"ปตท."มุ่งกรีนไฮโดรเจนดันไทยขึ้นแท่นศูนย์กลางอาเซียน

30 พ.ย. 2565 | 20:33 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ธ.ค. 2565 | 03:33 น.

ปตท. มุ่งกรีนไฮโดรเจนดันไทยขึ้นแท่นศูนย์กลางอาเซียน จับมือซาอุดิอาระเบีย กฟผ. เดินหน้าศึกษาเพิ่มพลังงานทดแทน

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในการบรรยายพิเศษ "เปิแผนธุรกิจ สู่องค์กรยั่งยืน" ในงานสัมมนา “Sustainability Forum 2023” ซึ่งจัดโดย "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ปตท.ได้มีการดำเนินการร่วมมือกับซาอุดิอาระเบีย และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการศึกษาว่าไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางของกรีนไฮโดรเจนของอาเซียน

 

โดยไฟฟ้าที่นำมาแยกไฮโดรเจนคือไฟฟ้าที่เป็นพลังงานสะอาด หากสำเร็จประเทศไทยจะเป็นฮับของกรีนไฮโดรเจนในภูมิภาคอาเซียนได้ แม้ไทยจะเป็นประเทศนำเข้าพลังงานแต่หากสามารถเพิ่มพลังงานทดแทนได้ ก็จะยืนอยู่บนการพึ่งพาพลังงานของตนเองได้มากขึ้น

 

ส่วนแผนการลดการปล่อยคาร์บอนของปตท.ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ ปตท.และบริษัทในเครือได้วางแผนลดการปล่อยคาร์บอนลงอย่างจต่อเนื่อง โดยขณะนี้ทั้งกลุ่ม ปตท.มีการปล่อยคาร์บอนอยู่ที่ประมาณ 45 ล้านตันต่อปี โดยเป็นของปตท. 11 ล้านตัน ที่เหลือเป็นของบริษัทในกลุ่มซึ่งได้มีการทำแผนร่วมกันในการลดการปล่อยคาร์บอนฯเพื่อช่วยลดค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯของประเทศลงด้วย

นอกจากนี้ ปตท.ยังมีการผลักดันการใช้เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (CCS) และเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนและการนำมาใช้ประโยชน์ (CCU) โดยจะริเริ่มใน 1 โครงการจากที่มีการศึกษาอยู่ 4 โครงการ หากสามารถทำได้สำเร็จจะเริ่มขยายผลสู่โครงการอื่นๆ และเริ่มรวบรวมคาร์บอนฝนจากภาคตะวันออกไปกักเก็บได้

 

สำหรับโครงการปลูกป่า 1 ล้านไร่ และมีการดำเนินการดูแลต่อเนื่องมาโดยตลอด ปัจจุบันสามารถดูดซับคาร์บอนได้ 2.1 ล้านตันต่อปี  และปล่อยออกซิเจนได้  1.7 ล้านตันต่อปี และสร้างรายได้กว่า 280 ล้านบาทต่อปีจากภาคท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เกิดขึ้นถือว่าช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดย กลุ่ม ปตท.มีแผนจะปลูกป่าอีก 2 ล้านไร่ เป็นของบริษัท ปตท.เอง 1 ล้านไร่ และบริษัทในเครืออีก 1 ล้านไร่เพื่อให้ช่วยดูดซับคาร์บอนฯและปล่อยก๊าซออกซิเจนออกสู่บรรยากาศ

 

\"ปตท.\"มุ่งกรีนไฮโดรเจนดันไทยขึ้นแท่นศูนย์กลางอาเซียน

 

อย่างไรก็ดี แนวโน้มการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะลดลงเรื่อง ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่ยังมีความต้องการมาก โดยปริมาณการใช้ถ่านหินได้ผ่านจุดสูงสุดของความต้องการใช้มาแล้วตั้งแต่ปี 2015 ส่วนความต้องการน้ำมันสูงสุดจะอยู่ที่ปี 2033 หลังจากนั้นจะทยอยลดลง ส่วนก๊าซธรรมชาติยังโตได้ไปจนถึงปี 2040 เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงช่วงเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานทดแทน
 

นายอรรถพล กล่าวต่อไปอีกว่า การรักษาความยั่งยืนในเรื่องพลังงานมีความสำคัญใน 4 ประเด็นได้แก่ 

  • รักษาความสมดุลของแหล่งพลังงาน โดย ปตท.มีการรักษาความสมดุลและความหลากหลายของแหล่งพลังงานไว้ให้กับประเทศ โดยมีการกระจายแหล่งรับซื้อเชื้อเพลิงและการวางระบบโลจิสติกส์การขนส่งพลังงานทั้งทางเรือและทางท่อก๊าซ ทำให้ประเทศมีความมั่นคงด้านพลังงาน 

 

  • การคำนึงถึงเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม

 

  • การรักษาความสมดุลย์เรื่องของสิ่งแวดล้อมและเรื่องเศรษฐกิจ

 

  • การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (energy efficiency)  ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในเรื่องของภาคพลังงานหากสามารถทำได้จะช่วยแก้ปัญหาของภาคพลังงานไปได้อีกมาก


นายอรรถพล กล่าวอีกว่า แนวโน้มเรื่องพลังงานจะไปสู่เรื่อง Go green และ Go electric มากขึ้น โดยเป็นการจัดการพลังงานสะอาดจากต้นทางคือการผลิตไฟฟ้า หากสามารถที่จะจัดการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้ก็จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ดีขึ้น

 

ทั้งนี้ การมุ่งไปสู่พลังงานสะอาด ปตท.มีเป้าหมายในการเป็นองค์กร Net Zero ในปี 2050 ซึ่งจะทำควบคู่ไปกับการมุ่งสู่ธุรกิจใหม่ที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นเป้าหมายของประเทศ เพราะ ปตท.เป็นองค์กรใหญ่ที่จะต้องช่วยประเทศไปสู่การเป้าหมายของการลงทุนและสร้างงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

 

ขณะที่เรื่องยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ที่รัฐบาลมีการตั้งนโยบาย 30@30  ปตท.ได้ดำเนินการตั้งบริษัทอรุณพลัส โดยจับมือกับฟลอคอนซ์เปิดโรงงานในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ของรถ EV ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย การเดินหน้าพลังงานทางเลือกอื่นๆ