นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส เปิดเวทีสัมมนาส “NEXT STEP THAILAND 2023 ทิศทางแห่งอนาคต"โดย สปริงนิวส์ เนชั่นทีวี และโพสต์ทูเดย์ ในหัวข้อ INNOVATION OF SUSTAINABILITY ว่าเอไอเอส แบ่งการพัฒนานวัตกรรมสร้างความยั่งยืน 4 ระดับ คือ 1. การเพิ่มประสิทธิภาพ หรือ ออปติไมเซชัน ทุกบริษัททำหมด เช่น การใช้โซลาเซลล์ , 2. การทรานฟอร์มองค์กร โดยเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการช่วยให้บริการลูกค้าดีขึ้น ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุน , 3. เอาเทคโนโลยีที่ใช้องค์กรมาใช้แก้ปัญหาสังคม และ สุดท้ายการฝังเรื่องความยั่งยืนเข้าไปในคอร์โปรดักส์ ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายมาก
ขณะนี้เราอยู่ในระดับที่ 3 โดยเอาเทคโนโลยี 5G และ IoT เข้าไปอยู่ในป่า เพื่อตรวจวัดคาร์บอนฯ แจ้งเตือนไฟไหม้ป่า ที่เดิมใช้เวลา 5 ชั่วโมงกว่าจะรู้ว่าไฟไหม้ป่า แต่ตอนนี้ใช้เวลา 15 นาที นอกจากนี้นำเทคโนโลยี IoT ไปใช้ อสม. ในการตรวจดีซาน และยังมีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้าไปช่วยโรงพยาบาล 18 แห่ง ในช่วงการแพร่ระบายโควิดที่ผ่านมา แต่เรื่องท้าทายคือการนำสิ่งเหล่านี้เข้าไปอยู่ในคอร์แวลูองค์กร
นอกจากนี้เอไอเอสยังมุ่งเดินหน้าโครงการ AIS E-waste จุดที่รับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่ดำเนินการตั้งแต่ 2561 ปัจจุบันสามารถเก็บขยะได้ปริมาณ 3.5 แสนชิ้น มีจุดรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2,000 แห่ง ใช้เม็ดเงินหลักสิบล้านบาทเพื่อจัดการตรงนี้ ทั้งถังขยะ อย่างไรก็ตามการเดินหน้าทำตรงนี้ไปคนเดียวไม่เวิร์ก ในปี 2566 จะต้องมุ่งการแสวงหาความร่วมมือกับพาสเนอร์ ท้ง ออมสิน จุฬา เงินติดล้อ เดนโซ เปิดให้ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน E-waste ที่เอไอเอสสร้างขึ้นมา และจะต้องแสวงหาวิธีให้ลูกค้าของเอไอเอสมีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับการพัฒนานวัตกรรม และความยั่งยืนนั้นอยากให้มอง 3 ส่วนหลัก 1. ปัญหา อย่าเพิ่งไปมองเรื่องเทคโนโลยี จะเอาบล็อกเชนมาใช้ 2. เน้นการปฎิบัติมากกว่าการวางแผน บริษัทใหญ่ๆ ต้องทำงานแบบสตาร์ทอัพมากขึ้น โดยคิดใหญ่ๆ แต่เริ่มจากเล็กๆ ถ้าเกิดผิดพลาด อย่าไปเสียดายให้ทิ้งไป และ 3. ส่วนงานซัพพอร์ตต่างๆ ต้องให้การสนับสนุนฝ่ายนวัตกรรม ถ้าหาก ฝ่ายซัพพอร์ตยังมีทัศนคติแบบเดิม ที่คิดว่าทำแล้วได้อะไร นวัตกรรมสร้างความยั่งยืนก็จะไม่เกิด
ส่วนนางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวในเวทีเดียวกันว่า ดีแทค อยากเห็นการเข้าใจปัญหาระดับชาติแบบใหม่ จากเดิมเดินไปสำรวจ แต่ปัจจุบันภาครัฐนั่งทับดาต้ามหาศาล มีดาต้าจากองค์กรเอกชนเป็นจำนวนมาก ดีแทคมีฐานลูกค้า 20 ล้านราย เอไอเอส มีฐานลูกค้ากว่า 40 ล้านราย เราคือกดาต้าของประเทศ
