จับตา "ทุเรียน Low Carbon" Soft Power ตัวใหม่ประเทศไทย

07 ต.ค. 2566 | 13:55 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ต.ค. 2566 | 15:00 น.
645

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยความคืบหน้าหลัง “ธรรมนัส” ตั้ง กรอ.เกษตร เล็งดัน "ทุเรียน Low Carbon" ชี้เป็นผลงาน Soft Power ประเทศไทย ตัวใหม่ ตอบโจทย์รัฐบาล –เทรนด์โลก ลดก๊าซเรือนกระจก

จับตา \"ทุเรียน Low Carbon\" Soft Power  ตัวใหม่ประเทศไทย

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร   เปิดเผยว่า จาก การที่ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมหารือกับประธานกรรมการหอการค้าแห่งประเทศไทย นายสนั่น อังอุบลกุล  ได้เห็นชอบที่จะจัดตั้งคณะกรรมการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนด้านการเกษตร (กรอ.กษ.) ตามนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” และตอบโจทย์รัฐบาลที่ได้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการยุทธศาสตร์ ว่าด้วย Soft Power”

จับตา \"ทุเรียน Low Carbon\" Soft Power  ตัวใหม่ประเทศไทย

วันที่ 7 ตุลาคม 2566 สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก.  กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ผู้แทนเกษตรกรประชุมระดมสมองภายใต้หัวข้อ “ทุเรียนไทย กับคุณภาพมาตรฐานการส่งออกไปตลาดโลก” โดยมี นายชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายกสมาคมผู้ส่งออกผลไม้ไทย นายกสมาคมพืชผักผลไม้ไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพฯ

จับตา \"ทุเรียน Low Carbon\" Soft Power  ตัวใหม่ประเทศไทย

จับตา \"ทุเรียน Low Carbon\" Soft Power  ตัวใหม่ประเทศไทย

ในโอกาสนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  ได้เสนอให้ผลักดัน การเปิดตลาดทุเรียนพร้อมบริโภค( Ready to Eat ) เช่นทุเรียนตัดแต่ง หรือทุเรียนปอกเปลือก เข้าจีนเพิ่มเติม นอกเหนือจากทุเรียนผลสด หรือทุเรียนแช่แข็ง  รวมถึง การยกระดับคุณภาพทุเรียนไทย โดยการแบ่งเกรดให้ชัดเจน เช่น 1. ทุเรียนเพื่อการแปรรูป (ทุเรียนกวน ทอด อบกรอบ เป็นต้น) 2. ทุเรียนเพื่อการบริโภคในประเทศ และ 3. ทุเรียนเพื่อการส่งออก ( ปฏิบัติตามมาตรฐานประเทศผู้นำเข้า และมาตรฐานในประเทศ )

จับตา \"ทุเรียน Low Carbon\" Soft Power  ตัวใหม่ประเทศไทย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียนที่มีคุณภาพสูงต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ทั้งจากการคัดเลือกต้นพันธุ์ดี ระบบชลประทานดี เทคโนโลยีการผลิตที่ดี และในอนาคต ประเทศไทย ควรจัดทำมาตรฐานทุเรียนแยกเกรด คัด จำแนก กลิ่น รสชาติ ให้ได้แบบ Wine รวมถึง การพัฒนาคุณภาพให้ไปสู่มาตรฐานระดับ Michelin Star รวมถึง การลดต้นทุนการใช้สารเคมีทางการเกษตรลง โดยการใช้ชีวภัณฑ์ทางการเกษตรต่างๆ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก และการระบาดของศัตรูพืชใหม่ๆ

จับตา \"ทุเรียน Low Carbon\" Soft Power  ตัวใหม่ประเทศไทย

 

 

จับตา \"ทุเรียน Low Carbon\" Soft Power  ตัวใหม่ประเทศไทย

 

นอกจากนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยังได้ผลักดัน เรื่องการลดคาร์บอนเครดิตในพืชเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึง ทุเรียน  รวมทั้งเสริมสร้างการตอบสนองต่อภัยคุกคามจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างยั่งยืน มีการสร้างการสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกภาคการเกษตร และร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย T-VER (Thailand Voluntary Emission Reduction Program)

 

จับตา \"ทุเรียน Low Carbon\" Soft Power  ตัวใหม่ประเทศไทย

โดย กรมวิชาการเกษตรได้มีการจัดทำคำแนะนำและวิธีการปลูกทุเรียนคาร์บอนต่ำด้วย เพื่อขยายผลสู่มาตรฐานทุเรียนโลก ทุเรียน Low Carbon รวมถึงทุเรียน GI เพื่อยกระดับมาตรฐานทุเรียน มาตรฐาน Michelin Star สู่ "Premium Thailand Fruits" และเป็นการสร้าง "Thailand Soft Power" ในผลไม้และพืชผลเกษตรไทยสู่โลก ตามยุทธศาสตร์รัฐบาล และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์