แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานเปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กระทรวงฯเตรียมทบทวนมาตาการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ในส่วนของน้ำมันดีเซลที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ตรึงราคาไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567
โดยหนึ่งในแนวทางสำคัญก็คือ การหารือกับกรมสรรพสามิต เพื่อใช้กลไกของภาษีสรรพสามิตในการช่วยสนับสนุน เนื่องจากปัจจุบันปัจจุบันกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้อุดหนุนราคาดีเซลเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.30 บาทต่อลิตร จากเดิมที่เคยอุดหนุนในอัตราไม่ถึง 5 บาท
ทั้งนี้ เชื่อว่าจากการอุดหนุนดังกล่าว กองทุนน้ำมันฯน่าจะบริหารจัดการตรึงราคาน้ำมันดีเซลได้จนสิ้นสุดระยะเวลาตามมาตรการดังกล่าว เนื่องจากกองทุนฯยังมีเงินกู้เหลืออยู่
ที่สามารถเบิกจากสถาบันการเงินได้อีกประมาณ 3 หมื่นล้านบาท จากปี 2565-2566 ที่รัฐบาลให้กรอบวงเงินกู้ได้ไม่เกิน 1.5 แสนล้านบาท โดยทำเรื่องกู้รวมไปแล้ว 1.05 แสนล้านบาท เพื่อการบริหารดูแลราคาดีเซล
"เชื่อว่ากองทุนน้ำมันฯจะบริหารจัดการเงินจนสามารถตรึงราคาน้ำมันในประเทศให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรได้ตนถึง 31 มี.ค. 67 แน่นอน แต่หลังจากนั้นคงต้องทบทวนรายละเอียดกันใหม่ หากต้องการต่ออายุมาตรการออกไปอีก"
สำหรับปัจจัยสำคัญมาจากราคาน้ำมันดีเซลในตลาดโลกในช่วงที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ต้องจ่ายเฉพาะดีเซลวันละประมาณ 375 ล้านบาทหรือเฉลี่ยเดือนละ 1.1 หมื่นล้านบาท
โดยเมื่อหักลบกับรายได้จากกลุ่มเบนซินและชดเชยก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) อีกราว 1,700 ล้านบาทต่อเดือนทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีเงินไหลออกวันละประมาณ 320.50 ล้านบาทหรือเดือนละประมาณ 10,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี หากระดับราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกยังคงมีทิศทางผันผวนในระดับเฉลี่ย 105-110 เหรียญต่อบาร์เรลคาดว่าฐานะกองทุนน้ำมันฯ จะติดลบประมาณ 100,000 ล้านบาทภายในเมษายนนี้
“ราคาน้ำมันที่ผ่านมาค่อนข้างผันผวนสูงเดี๋ยวขึ้น ลง จากปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์เป็นหลัก ทั้งจากการสู้รบในทะเลแดง และในช่วง 1-2 วัน รัสเซีย-ยูเครนมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นภายหลังนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปฏิเสธข้อเสนอหยุดยิงชั่วคราว ประกอบกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางก็ทวีความตึงเครียดขึ้นเช่นกัน"
ปัจจุบันฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 มีฐานะสุทธิ -87,828 ล้านบาท แบ่งเป็น
“หากดูจากวงเงินที่เหลือกองทุนน้ำมันฯอาจจะบริหารจัดการตรึงราคาดีเซลยืดได้ถึง เม.ย. เท่านั้น หลังจากจากนั้น พ.ค.ทุกอย่างจะเกิดปัญหากระทรวงพลังงานเองก็กำลังเร่งหาแนวทางที่จะดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยจะต้องสรุปออกมาให้ชัดเจนในช่วง มี.ค. และต้นเมษายนโดยเร่งด่วน เพราะสถานการณ์ขณะนี้ของกองทุนฯ ต่างจากอดีตที่เป็นวิกฤตราคาน้ำมัน แต่ปัจจุบันเป็นวิกฤตสภาพคล่องกองทุนน้ำมันแล้ว ซึ่งการกู้เพิ่มนั้นแม้แต่สถาบันการเงินรัฐก็คงไม่สามารถดำเนินการให้ได้หากไม่มีแหล่งรายได้ไปการันตี”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง