zero-carbon

“โฮมโปร” ลุยติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป 100% สู่ Net Zero

    โฮมโปร ชู ESG ลุยติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ครบ 100% ในปี 2573 หลังทุ่มงบไปแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท พร้อมทำโครงการ Eco System ลดการใช้พลังงาน ลดและบริหารจัดการขยะ เดินหน้าสู่ Net Zero มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593

บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO ได้ประกาศเป้าหมายสู่ Net Zero หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ. 2593 ตลอดกระบวนการ ผ่านการบริหารจัดการการใช้พลังงาน รวมถึงพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งประกาศเจตนารมณ์ที่จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม

นายวีรพันธ์ อังสุมาลี กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ HMPRO กล่าวว่า โฮมโปรกำหนดกลยุทธ์ ESG เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับสินค้าและองค์กร ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นและเข้ามาจับจ่ายที่โฮมโปร โดยเฉพาะการขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนสู่การใช้พลังงานทดแทน โดยการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปที่สาขาต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมาได้ติดตั้งไปแล้ว 91 สาขา และกำลังติดตั้งอยู่อีก 10 สาขา ทำให้ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 80 เมกะวัตต์ และตั้งเป้าว่า สาขาที่เปิดใหม่จะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปทั้งหมด คาดว่าจะเสร็จสิ้นทั้งหมด 100% ภายในปี พ.ศ. 2573

นอกจากนี้ ยังดำเนินการเรื่องระบบการบริหารพลังงานควบคุมภายในอาคารในทุกสาขา เพราะค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงที่สุดมาจากการใช้ระบปรับอากาศ โฮมโปรได้ติดตั้งระบบ BCMS (building control monitoring system) ซึ่งเป็นระบบควบคุมอุณหภูมิ จากส่วนกลางพร้อมมอนิเตอร์อุปกรณ์การทำงานของเครื่องมือ หากมีส่วนไหนชำรุด ระบบจะแจ้งเตือนทันที ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง พร้อมลดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะนี้ได้ทยอยติดตั้งในสาขาต่าง ๆ ที่สามารถติดตั้งได้ ใช้งบลงทุนต่อสาขาประมาณ 1-2 ล้านบาท ติดตั้งไปแล้วประมาณ 30-40 สาขา รวมงบประมาณกว่า 80 ล้านบาท โดยแต่ละสาขาสามารถคืนทุนได้ภายในปีครึ่งถึงสองปี

“โฮมโปร” ลุยติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป 100% สู่ Net Zero

  • ดัน Eco Eystem สร้างโลกสีเขียว

อีกทั้ง ยังได้ทำโครงการ Eco Eystem ถือเป็นโครงการใหญ่ของบริษัทในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรและการดำเนินธุรกิจ ซึ่งโครงการนี้ โฮมโปร จะทำหน้าที่ดูแลสินค้าและให้บริการลูกค้าตั้งแต่ต้นจนถึงปลายทาง เริ่มตั้งแต่ระบบจัดส่งและติดตั้งผ่านโฮมเซอร์วิส และเมื่อสินค้ามีปัญหา บริษัทฯ ได้เปิดศูนย์ซ่อมของโฮมโปร เพื่อให้บริการลูกค้าได้รับความสะวดก และรวดเร็วกว่าการส่งให้แบรนด์ซ่อม ซึ่งอาจใช้เวลานาน

เมื่อมีการใช้สินค้าไประยะหนึ่ง ลูกค้าต้องการเปลี่ยนสินค้าใหม่ บริษัทได้จัดโปรแกรม trade-in “แลกเก่าเพื่อโลกใหม่” ที่ลูกค้าสามารถนำสินค้ามาแลกซื้อสินค้าใหม่ได้ ในแต่ละหมวดที่บริษัทฯ กำหนด ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนยี่ห้อไหน ทำให้สินค้าเก่ามีมูลค่าและยังลดภาระการขนทิ้งของลูกค้า ขณะเดียวกัน ทางโฮมโปรนำสินค้าเก่ามาบริหารจัดการ ส่วนที่รีไซเคิลได้ ส่วนที่แยกเป็นขยะ ด้วยการบริหารจัดการที่ถูกวิธี โดยสินค้าเก่าที่สามารถนำมาแลกสินค้าใหม่ได้ เช่น โซฟา ที่นอน เครื่องปรับอากาศ เครื่องกรองนํ้า ปั๊มนํ้า ซึ่งจะมีการขยายสินค้าให้ครอบคลุมมากขึ้นตามความเหมาะสมและความต้องการของลูกค้า

“กำลังหารือกับ SCG ที่เดิมรับซื้อกระดาษและพลาสติกจากโฮมโปรอยู่แล้ว มาร่วมกันทำให้เกิด Circular Economy ครบวงจร พัฒนาเป็นโปรดักต์ใหม่ ทำดีไซน์ร่วมกัน เป็น circular product เช่น ถุงขยะ หรือถุงหิ้ว เพื่อจำหน่ายในโฮมโปร คาดว่าจะได้เห็นโปรดักส์ประมาณปลายปีนี้ รวมถึงการนำสุขภัณฑ์เก่ามาบด เป็นกระเบื้องใหม่ ที่ทำร่วมกับ SCG เช่นกัน”

นอกจากนี้ ยังมีการบริหารจัดการนํ้า เช่น นํ้าหล่อเย็นจากเครื่องปรับอากาศ จะถูกเก็บเข้าแท๊ง แล้วนำมากรอง ก่อนนำมาใชลดนํ้าต้นไม้ ทำให้แต่ละเดือนประหยัดงบด้านนํ้าไปได้หลายแสนบาท

สำหรับเงินลงทุนนอกจากขยายสาขา 400-500 ล้านบาทต่อสาขาแล้ว การขับเคลื่อน ESG ส่วนใหญ่จะใช้ไปทางด้านพลังงานในการติดตั้งโซลาร์รูปท็อป ซึ่งกำลังผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท แต่ก็มีการลงทุ-นได้หลายรูปแบบกว่า 2,000 ล้านบาทที่ลงทุนไปแล้ว

ส่วนเรื่องการขนส่ง บริษัทฯ มีแผนปรับเปลี่ยนรถจากรถนํ้ามันเป็นรถอีวี แต่ยังอยู่ในช่วงของการทดลอง ถ้าทดลองได้ผลดีก็จะนำมาใช้ในระบบการขนส่ง โฮมโปรมีจำนวนรถขนส่งปัจจุบันที่อยู่ใน DC ประมาณ 150 - 200 คัน

นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนระบบจัดเก็บและเบิกจ่ายอัตโนมัติ หรือ Automated Storage / Retrieval System (AS/RS) ระบบคลังอัตโนมัติ ที่ใช้ระบบไฟฟ้าทั้งหมด ลงทุนไปแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท รวมไปถึงการจัดทำระบบรถเที่ยวเปล่า (Backh-aul) โดยการขนส่งสินค้าจะไม่ตีรถเปล่ากลับ แต่จะไปรับของจากเวนเดอร์ เพื่อลดเที่ยวการเดินทางขงรถและลดการใช้พลังงาน และกำลังมองเรื่องการปรับขยายคลังสินค้าที่วังน้อย อาจจะขยายหรือเพิ่มโซลูชั่น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน