zero-carbon

กนอ.ต่อยอด ISB Roadshow ปั้นผู้ร่วมพัฒนา ผู้ประกอบการสู่ตลาดโลก

    กนอ.ต่อยอด ISB Roadshow ปั้นผู้ร่วมพัฒนา ผู้ประกอบการสู่ตลาดโลกด้วยกลยุทธ์อย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการยกระดับผู้ประกอบอุตสาหกรรมการสู่เกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ กนอ. (I-EA-T Sustainable Business : ISB) ประจำปี 2566 ประกอบด้วย 

  • จัดหลักสูตรการตรวจรับรองการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคม (ISB Accelerator) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้บริหารสำนักงานนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรืออุตสาหกรรม ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมร่วมดำเนินงาน และผู้เกี่ยวข้อง  
  • จัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ISB List  ปี 2565 เพื่อเชิญชวนให้สมัครเข้าร่วมโครงการ ISB ประจำปี 2566 (ISB Roadshow) 
  • ให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ในการดำเนินธุรกิจสีเขียว สู่การเป็นเครือข่ายธุรกิจยั่งยืนในภาคอุตสาหกรรมไทย 
  • กิจกรรมมอบรางวัล ISB Awards สำหรับผู้ประกอบการที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์
     

“โครงการ ISB เป็นโครงการที่ กนอ. ริเริ่มขึ้นเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยสะท้อนผลการดำเนินงานด้าน CSR ให้เห็นเป็นรูปธรรม ผ่านเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสากล สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ประการ (17 SDGs :Sustainable Development Goals) ตอบโจทย์การเติบโตของเศรษฐกิจควบคู่กับการสร้างความเข้มแข็งทางสังคมและระบบนิเวศอย่างสมดุล”

กนอ.ต่อยอด ISB Roadshow ปั้นผู้ร่วมพัฒนา ผู้ประกอบการสู่ตลาดโลก

ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา (2565) ได้เริ่มดำเนินโครงการ ISB ที่นำมาตรฐานสากลในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มาพัฒนาให้เหมาะสมกับภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อยกระดับผู้ประกอบการในการพัฒนาธุรกิจสร้างคุณค่าร่วมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ใน 2 มิติสำคัญ ได้แก่ 

  • การพัฒนากระบวนการดำเนินธุรกิจ (CSR In Process) โดยการนำเครื่องมือเกณฑ์การประเมินการดำเนินธุรกิจ (BIA : Business Impact Assessment) ร่วมกับมาตรฐาน BCORP (B Corp Certification เป็นการรับรองมาตรฐานการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงมิติทางสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน) ใน 5 ด้าน ประกอบด้วย ธรรมาภิบาล พนักงาน ชุมชน สิ่งแวดล้อม ลูกค้าและผู้บริโภค 
  • การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางสังคมในกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR After process) โดยการนำเครื่องมือ การบริหารจัดการการลงทุนและดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (SIA : Social Impact Assessment) และ (SROI : Social Return on Investment) ร่วมกับกลุ่มมาตรฐาน Social Value International ที่มุ่งสะท้อนผลสัมฤทธิ์จากมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน 3 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก 

นายวีริศ กล่าวอีกว่า การเข้าร่วมโครงการ ISB นอกจากเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นของผู้ประกอบการ สู่การเป็น Sustainable Business แล้ว ผู้ประกอบการยังมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น การเข้าสู่มาตรฐานองค์กรยั่งยืนระดับสากล ,การเชื่อมโยง Global BCORP Network ,การเตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ การรายงาน ESG Reporting ของตลาดหลักทรัพย์