energy
647

"วัชระ" นำยื่นหนังสือ "พีระพันธุ์" ปมตั้ง "ผู้ว่าฯกฟผ.-ค่าไฟแพง"

    "วัชระ เพชรทอง" นำกลุ่มพิทักษ์พลังงานยื่นหนังสือ"พีระพันธุ์"ปมตั้ง"ผู้ว่าฯกฟผ.-ค่าไฟแพง" ผ่านนายโกมล  บัวเกตุ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ที่บ้านพิบูลธรรม พร้อมชี้แจงข้อเท็จจริงทั้ง 2 ประเด็น

กลุ่มพิทักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อประชาชน  นำโดย นายธรรมยุทธ   สุทธิวิชา อดีตประธานสหภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ,นายพิเชษฐ ชูชื่น อดีตผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าบางปะกง, นายวัชระ เพชรทอง อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือถึง นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน เรื่อง การแต่งตั้งผู้ว่าฯ กฟผ.และการแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าแพงผ่านนายโกมล  บัวเกตุ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน ที่บ้านพิบูลธรรม  

ทั้งนี้ กลุ่มพิทักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อประชาชนได้ทราบปัญหาการแต่งตั้งผู้ว่าฯ กฟผ. คนที่ 16 มากว่า 6 เดือน  และปัญหาค่าไฟฟ้าแพง  โดยในส่วนของการแต่งตั้งผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 16 มีข้อเท็จจริง ดังนี้

  • คณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการ กฟผ. ได้ดำเนินการสรรหาเป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ โดยเห็นชอบให้ นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ เป็นผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 16 ต่อไป และได้รับการสนับสนุนและการยอมรับทั้งจากพนักงาน กฟผ. และ สหภาพแรงงาน กฟผ. เป็นอย่างดี 
  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบตามที่รัฐมนตรีพลังงานเสนอแล้ว แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดเหตุการณ์ยุบสภา ครม. จึงให้นำเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต) แต่ กกต. มีความเห็นว่าควรให้ ครม. ในรัฐบาลชุดใหม่พิจารณา ดังนั้นเรื่อง จึงอยู่ที่รัฐมนตรีพลังงาน จึงเป็นความชอบธรรมที่รัฐมนตรีพลังงาน สามารถที่จะดำเนินการนำเสนอต่อ ครม. ใหม่ได้ทันทีเพราะได้ผ่านกระบวนการสรรหามาโดยชอบธรรมแล้ว

 

  • หากมีการสรรหาผู้ว่าการ กฟผ. ใหม่ ก็จะไม่เป็นธรรมต่อ นายเทพรัตน์ ฯ และต้องใช้ระยะเวลานานไม่น้อยกว่า 3 เดือน พวกเราจำเป็นต้องทวงถามหาความเป็นธรรมให้กับผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 16 ที่ถูกคัดเลือกมาโดยชอบธรรมแล้ว เพราะเกรงจะถูกอำนาจมืดเข้ามาครอบงำ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการดำเนินงานทั้งของ กฟผ. บริษัท  ในเครือ ตลอดจนการสนับสนุนงานให้กับ กระทรวง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ท่านรัฐมนตรี ฯ โปรดพิจารณานำเสนอ นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ เข้า ครม. เพื่อเห็นชอบแต่งตั้งเป็น ผู้ว่าการ กฟผ. คนที่ 16 ต่อไป

กลุ่มพิทักษ์พลังงานยื่นหนังสือ"พีระพันธุ์"ปมตั้ง"ผู้ว่าฯกฟผ.-ค่าไฟแพง"

ขณะที่ในส่วนของค่าไฟฟ้าที่แพง ทาง กลุ่มพิทักษ์พลังงานไฟฟ้าเพื่อประชาชน สรุปได้ดังต่อไปนี้  

  • สร้างความสมดุลระหว่าง Demand และ Supply ให้เหมาะสมตามความเป็นจริง พร้อมกำหนดปริมาณไฟฟ้าสำรองให้เหมาะสมกับความต้องการในการรักษาไว้ (Maintain) ซึ่งความมั่นคงและเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าภาพรวมของประเทศไม่ให้มีไฟตกไฟดับในบริเวณกว้าง โดยพิจารณาให้เหมาะสมตามรายภาคด้วย ซึ่งจะสะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงอย่างสมเหตุสมผล
  • รับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศให้เหมาะสมกับ Demand ที่แท้จริงในแต่ละพื้นที่ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนไฟฟ้าฐานที่เกิดจากการลงทุนปรับปรุงหรือก่อสร้างสายส่งใหม่โดยไม่จำเป็นอย่างสมเหตุสมผล
  • ทบทวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable) ให้มีความสมดุลกับ Deman ปัจจุบัน โดยสามารถตอบสนองนโยบายลดโลกร้อนได้ตามความเหมาะสม และไม่ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่ประชาชนและภาคธุรกิจจะต้องรับภาระเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องสร้างโรงไฟฟ้าชนิด Conventional มาสำรองในปริมาณที่เท่ากัน ซึ่งจะส่งผลกับต้นทุนไฟฟ้าฐานให้สูงขึ้นโดยผ่าน Ft
  • ปรับสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ให้มีสัดส่วนไม่น้อยกว่าภาคเอกชน เพื่อช่วยลดภาระค่าความพร้อมจ่าย (AP: Available Payment) ที่รัฐบาลจะต้องจ่ายให้โรงไฟฟ้าเอกชนตลอดระยะเวลาของสัญญาไม่ว่าจะเดินเครื่องหรือไม่ซึ่งจะถูกนำไปรวมใน Ft ส่งผลให้ประชาชนต้องรับภาระค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น แต่โรงไฟฟ้า กฟผ. จะไม่มีค่าความพร้อมจ่าย (AP) จะคิดค่าไฟฟ้าตามที่ผลิตจริง
  • เปิดเสรีการนำเข้า Gas LNG โดยไม่ปิดกั้นการนำเข้าตลอดจนเงื่อนไขการขอใช้ท่อ Gas และ ถังจัดเก็บ Gas (Terminal) ให้เป็นประโยชน์และคล่องตัวทั้งต่อภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ต่ำลงและเศรษฐกิจในภาพรวม

นายวัชระ เพชรทอง  อดีต สส.พรรประชาธิปัตย์  กล่าวว่า  ขอนำความจริง จากผู้รู้จริง เรื่องไฟฟ้ามาให้ นายพีระพันธุ์  และกลุ่มขอนัดพบรัฐมนตรีผ่าน นายโกมล  บัวเกตุ ผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงานต่อไป

กลุ่มพิทักษ์พลังงานยื่นหนังสือ"พีระพันธุ์"ปมตั้ง"ผู้ว่าฯกฟผ.-ค่าไฟแพง"

กลุ่มพิทักษ์พลังงานยื่นหนังสือ"พีระพันธุ์"ปมตั้ง"ผู้ว่าฯกฟผ.-ค่าไฟแพง"

กลุ่มพิทักษ์พลังงานยื่นหนังสือ"พีระพันธุ์"ปมตั้ง"ผู้ว่าฯกฟผ.-ค่าไฟแพง"