนของการประเมินตัวเลือก IPO ในระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคเพื่อกำหนดขั้นตอนต่อไปของบริษัท อันที่จริงแล้ว Amity Solutions มีเป้าหมายคือจะเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ SaaS ที่เสนอขาย IPO รายแรกของภูมิภาค
ธุรกิจระดับโลกที่มีการเติบโตสูง Amity ที่เน้นขายผลิตภัณฑ์“แอมิตีโซเชียลคลาวด์ (Amity Social Cloud: ASC)” อย่างไรก็ตาม ก็จะยังคงดำเนินกิจการแบบเอกชนโดยมีเป้าหมายที่จะจดทะเบียนในแนสแด็ก (NASDAQ) ในอีกหลายปีข้างหน้า Amity Social Cloud ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยขับเคลื่อนชุมชนดิจิทัล และโซเชียลฟีเจอร์ในแอปพลิเคชัน โดยสามารถ plug-in เข้ากับแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ใดก็ได้ นับตั้งแต่เปิดตัวทั่วโลกเมื่อต้นปี 2564 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดยุโรปและอเมริกา โดยมียอดผู้ใช้งานต่อเดือน (monthly active users: MAUs) พุ่งสูงขึ้นจากประมาณ 30,000 รายเมื่อต้นปี 2565 ขึ้นเป็นมากกว่า 1.1 ล้านรายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยมีสำนักงานอยู่ในลอนดอน และมิลาน มีลูกค้าเป็นแบรนด์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและยุโรปหลายสิบแห่งและธุรกิจมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์
“หลังจากการเปิดตัว Amity Bots Plus ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี GPT-3 เมื่อไม่นานมานี้ สิ่งนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญสำหรับเรา ในขณะเดียวกันเราก็มุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในบริษัทเทคที่มีนวัตกรรมที่ล้ำสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ทัชพล ไกรสิงขรประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) และผู้ร่วมก่อตั้งของ Amity กล่าว “เป้าหมายของเราคือการทำให้แน่ใจว่า ลูกค้าของเราสามารถเข้าถึงโซลูชันเทคโนโลยีอันก้าวล้ำซึ่งช่วยให้พวกเขาสามารถแซงหน้าคู่แข่งได้”
ไลโอเนล ชิน (Lionel Chin) กรรมการผู้จัดการของ Amity Solutions ให้ความเห็นว่า“เรารู้สึกตื่นเต้นกับการเปิดตัวบริษัทย่อยของเราเอง ที่จะมาช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ของเราไปสู่อีกขั้นด้วย AI และระบบ automation ที่ล้ำสมัย”