ตัวอย่างที่เราทำคือ โมบิลิตี้ ดาต้า ที่ไม่แตะข้อมูลส่วนบุคคลลูกค้า แต่นำชั้นข้อมูลการเดินทางของลูกค้าทั้งปี โดยเรานำ โมบิลิตี้ ดาต้า มาแก้ปัญหาการส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง ด้วยการออกแบบเชิงกลยุทธ์ ที่เรากำลังท้าทายความคิดว่า One Size Fits All ไม่เวิร์ก แต่ต้องเป็นนโยบายส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบฐานรากในระดับภูมิภาค การกระจายอำนาจที่แท้จริง โดยนำโมบิลิตี้ดาต้าเข้ามาทำความเข้าใจความเจริญของพื้นที่ระดับอำเภอ ตำบล
ทั้งนี้โมบิลิตี้ ดาต้า ยังสามารถนำมาใช้แก้ปัญหาการจราจร โดยเราเปิดเป็นโคแลป ให้ผู้ที่สนใจเข้ามาร่วม พาร์ทเนอร์ ต้องมีโดเมนเอ็กซ์เพิร์ท ที่เก่งในเรื่องนั้นๆ เข้ามาร่วมกับเรา
สำหรับเทรนด์ด้านความยั่งยืนที่ดีแทคมุ่งเน้นในปีหน้านั้น คงมุ่งเน้นการโปรโมต ความเท่าเทียมทางดิจิทัล หรือ Digital Inclusion โดยในเวที่การประชุมนานาชาติ พูดถึงการเติบโตอย่างรุนแรง และพูดถึงการกระจายความเจริญ เพื่อลดความเลื่อมล้ำ ดีแทคทำงานด้านเทคโนโลยี และการเชื่อมต่อ โดยผู้ด้อยโอกาส 5 กลุ่มใหญ่ที่สหประชาชาติกำหนดไว้ เช่น กลุ่มคนพิการ ชนกลุ่มน้อย คนอาศัยพื้นที่ห่างไกล คนมีการศึกษาน้อย ซึ่งพบว่ามีทักษะ พ่อสอนได้ แต่ปัญหาคือ ทัศนคติ ที่คิดว่าไม่เป็นไร ซึ่งหากบริการพื้นฐานอยู่ในรูปแบบดิจิทัล จะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต ดีแทคมีหลายโครงการที่เจาะจงลงไปยังกลุ่มเปราะบางในสังคมดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นสอนการใช้งานอินเตอร์เน็ตพื้นฐาน สอนการขายออนไลน์ การสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ผ่านโครงการเน็ตทำกิน สามารถช่วยให้คนพิการหลายคนมีอาชีพได้ โดยสร้างอวตาลขึ้นมาแล้วใช้เสียงพากษ์ เพื่อขายของบน Tiktok นอกจากนี้จากเติมเต็มเรื่องความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ โดยทำโครงการ Harshtag #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา โดยในหลายประเทศกฎหมาย มีเฟรมเวิร์ก ให้กับโรงเรียนในเรื่องบลูลี่ ส่วนประเทศไทยยังไม่มี โดยเราพูดถึงเรื่องสิทธิเด็กเยอะมาก แต่เราทำน้อยมาก
นางอรอุมา กล่าวต่อไปอีกว่า ดีแทคเราอยากเห็นนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ ส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัล อย่างจริงจัง โดยดีแทค มีการจัดตั้งคลังสมอง Think Tank ทางด้านการส่งเสริมความเท่าเทียมทางดิจิทัลอย่างจริงจัง เพื่อศึกษาการสร้างอีโคซิสเต็มที่เหมาะสม ภาคเอกชนต้องทำอะไรบ้าง ภาครัฐจะต้องทำอะไรบ้าง ตั้งแต่การกระจายทรัพยากร การเข้าถึงดิจิทัล ทำให้แอดเดรสเรื่องทัศนคติ และทักษะ ที่สำคัญต้องทำให้คนทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง