"ฮันนี่เวลล์" คว้างานดักจับคาร์บอน ปตท.สผ.แหล่งก๊าซอาทิตย์อ่าวไทย

19 ม.ค. 2566 | 18:01 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ม.ค. 2566 | 18:01 น.

"ฮันนี่เวลล์" คว้างานดักจับคาร์บอน ปตท.สผ.แหล่งก๊าซอาทิตย์อ่าวไทย พร้อมช่วยเพิ่มการผลิตไฮโดรคาร์บอนและเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการนอกเหนือจากการดักจับคาร์บอน

นายแม็ท สปาลด์ดิ้ง รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของ Honeywell UOP (ฮันนี่เวลล์) เปิดเผยว่า Honeywell UOP ได้รับเลือกให้เป็นผู้ให้บริการเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนของ ปตท.สผ. สำหรับโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอนอาทิตย์ในแหล่งก๊าซอาทิตย์ในอ่าวไทย 

ทั้งนี้ SeparexTM เมมเบรน (Membrane) เทคโนโลยี ของ Honeywell UOP จะช่วยบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับจากแหล่งกำเนิดโดยทางธรณีวิทยาจะถูกกักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินและแหล่งก๊าซที่หมดศักยภาพในการผลิตแล้วอย่างถาวรได้แก่การฉีดเข้าไปในแหล่งก๊าซใกล้เคียงที่หมดศักยภาพ

นอกจากนี้ เทคโนโลยีของ Honeywell UOP จะนำเสนอโซลูชั่นที่ดีที่สุดที่จะปรับปรุงระบบที่มีอยู่เดิมในการเพิ่มความเข้มข้นให้กับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดักจับจากแหล่งกำเนิดโดยใช้กระบวนการ เมมเบรน 2 ขั้นตอน โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของแท่นก๊าซนอกชายฝั่ง เทคโนโลยีนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกู้คืนของไฮโดรคาร์บอนซึ่งอาจถูกเผาไหม้ ดังนั้น จึงเป็นการช่วยเพิ่มการผลิตไฮโดรคาร์บอนและเพิ่มมูลค่าให้กับโครงการนอกเหนือจากการดักจับคาร์บอน

ปัจจุบันปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 15 ล้านตันต่อปีที่ได้ถูกดักจับและถูกกักเก็บหรือใช้ประโยชน์ผ่านความเชี่ยวชาญด้านกระบวนการแก้ปัญหาด้านคาร์บอนไดออกไซด์ ของ Honeywell   ปัจจุบัน Honeywell มีความสามารถในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 40 ล้านตันต่อปีผ่านโครงการที่ติดตั้งทั่วโลก 

ฮันนี่เวลล์คว้างานดักจับคาร์บอน ปตท.สผ.แหล่งก๊าซอาทิตย์อ่าวไทย

"Honeywell จะนำประสบการณ์มาสู่โครงการการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ซึ่งเป็นโครงการที่มีความสำคัญในประเทศไทยโดยร่วมกับ ปตท.สผ." 

อย่างไรก็ดี Honeywell UOP จะให้บริการด้านวิศวกรรมและให้คำปรึกษาสำหรับ Front End Engineering Design (FEED) และระยะต่อๆ ไปของโครงการ จนกระทั่งถึงกระบวนการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) รวมถึงบริษัทยังจะจัดหา SeparexTM Membrane Elements 
 

สำหรับโครงการนี้ นอกเหนือจากการให้การสนับสนุนในช่วงก่อนการว่าจ้างและการเริ่มต้นในเฟสต่อๆ ไปของโครงการ โดยโครงการนี้จะเป็นหนึ่งในการติดตั้งเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของ Honeywell ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการนำเอาเทคโนโลยีการแปรรูปก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในเชิงพาณิชย์มาใช้ในการดักจับ และกักเก็บคาร์บอน 
 
อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังช่วยเสริมกลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันการดักจับ คาร์บอนไดออกไซด์ ของ Honeywell และด้วยประสบการณ์เชิงพาณิชย์ที่มีมากกว่า 70  ปี รวมถึงความสามารถของเทคโนโลยี Honeywell ที่มีการปรับใช้ (ระบบเมมเบรนและระบบที่ใช้สารละลาย ประเภท Chemical และประเภท Physical) ในโครงการที่ติดตั้งต่างๆ ซึ่งช่วยให้สามารถดักจับ คาร์บอนไดออกไซด์ จากแหล่งกำเนิดก๊าซ ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่ดักจับได้จำนวน 15 ล้านตันต่อปีนั้นได้ถูกนำมาใช้เพื่อการเพิ่มผลผลิตของน้ำมันที่ดียิ่งขึ้น