sustainable

จุฬาฯเปิดหลักสูตร Smart Sustainable City for Silver GEN รับมือเมืองผู้สูงวัย

    "ดีป้า"จับมือ สถาปัตย์ จุฬาฯ ซียู ดีโฟร์เอส เอ็นเทอร์ไพรส์ เปิดตัวหลักสูตร Smart Sustainable City for SilverGEN เจาะลึกเทคโนโลยีการออกแบบเมืองอย่างยั่งยืนเพื่อผู้สูงอายุ พร้อมลงนามความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

 

 

มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี2567 ส่งผลให้หลายภาคส่วนให้ความสำคัญเกี่ยวกับแผนรองรับและสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจไม่ว่าภาครัฐ เอกชนรวมถึงสถาบันการศึกษา

เปิดหลักสูตร

 

อย่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท ซียู ดีโฟร์เอส เอ็นเทอร์ไพรส์จำกัด ร่วมเปิดหลักสูตร Smart Sustainable City for Silver GEN

เจาะลึกเทคโนโลยีการออกแบบเมืองอย่างยั่งยืนเพื่อผู้สูงอายุ และลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Life-long Learning Ecosystem for Smart City Development)ณ ห้องสมุด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า  ดีป้า พร้อมด้วย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาฯ และ ซียู ดีโฟร์เอส เอ็นเทอร์ไพรส์ เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้และทักษะใหม่

สำหรับการวางแผนและ
การออกแบบเมืองอัจฉริยะเพื่อผู้สูงวัยอย่างยั่งยืนให้กับบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตลอดจนผลักดันให้กำลังคนและบุคลากรแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และสร้างพันธมิตรทางวิชาการที่เข้มแข็ง

ควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการสร้างเมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของหลักสูตร Smart SustainableCity for Silver GEN เจาะลึกเทคโนโลยีการออกแบบเมืองอย่างยั่งยืนเพื่อผู้สูงอายุ

“สำหรับความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ถือเป็นการบูรณาการการทำงานของ 3 หน่วยงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และยกระดับการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดอบรม

เพื่อเพิ่มทักษะ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับการบริหารจัดการเมืองรองรับสังคมผู้สูงวัยแก่บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์

อีกทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนากำลังคนและบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานรอบด้าน” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

 ผศ. สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งสร้างหลักสูตรสร้างความร่วมมือทางวิชาการ

เพื่อสร้างผู้นำในด้านเทคโนโลยีการวางแผน ออกแบบ และพัฒนาเมืองผู้สูงอายุแห่งอนาคต และเพื่อสร้างโอกาสในการขยายธุรกิจ และสร้างชุมชมผู้ประกอบการ และนักพัฒนาเมืองยุคใหม่

ให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี โดยมีคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงร่วมสอนในหลักสูตร

เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ถึงการรับรองสังคมผู้สูงวัย จึงได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ สำรวจฉากทัศน์ใหม่สังคมไทย: ยุคทองสูงวัยหรือวิกฤตแห่งอนาคต

โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ประกอบด้วย รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบเพื่อทุกคน Universal Design Excellent Center คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม นายกเทศมนตรีเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี และ นายพงษ์วุฒิ แสงประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย กลุ่มธุรกิจ ลูกค้าองค์กร บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์(ประเทศไทย) จำกัด

ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองในแนวทางการบริหารจัดการ และนโยบายที่จำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตของสังคมไทยในยุคที่ประชากรสูงวัยกำลังเป็นส่วนสำคัญ

รศ. ไตรรัตน์ จารุทัศน์ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบเพื่อทุกคน Universal Design Excellent center คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ และเป็นผู้อำนวยการหลักสูตร Smart Sustainable City for Silver GEN

เจาะลึกเทคโนโลยีการออกแบบเมืองอย่างยั่งยืนเพื่อผู้สูงอายุ กล่าวว่า “ผู้สูงอายุกำลังจะยึดเมือง การปรับตัวของเมืองไทยต่อการเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์แล้วในปี พ.ศ. 2565(ประชากรไทยกว่า 20% มีอายุ 60 ปีขึ้นไป) และประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสุดยอด (Super-Aged Society)

ในปี พ.ศ.2576(ประชากรไทยกว่า 28% จะมีอายุ 60 ปีขึ้นไป) ไม่ใช่แค่ตัวเลขสถิติ แต่เป็นความจริงที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ปัจจุบัน เมืองไทยหลายแห่งยังไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เมืองหลายแห่งยังขาดความปลอดภัย

ไม่ว่าจะเป็นทางเดินเท้าที่ไม่เหมาะสม การขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน หรือระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่เอื้อต่อการเดินทางของผู้สูงวัย สภาพแวดล้อมเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุในไทยต้องเผชิญกับความท้าทายในการใช้ชีวิตประจำวัน

ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ เราจะปรับเมืองให้เป็น Smart และ Safety สำหรับทุกคนได้อย่างไร? คำตอบไม่ใช่เพียงแค่การติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่คือการพัฒนาเมืองให้เป็น เมืองอัจฉริยะอย่างยั่งยืน ที่ไม่เพียงแค่ตอบสนองต่อความต้องการของประชากรสูงวัย แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อทุกช่วงวัย”

ดังนั้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงได้จัดโครงการนำร่องหลักสูตร Smart Sustainable City for Silver GEN เจาะลึกเทคโนโลยีการออกแบบเมืองอย่างยั่งยืนเพื่อผู้สูงอายุ ณ ประเทศญี่ปุ่น

ที่มีวัตถุประสงค์หลัก ในการส่งเสริมเพื่อสร้างการรับรู้ สร้างการมีส่วนร่วมที่สอดคล้องและเป็นประโยชน์ให้เกิดความร่วมมือกันในการยกระดับทักษะด้านการออกแบบอย่างยั่งยืนให้แก่ ผู้บริหารระดับสูง นักพัฒนาเมือง เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  

ผู้ที่สนใจการพัฒนาการออกแบบเมืองสู่ความยั่งยืน สถาปนิก วิศวกร ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักออกแบบเมือง  รวมถึงบุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

 รศ.ดร.สุธี อนันต์สุขสมศรี รองคณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความร่วมมือ ดีป้า และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเป็นก้าวสำคัญในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย

ในเรื่องการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย โดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูตร "Smart Sustainable City for Silver GEN" ที่จะนำเสนอแนวทางการออกแบบและพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

ที่เน้นความปลอดภัยและความสะดวกสบายสำหรับผู้สูงอายุที่ไม่ใช่เพียงเพื่อประโยชน์ของผู้สูงวัย แต่ยังเป็นการสร้างอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนสำหรับคนทุกวัยในสังคมไทย