ค่าไฟถือเป็นภาระค่าครองชีพหลักที่ประชาชนต้องแบกรับ และมีคำถามสงสัยตลอดมาว่าเหตุใดจึงต้องจ่ายมากขนาดนั้น
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปพบกับคำตอบของสาเหตุ ที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาอ้างถึงอยู่เสมอเวลาที่ต้องอธิบายเหตุผลของค่าไฟปต่ละงวดว่าเป็นอย่างไร
หากย้อนกลับไปที่ค่าไฟงดแรก (ม.ค.-เม.ย.66) ของปีนี้ ประชาชนถูกกำหนดให้จ่ายที่ 4.72 บาทต่อหน่วย โดยทางฝั่งนโยบายซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ระบุว่า ค่าไฟฟ้าที่แพงมาจากปัจจัยด้านเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักที่สูงขึ้นกว่างวดก่อนถึง 82.66% รวมถึงถ่านหินนำเข้า
นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าก็ยังส่งผลต่อต้นทุนรวมเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะหันไปใช้น้ำมันเตา และดีเซลแต่ราคาก็ยังคงสูงขึ้นเช่นกัน โดยสถานการณ์ไฟฟ้าไทยยังอ่อนไหวและยังคงผันผวนระดับสูงจากความไม่แน่นอนก๊าซฯในอ่าวไทยที่แหล่งเอราวัณจะเข้าสู่ภาวะปกติได้มากน้อยเพียงใด เพื่อลดพึ่งพิงนำเข้าสู่ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มีราคาแพงมาทดแทน
ส่วนงวดถัดมา พ.ค.-ส.ค.66 ถูกกำหนดให้จ่ายที่ 4.70 บาท ลดลง 2 สตางค์ต่อหน่วย จากงวดม.ค.-เม.ย. 66 โดย กกพ.ระบุว่า เป็นไปตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอขอรับภาระยืดหนี้การชำระค่าไฟฟ้า วงเงินประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ที่รับภาระแทนประชาชนไปก่อนจาก 2 ปี แบ่งเป็น 7 งวด เป็นเวลา 2 ปี 4 เดือน คาดว่าจะครบกำหนดชำระประมาณเดือน เม.ย. 2568
ขณะที่งวด ก.ย.-ธ.ค.66 อาจจะปรับลดลงได้ 23-50 สตางค์ต่อหน่วย จากแนวโน้มราคาLNG ที่ปรับลดลงและการที่ ปตท.สผ. เร่งผลิตก๊าซอ่าวไทยหลุม G1 ซึ่งมีราคาถูกกว่า LNG 2 – 3 เท่าได้เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องรอพรรคการเมืองไหนเป็นรัฐบาล
จะเห็นว่าการปรับขึ้น ลงของค่าไฟในประเทศไทย ดังนั้น หากเจาะลึกลงไปถึงต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าหน้าโรงงานของแต่ละประเภทจะประกอบด้วย
สำหรับต้นทุนการผลิตหน้าโรงงานรวมเงินปรับปรุงของปีที่ผ่านมาเท่ากับ 3.77 บาทต่อหน่วย
อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวเป็นต้นทุนการผลิตหน้าโรงไฟฟ้าปี 2565
โดยจะเห็นได้ว่าต้นทุนการผลิตของเชื้อเพลิงที่เป็นพลังงานสะอาดยังสูงอยู่มากรองลงมาจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่มาจากน้ำมันดีเซล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง