Climate Change: สภาพอากาศเปลี่ยนเเปลง คาดทุก 2 วินาที มี 1 คน ต้องลี้ภัย

14 ก.พ. 2566 | 09:37 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ก.พ. 2566 | 13:22 น.

UNHCR ประเมิน Climate Change สภาพอากาศเปลี่ยนเเปลง ผู้คนต้องลี้ภัย เพื่อเอาตัวรอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าทุก 2 วินาที มี 1 คน ต้องพลัดถิ่น

“สภาพอากาศเปลี่ยนเเปลง Climate Change ทำให้จำนวนผู้ลี้ภัยจากปัญหาดังกล่าว จะสูงถึง 200 ล้านคนภายในปี 2050  มีการคาดการณ์ว่า ในทุก 2 วินาที มี 1 คน ต้องพลัดถิ่นหรือลี้ภัยจากภัยธรรมชาติ”

นี่เป็นการคาดการณ์จาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ประเมินว่า การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเชื่อมโยงกับปัญหาโลกร้อนจะส่งผลให้ผู้คนหลายสิบล้านคนทั่วโลกต้องอพยพย้ายถิ่นฐานในแต่ละปี

สอดคล้องกับข้อมูล องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือ IOM ที่ระบุว่า ในปี 2050 จะมีคนย้ายถิ่นเพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศประมาณ 25 ล้านคนถึง 1 พันล้านคน ในจำนวนนี้คือการย้ายถิ่นทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ แบบชั่วคราวและถาวร 

การพลัดถิ่นจากภัยพิบัติ

ส่วนใหญ่ที่บันทึกไว้ทั่วโลกในปี 2563 เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก พายุไต้ฝุ่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด ทำให้มีผู้พลัดถิ่นใหม่ 12.1 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559 และสูงกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีของภูมิภาคนี้ 

ขณะที่ในปีเดียวกันมีตัวเลขผู้พลัดถิ่นภายในประเทศรายใหม่ 40.5 ล้านคน เป็นตัวเลขสูงสุดประจำปีรอบ 10 ปีตามข้อมูลของ IDMC สิ่งเหล่านี้ถูกกระตุ้นโดยภัยพิบัติและความรุนแรงทั่วโลก เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศเป็นสาเหตุของการพลัดถิ่นที่นำโดยภัยพิบัติเกือบทั้งหมด 30.7 ล้านครั้ง รัฐบาลหลายประเทศกำลังเริ่มวางนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ แต่จำเป็นต้องมีข้อมูลและเงินทุนมากกว่านี้

IDMC ยังระบุว่าผู้คนมากกว่า 23 ล้านคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีต้องพลัดถิ่นภายในประเทศทั่วโลก มีผลกระทบอย่างมากต่อการศึกษา ค่าใช้จ่ายทั่วโลกของการพลัดถิ่นหนึ่งปีอยู่ที่ 20,500 ล้านดอลลาร์ในปี 2563 ตัวเลขนี้รวมถึงค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พัก การศึกษา สุขภาพและความมั่นคงให้กับผู้พลัดถิ่นจากความขัดแย้งและความรุนแรง และบัญชีสำหรับการสูญเสียรายได้

หากยังจำกันได้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยออกคำสั่ง Executive order ให้ความคุ้มครองและช่วยให้ประชาชนได้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการพลัดถิ่นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทางตรงหรือทางอ้อม

ผู้ลี้ภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีความหวาดกลัวจากภัยพิบัติธรรมชาติ จากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ไซโคลน ภัยแล้ง ฤดูมรสุม และน้ำท่วมที่รุนแรงมากขึ้น ที่ทำลายสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ทำให้ต้องย้ายออก ยกตัวอย่างเช่น พายุไซโคลนอำพัน ทำให้เกิดการอพยพเกือบ 5 ล้านคนทั่ว บังกลาเทศ อินเดีย เมียนมาร์ และภูฏาน เป็นเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่สุดของปีทั่วโลก 

ไซโคลนกอมเบ ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มบนชายฝั่งของประเทศโมซัมบิก ความเร็วลมทวีความรุนแรงขึ้นเป็น 190 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำลายบ้านเรือน โรงเรียน ถนนหนทาง และสะพาน พื้นที่เพาะปลูกถูกน้ำท่วม ที่พักพิงของผู้พลัดถิ่น และผู้ลี้ภัยที่ไม่เข็งแรงเพียงพอไม่สามารถทนทานต่อความรุนแรงของไซโคลนกอมเบได้ มีผู้ได้รับผลกระทบจากไซโคลนกอมเบ มากถึง 736,000 คน