zero-carbon

การบินไทยเปิดเวทีนำผ้าหุ้มเบาะที่นั่งไม่ใช้แล้ว คลีเอทผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

    การบินไทยจัดประกวด ออกแบบผลิตภัณฑ์รักษ์โลก นำวัสดุผ้าหุ้มเบาะที่นั่งผู้โดยสารบนเครื่องบินที่ปลดระวางแล้ว Upcycling นำกลับมาใช้ใหม่อย่างสร้างสรรค์ ต่อยอดเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำหรับวางจำหน่ายภายใต้โครงการ Zero Waste Living by THAI ผ่านร้าน THAI Shop

การบินไทยจัดเวทีส่งเสริมการออกแบบผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ภายใต้แนวคิด FROM WASTE TO WEALTH     
นำวัสดุผ้าหุ้มเบาะที่นั่งผู้โดยสารบนเครื่องบินที่ปลดระวางแล้ว Upcycling
นำกลับมาใช้ใหม่อย่างสร้างสรรค์ 

การบินไทย Upcycling

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จัดพิธีมอบรางวัลแก่ทีมชนะเลิศกิจกรรมประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling ในโครงการ Zero Waste Living by THAI ภายใต้แนวคิด “FROM WASTE TO WEALTH”

การบินไทยเปิดเวทีนำผ้าหุ้มเบาะที่นั่งไม่ใช้แล้ว คลีเอทผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

โดยเป็นการนำเสนอผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ Upcycling จากวัสดุผ้าหุ้มเบาะที่นั่งผู้โดยสารบนเครื่องบินที่ปลดระวางแล้ว เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่อย่างสร้างสรรค์

รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อโลกและสิ่งแวดล้อม 

การบินไทยดำเนินธุรกิจโดยตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากอุตสาหกรรมการบินมาอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านต่างๆ

การบินไทยเปิดเวทีนำผ้าหุ้มเบาะที่นั่งไม่ใช้แล้ว คลีเอทผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านกิจกรรมและโครงการริเริ่มต่างๆ ทั้งในรูปแบบการลดการใช้ทรัพยากร ลดปริมาณขยะด้วยการนำวัสดุที่ไม่ใช้งานแล้วกลับมาพัฒนาสร้างคุณค่าให้เกิดประโยชน์เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด Zero Waste Living 

ภายใต้แนวคิด Zero Waste Living ซึ่งประกอบด้วยหลักการหลัก 3 ประการ ได้แก่

  • FROM PLANE TO PLANET-การบินเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • FROM WASTE TO WEALTH-การพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 
  • FROM PURPLE TO PURPOSE-จากใจสู่เป้าหมายเพื่อความยั่งยืน

การบินไทยเปิดเวทีนำผ้าหุ้มเบาะที่นั่งไม่ใช้แล้ว คลีเอทผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

กิจกรรมประกวดการออกแบบผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ นับว่าเป็นการสานต่อแนวคิด Zero Waste Living  ส่งเสริมการสร้างสรรค์และความยั่งยืนในสังคม มีผลงานจากนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 7 ทีม จากผู้สมัครทั้งหมด 15 ทีม ซึ่งได้นำเสนอไอเดียสร้างสรรค์การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน

การบินไทยเปิดเวทีนำผ้าหุ้มเบาะที่นั่งไม่ใช้แล้ว คลีเอทผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

โดยเน้นหลักการ “Upcycle” ซึ่งเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถยืดอายุการใช้งานด้วยการปรับเปลี่ยนรูปร่างผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำมาใช้งานได้อีกครั้ง และหลักการ "สร้างมูลค่าใหม่" ที่เน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้งานได้จริงและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง 

อาทิ ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ยั่งยืน อาทิ คุณจิรโรจน์ พจนาวราพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แสงเจริญแกรนด์ จำกัด (ภายใต้แบรนด์ CIRCULAR) คุณธวรรณัฏฐ์  เลิศหัตถศิลป์ ผู้จัดการส่วนงานบริหารผลิตภัณฑ์ บริษัท โซลูชั่น ครีเอชั่น จำกัด (ภายใต้แบรนด์ UP TO YOU) (บริษัทในเครือ PTTGC) และคุณดรัสวิน สุวรรณเพชร  ผู้ออกแบบเอกลักษณ์แบรนด์ Zero Waste Living by THAI ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาตัดสิน 

การบินไทยเปิดเวทีนำผ้าหุ้มเบาะที่นั่งไม่ใช้แล้ว คลีเอทผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

โดยพิจารณาจากความคิดสร้างสรรค์ ฟังก์ชันใช้งาน ความสวยงาม และการนำไปต่อยอดในเชิงธุรกิจ ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะถูกนำไปต่อยอดเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำหรับวางจำหน่ายภายใต้โครงการ  Zero Waste Living by THAI ผ่านร้าน THAI Shop ต่อไป

การบินไทยเปิดเวทีนำผ้าหุ้มเบาะที่นั่งไม่ใช้แล้ว คลีเอทผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้รับรางวัลบัตรโดยสารเส้นทางไป-กลับ กรุงเทพ-ฮ่องกง จำนวน 3 ที่นั่ง ทีมรองชนะเลิศ ได้รับรางวัลบัตรโดยสารเส้นทางไป-กลับ กรุงเทพ-เชียงใหม่ จำนวน 3 ที่นั่ง และทีมที่ได้รับรางวัลชมเชยได้รับของที่ระลึกจากการบินไทย

ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม MALAI living Collection  โดย นายปัทวี เข็มทอง เจ้าของผลงานผ้าม่าน และ Bean Bag ที่มีแนวความคิดจากความเชื่อของคนไทยในการใช้เครื่องแขวนดอกไม้ แขวนไว้ที่หน้าต่างเพื่อความเป็นศิริมงคลป้องกันภัยอันตรายที่อาจจะเข้ามาทางประตูหรือหน้าต่าง 

การบินไทยเปิดเวทีนำผ้าหุ้มเบาะที่นั่งไม่ใช้แล้ว คลีเอทผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

จึงได้นำความคิดนี้มาเป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์จากผ้าเหลือใช้ของที่นั่งการบินไทยมาออกแบบเป็นผ้าม่านพับ และเบาะนั่ง ใช้เศษผ้าสีสันหลากหลายของที่นั่งผู้โดยสารมาตัดเป็นลวดลายของดอกรักบนเครื่องแขวน