ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้าหมายหลัก ลดใช้พลังงานลง 55% ภายในปี ค.ศ. 2030 จากปีฐาน ค.ศ. 2017 พร้อมตั้งเป้าความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปีค.ศ. 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(Net Zero Emissions) ปี ค.ศ. 2065
นอกจากนี้ ยังตั้งเป้าลดการใช้นํ้าในกระบวนการผลิตลง 30% ในปี ค.ศ.2030 และการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลในทุกผลิตภัณฑ์ ภายในปี ค.ศ. 2030
ดร.กิตติวัตร โสมวดี รองผู้จัดการบริหารการผลิต บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทได้นำแนวทาง ESG มาขับเคลื่อนธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม (Social) และการดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล โดยด้านสิ่งแวดล้อมล้อม ไลอ้อนให้ความสำคัญกับการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ ให้สามารถเข้าสู่เป้าหมายคาร์บอนตํ่า
ทั้งนี้ในแต่ละปีบริษัทจะจัดสรรงบประมาณ 0.5% ของยอดขาย หรือประมาณ 100 ล้านบาทจากยอดขายกว่า 2 หมื่นล้านบาท มาลงทุนกับกระบวนการผลิต ซึ่งสามารถจะคืนทุนกลับมาได้ (Return on Investment : ROI) ภายในระยะเวลา 3 ปี
นอกจากนี้ มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง มีการประเมินการประหยัดพลังงาน และนำเทคโนโลยีดิจิทัล IOT เช่น AI Algorithm, IoT, Cloud Computing เข้ามาใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
อีกทั้ง การลงทุนเรื่องพลังงานทดแทน เช่น ระบบการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรและผู้ส่งมอบ ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้พลาสติกหมุนเวียน หรือวัสดุชีวภาพ วัตถุดิบที่มีการปล่อยคาร์บอนตํ่า เพื่อช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์
การพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ไลอ้อนพัฒนาขึ้นเองต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ.2017 เช่น กระบวนการความร้อนจากปฎิกิริยาเคมีกลับมาใช้ใหม่ ช่วยประหยัดต้นทุน ลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ มีการดักจับสารต่าง ๆ ดูว่าสารพวกนี้มีคุณสมบัติกลับมาใช้อะไรได้ ก็ส่งกลับไปสู่อีกกระบวนการ บางตัวพบว่าเป็นส่วนหนึ่งของผงซักฟอกได้ โดยผ่านกระบวนการรีไซเคิล นํ้าส่วนที่เหลือนำไปรดนํ้าต้นไม้ หรืออื่น ๆ ถือเป็นการใช้ความร้อนหรือนํ้าที่มีอยู่ วนกลับมาใช้ใหม่ ได้ทั้งนํ้า และคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
ส่วนการพัฒนานวัตกรรมต่อไป จากเดิมที่ปรับตัวเป็น Smart Factory ตั้งแต่ปี ค.ศ.2013 ปัจจุบันได้อัพเกรดเป็น Digital Factory fh;pit[[dkime’ko ที่สูงขึ้น เช่น การวิเคราะห์พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพใช้ AI IoT เข้ามาทำงานแทนคน ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“การใช้ดิจิทัล IoT ทำให้เกิดประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และตัดสินใจได้รวดเร็ว ได้งานเพิ่มขึ้น ขยายกำลังผลิตได้เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องรับคนเพิ่ม เน้นการสร้างนวัตกรรมดิจิทัล ดิจิทัลวิเคราะห์ข้อมูลได้เรียลไทม์ เพื่อทำให้เกิดความรวดเร็วคุณภาพ แข่งขันได้ สามารถคาดการณ์อนาคตได้ว่า ถ้าทำแบบนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เราก็นำมาปรับตัวก่อน”
ปัจจุบัน ไลอ้อนสามารถคาร์บอนได้แล้ว 17% ลดการใช้นํ้าได้ 10% จากกระบวนการที่ใช้ความร้อนที่ใช้พลังงานมาก แต่เมื่อหมุนเวียนกลับมาใช้ได้ สามารถชดเชยพลังงานได้ราว 10-20%
ดร.กิตติวัตร กล่าวอีกว่า ปัจจุบันแนวทางด้านความยั่งยืนเริ่มเป็นที่เข้าใจ และซัพพลายเออร์ รวมทั้งพันธมิตรต่าง ๆ เริ่มปรับตัว แต่ส่วนที่ถือเป็นความท้าทายอย่างมาก สำหรับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนคือ กฎระเบียบทางการค้า ที่ทะยอยออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เพียงแค่ในยุโรป แต่รวมถึงสหรัฐอเมริกา และเอเชีย เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ CBAM
ล่าสุดยังมีเรื่องของไม้ แพคเกจจิ้งที่เป็นกระดาษ ต้องทำมาจากไม้เชิงพาณิชย์ ไม่ใช่ไม้ที่เกิดจากการทำลายป่า ซึ่งไลอ้อนเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มี “ฉลากมาตรฐาน FSC” โดยร่วมมือกับ Siam Toppan Packaging ผู้ผลิตกล่องกระดาษ ที่ได้มาตรฐาน FSC นำร่องใช้สำหรับกล่องยาสีฟันซิสเท็มมา Systema ยาสีฟันกู๊ดเอจถั่งเช่าสีทอง GoodAge Hydration Plus และ ยาสีฟันซอลส์ คิง เฮิร์บ (Salz King Herb) กล่องบรรจุภัณฑ์ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในการใช้เยื่อกระดาษจากต้นไม้ที่มีการปลูกป่าเชิงพาณิชย์
ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับตรารับรอง FSC Mixed จะต้องมีส่วนประกอบอย่างน้อย 70% ของไม้หรือเยื่อที่ผ่านการรับรอง FSC หรือผลิตภัณฑ์รีไซเคิล ขณะที่อีก 30% ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้ควบคุม ใช้เยื่อกระดาษจากต้นไม้ที่มีการปลูกป่าทดแทน ป่าไม้จะต้องถูกจัดการโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สัตว์ป่าและชุมชนโดยรอบ ปัจจุบันมีฉลากกล่องยาสีฟันที่ได้รับตราสัญลักษณ์ดังกล่าว โดยบริษัท ไลอ้อน มีแผนที่จะพัฒนาต่อยอดสู่บรรจุภัณฑ์สินค้าอื่น ๆ รวมถึงกลุ่มของบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกด้วย โดยมีเป้าใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษมาตรฐาน FSC 75% ของผลิตภัณฑ์ภายในปี ค.ศ.2025
ข่าวที่เกี่ยวข้อง