รู้จัก "น้ำมันยูโร 5" คืออะไร มีคุณสมบัติยังไง ก่อนบังคับใช้ในปี 67

28 ก.ค. 2566 | 14:50 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2566 | 14:51 น.
7.3 k

รู้จัก "น้ำมันยูโร 5" คืออะไร มีคุณสมบัติยังไง ก่อนบังคับใช้ในปี 67 ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานไว้ให้หมดแล้ว มุ่งลดมลพิษจากยานยนต์สันดาปภายใน

"น้ำมันยูโร 5" กำลังจะถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการในปี 2567 ที่จะถึงนี้

แต่ประเด็นที่กำลังเป็นคำถามสำคัญก็คือ "น้ำมันยูโร 5" คืออะไร มีคุณสมบัติยังไง

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับน้ำมันยูโร 5 เพื่อไขคำตอบพบว่า 

น้ำมันยูโร 5 คือ มาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนดโดยกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อวางกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในการใช้เชื้อเพลิงในภาคขนส่ง

โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป จะมีการบังคับให้เป็นมาตรฐานน้ำมัน EURO 5 (กำมะถัน ต่ำกว่า 10 ppm) สำหรับดีเซล 
 

นอกจากกำมะถันแล้ว ไพลีโซคลิก อะโรมาติก ไฮโดคาร์บอนจะลดจาก 11% เหลือ 8% โดยน้ำหนัก

รู้จักน้ำมันยูโร 5 คืออะไร มีคุณสมบัติยังไง ก่อนบังคับใช้ปี 67 สำหรับกลุ่มประเทศยุโรปนั้น มีกฎระเบียบกำหนดมาตรฐานไอเสียรถยนต์เพื่อช่วยป้องกันดูแลปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ให้มลพิษเกินเกณฑ์มาตรฐานไล่มาตั้งแต่ EURO 1, EURO 2, EURO 3,  EURO 4, EURO 5, EURO 6

การลดมลพิษจากยานยนต์สันดาปภายใน

  • ปรับคุณภาพน้ำมันให้สะอาดตามมาตรฐาน EURO ปัจจุบัน ประเทศไทยมีมาตรฐานบังคับที่ EURO 4 (กำมะถัน ต่ำกว่า 50 ppm หรือ 50 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก)
  • ปรับมาตรฐานไอเสียรถยนต์ให้สะอาดขึ้นตามมาตรฐานไอเสีย EURO ซึ่งจะระบุปริมาณมลพิษ 4 ตัว คือ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ไฮโดรคาร์บอน (HC) และสารมลพิษอนุภาค (PM) โดยวัดเป็นหน่วยกรัม/กิโลเมตร ตามวัฏจักรขับขี่ในห้องปฏิบัติการทดสอบ
     

กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน สนับสนุนการใช้น้ำมันมาตรฐาน EURO 5 โดยในน้ำมันเบนซินจะมีการปรับลดปริมาณกำมะถันเป็นไม่สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน (10 ppm) ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศลดลงอย่างมาก 

และในส่วนของน้ำมันดีเซลจะมีการปรับลดปริมาณกำมะถันเป็นไม่สูงกว่า 10 ส่วนในล้านส่วน (10 ppm) และปรับลดปริมาณสาร Polycyclic Aromatic Hydrocarbon (PAH) ไม่สูงกว่า 8% โดยน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยลดการระบายก๊าซไฮโดรคาร์บอนและออกไซด์ของไนโตรเจนอีกด้วย

ข้อมูล : กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน