นางสาวรสนา โตสิตระกูล อนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดเผยว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เสนอ 5 ข้อ แก้ปัญหาค่าไฟฟ้าแพง ประกอบด้วย
ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 5 ว่าด้วยเรื่องหน้าที่ของรัฐ มาตรา 56 บัญญัติว่า รัฐต้องจัดหรือดําเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต ของประชาชนอย่างทั่วถึงตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระบุว่า โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อ การดํารงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ รัฐจะกระทําด้วยประการใดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ ของเอกชนหรือทําให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่า 51% มิได้
การจัดหรือดําเนินการให้มีสาธารณูปโภคตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง รัฐต้องดูแลมิให้มีการเรียกเก็บ ค่าบริการจนเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร การนําสาธารณูปโภคของรัฐไปให้เอกชนดําเนินการทางธุรกิจไม่ว่าด้วยประการใดๆ รัฐต้องได้รับ ประโยชน์ตอบแทนอย่างเป็นธรรม โดยคํานึงถึงการลงทุนของรัฐประโยชน์ที่รัฐและเอกชนจะได้รับ และค่าบริการที่จะเรียกเก็บจากประชาชนประกอบกัน
แต่ขณะนี้กลับปรากฏว่า ประชาชน ภาคธุรกิจทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ รวมถึงภาคเกษตรกรรมต่างได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาค่าไฟฟ้าแพงอย่างถ้วนทั่วทุกภาคส่วน โดยจะต้องรับภาระค่าไฟฟ้าในอัตรา 4 – 6 บาทต่อหน่วยทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งจากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นเป็นเพียงปัจจัยปลายเหตุเท่านั้น และการแก้ไขปัญหาดูแลค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟภาคที่อยู่อาศัยเพียงบางกลุ่มด้วยเงินภาษีของประชาชนเองก็เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ตรงจุด
ค่าไฟฟ้าแพงเพราะ การวางแผนการผลิตพลังงานไฟฟ้าของรัฐบาลผิดพลาดมาอย่างต่อเนื่อง คำนึงถึงความมั่นคงจนเกินความจำเป็น และเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจพลังงานไฟฟ้าของภาคเอกชนบางกลุ่มเกินสมควร ไม่มีความยืดหยุ่นต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่าง ๆ ของประเทศและของโลก ไม่คำนึงหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้เกิดปัญหาปริมาณสำรองไฟฟ้าหรือมีโรงไฟฟ้าในระบบล้นเกินความต้องการ ปล่อยให้มีโรงไฟฟ้าเอกชนทั้งขนาดเล็กและใหญ่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
ซ้ำยังมีแผนการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นอีก จนภาคผลิตไฟฟ้าเอกชนมีสัดส่วนกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงเกือบ 70% ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศ ขณะที่กำลังผลิตไฟฟ้าของภาครัฐโดยตรงเหลือเพียง 30% และรัฐบาลยังปล่อยให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองสูงถึง 50%
ขณะที่กำลังการผลิตสำรองไฟฟ้าที่สามารถรองรับความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศควรกำหนดอยู่ที่ 15% เท่านั้น นับเป็นปัญหาสำคัญที่นำมาสู่ภาระค่าไฟฟ้าของประชาชนในขณะนี้
สภาองค์กรของผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายสิ่งแวดล้อม เครือข่ายไฟฟ้า ประปา และยาเพื่อชาติและประชาชน สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมตัวกันยื่นหนังสือถึงกระทรวงพลังงานขอให้แก้ไขปัญหาไฟแพงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยมีนายสมบูรณ์ หน่อแก้ว รองปลัดกระทรวงพลังงานเป็นผู้รับหนังสือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง