เอ็ตด้า เปิดสนามทดสอบนวัตกรรม Sandbox ก่อนใช้งานจริงรับ New Business Model

21 ก.ย. 2564 | 13:46 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.ย. 2564 | 20:58 น.

เอ็ตด้า เปิดเปิดสนามทดสอบนวัตกรรม Sandbox ส่งเสริมภาครัฐ และ ธุรกิจพัฒนา Innovation ก่อนนำไปสู่การใช้งานจริง รองรับ New Business Model

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดงาน Open ETDA Sandbox “เปิดบ้าน แชร์ไอเดีย ร่วมสร้างนวัตกรรมสู่ชีวิตดิจิทัล” นำเสนอแนวทางการดำเนินงานพร้อมทิศทางของ ETDA Sandbox ที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนา Innovation เพื่อไปสู่การใช้งานได้จริงทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจ ในวันอังคารที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 10.00-12.00 น. ทาง ETDA Live

ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์  ผู้อำนวยการ ETDA กล่าวว่า ETDA ได้ดำเนินโครงการทดสอบนวัตกรรมหรือบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Digital Service Sandbox เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์เข้าร่วมทดสอบ อาทิ ผู้ให้บริการหรือผู้ที่ประสงค์จะให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ เอกชน start up หรือ Service provider ที่สนใจเพื่อส่งเสริมให้เกิดการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในด้านต่างๆ สามารถเข้าร่วมทดสอบนวัตกรรมหรือบริการของตนก่อนการให้บริการจริงภายในสภาพแวดล้อมและการให้บริการที่จำกัด เพื่อให้สามารถรองรับ Business Model ใหม่ ๆ ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือ และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สำหรับ Digital Service Sandbox ​ ประกอบด้วย 1. บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด 2. มีการนำ Innovation หรือ Technology มาใช้ ซึ่งอาจเป็นเทคโนโลยีที่ไม่เคยมีการนำมาใช้ให้บริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใด หรือแตกต่างจากบริการที่มีอยู่แล้ว 

 

 

เอ็ตด้า เปิดสนามทดสอบนวัตกรรม Sandbox ก่อนใช้งานจริงรับ  New Business Model

ตลอดจนการร่วมกันเป็น Co-creation ในลักษณะของ Partner ช่วยกันคิดหรือเสนอแนะไอเดีย เพื่อการส่งเสริมนวัตกรรม ร่วมต่อยอดการใช้งานกับหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายการดำเนินงาน รวมถึง สิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับเจ้าของนวัตกรรม และผู้ประกอบการที่จะไปใช้บริการ โดย ETDA จะมีบทบาทเสมือนเป็นพี่เลี้ยงในการทำหน้าที่ คอยให้คำแนะนำ คำปรึกษาแก่เจ้าของนวัตกรรม ในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือบริการดิจิทัลให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐาน กฎหมายที่มีอยู่เดิมหรือกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. ....  ที่อยู่ระหว่างพิจารณาของสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้น.