ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิเดผยว่า ค่าไฟที่แพงขึ้นในปี 2566 งวด ม.ค.เม.ย. มาจาก 3 ปัจจัยที่ทำให้อัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที (Ft) สูงขึ้น ประกอบด้วย
ทั้งนี้ 3 ปัจจัยดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ค่าไฟฟ้าผันแปรย่อมแปรเปลี่ยนตามต้นทุนค่าเชื้อเพลิง แต่ทำไมครั้งล่าสุดต้องกลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงในวงกว้าง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าค่า Ft ครั้งนี้ปรับขึ้นจาก 24.77 สตางค์/หน่วย เป็น 93.43 สตางค์/หน่วย
ซึ่งขยับขึ้นถึง 68.66 สตางค์/หน่วยว ทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แตกต่างจากปกติแล้วมักจะขยับตัวเพิ่มขึ้นครั้งละประมาณ 10 – 20 สตางค์/หน่วย
"ความจริงหากมองในระดับสากล ที่ผ่านมานั้นค่าไฟขอไทยนั้น ขึ้นแค่เฉพาะ Ft เท่านั้น โดยค่าไฟฐานอยู่ที่ประมาณ 3-4 บาท ยังไม่ได้ปรับ บวก Ft เป็นหลักสตางค์ อีก 70 - 80 สตางค์ ทำให้ค่าไฟในส่วนที่ขึ้นมาจริงขึ้นประมาณ 25% 30% เท่านั้น ต่างจากที่ยุโรปที่ขึ้น 4 เท่า 8 เท่า"
อย่างไรก็ดี ที่สำคัญคือ การลดลงของก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และก๊าซธรรมชาติ ในสหภาพพม่าประกอบกับ ราคาค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่ต้องหามาทดแทนเพิ่มสูงขึ้นเพราะวิกฤตพลังงานจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนก็ยังไม่มีแนวโน้มจะจบลง
กับความจำเป็นที่ต้องช่วยการลดหนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวนมากกว่า 120,000 ล้านบาท ที่เกิดจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่ กฟผ.ยอมแบกรับภาระแทนผู้ใช้ไฟฟ้าไว้มาไม่ต่ำกว่า 4 รอบ Ft ที่ผ่านมาเพื่อลดภาระประชาชนในช่วงโควิด ซึ่งในเวลานี้เกินกว่าความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนค่าไฟฟ้าของ กฟผ.ไปแล้ว
สำหรับวิกฤตพลังงานครั้งนี้ นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. เคยบอกว่า แนวโน้มค่าไฟแพง จะยังอยู่ไปอีก 1-2 ปี แต่อย่างไร ต้องรอดูเหตุผล 3 ข้อข้างต้นประกอบกันเพื่อพิจารณาต่อไปว่า ค่าไฟจะมีทิศทางขึ้นหรือลงอย่างไร เพราะหากค่าไฟมีแนวโน้มทิศทางที่จะปรับขึ้น ภาครัฐก็คงต้องหามาตรการออกมาเพิ่มอีก ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดค่าไฟแบบที่ทำอยู่ในปัจจุบัน หรือการขอความร่วมมือประหยัดพลังงานทั้งในภาคประชาชน ภาคเอกชนและอุตสาหกรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง