"พรรคเพื่อไทย" เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ โดยมี"เศรษฐา ทวีสิน" ได้รับคะแนนโหวตให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย
ทั้งนี้ นอกจากนโยบายการแจก “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ที่เป็นที่จับตาแล้ว พรรคเพื่อไทยยังมีอีกหลายนโยบายที่ต้องติดตาม
แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นก็คือนโยบายทางด้านพลังงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนโดยตรง
จาการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับนโยบายทางด้านพลังงานของพรรคเพื่อไทย พบว่า
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองประธานยุทธศาสตร์และการเมืองของพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ประกาศนโยบายพลังงานในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยระบุว่า พรรคเพื่อไทยจะผลักดันนโยบายพลังงาน 2 เรื่องหลัก ประกอบด้วย
จะลดราคาพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้า ราคาแก๊สหุงต้ม และราคาน้ำมัน ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณา
จะมีการเจรจาเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา เพื่อที่จะนำก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมาใช้ประโยชน์ โดยมีการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาอย่างเป็นธรรม ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ควรนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ มี 8 ประการ คือ
อย่างไรก็ดี ในเว็บไซด์ของพรรคเพื่อไทยยังมีอีกหนึ่งนโบายทางด้านพลังงาน ได้แก่
สนับสนุนพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกเพื่อลดการพึ่งพิงพลังงานแบบดั้งเดิม เพิ่มความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สำหรับราคาค่าไฟในปัจจุบันที่ประชาชนต้องจ่ายอยู่ที่ 4.70 บาทต่อหน่วย ส่วนรอบบิล ก.ย.-ธ.ค. 66 สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงานกกพ.) ระบุว่า จะต้องจ่ายที่ 4.45 บาทต่อหน่วย
นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการ สำนักงานกกพ. ในฐานะโฆษก กกพ. ระบุชัดเจนด้วยว่า ประชาชนจะต้องจ่ายที่ 4.45 บาทต่อหน่วยตั้งแต่รอบบิลเดือน ก.ย.นี้ ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้อีกโดยเฉพาะตามข้อเรียกร้องของภาคเอกชนที่ต้องการขอให้เฉลี่ยเหลือเป็น 4.25 บาทต่อหน่วย
โดยราคาดังกล่าวเป็นการพิจารณาหลังการเปิดรับฟังความเห็นไปแล้วใน 3 แนวทางและสุดท้ายเลือกแนวทางค่า Ft เรียกเก็บที่ 66.89 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปรับลดลงจากงวดปัจจุบัน (พ.ค.- ส.ค.2566) จาก 4.70 บาทต่อหน่วย เหลืออยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย
ส่วนราคาน้ำมันในปัจจุบัน ประชาชนต้องจ่ายอยู่ที่
กลุ่มน้ำมันเบนซิน
กลุ่มน้ำมันดีเซล
ขณะที่ราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) นั้น ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) มีมติให้ตรึงราคาที่ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ไปจนถึงวันที่ 31 ส.ค. 2566 เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน
ด้านปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา นั้น ล่าสุดนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุว่า รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยกระทรวงการต่างประเทศ จะรับเป็นผู้นำในการพิจารณา และเจรจาเรื่องดังกล่าว
โดยที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศไทยได้มีการประชุมร่วมกับประเทศกัมพูชาแล้วหนึ่งครั้ง ซึ่งได้รับการตอบรับและมีความคืบหน้าที่ดี ในขั้นตอนต่อจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศยังต้องดูรายละเอียดอื่น เช่น ยังมีเรื่องของแนวเขตที่กระทรวงการต่างประเทศยังเป็นกังวลอยู่ และต้องหาทางออก