วางกติกาตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตเมืองไทย 

26 ต.ค. 2565 | 10:49 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ต.ค. 2565 | 18:05 น.

ไทยร่วมกระแส “รักษ์โลก” ประกาศเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และปล่อยเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2065 ตามแผนลด-งดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 

อบก. หรือ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน) ดูแลการซื้อขายคาร์บอนเครดิต มาตั้งแต่ปี 2559 อย่างสมัครใจ ระหว่างกิจการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย จนมีคาร์บอนเครดิตเหลือ เพื่อขายให้กับกิจการที่ยังปล่อยสูงเกินเกณฑ์เพื่อชดเชยส่วนขาด หรือกิจกรรมที่สร้างออกซิเจน เช่น การปลูกป่า ก็สามารถวัดเป็นคาร์บอนเครดิต เอามาขายในตลาดนี้ได้เช่นกัน

 

ตลาดคาร์บอนเครดิตไทยเติบโตก้าวกระโดด จากปีแรกที่ 8 แสนกว่าบาท เพิ่มเป็นกว่า 10 เท่าใน 5 ปี 

ไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ปีละ 256 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า คิดเป็นสัดส่วน  1 % ของโลก 

 

ทั่วโลกเปิดตลาดคาร์บอนเครดิตแล้ว 64 ตลาด มูลค่าซื้อขายระหว่างกัน 6,700 ล้านดอลลาร์ และมีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปี 2030  ราคาต่อ 1 เครดิต หรือ 1 ตันฯ จะสูงขึ้น 88% หรือ 67 ดอลลาร์ต่อตัน จากมาตรการที่จะเข้มข้นยิ่งขึ้น ตามหลักการ “ใครสร้างใครจ่าย”

วางกติกาตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตเมืองไทย 

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ เกิด 16 พฤศจิกายน 2502

 

จบปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขา เคมีวิศวกรรม จากจุฬาฯ และเอ็มบีเอ จากธรรมศาสตร์ ทำงานและเติบโตใน บมจ.บางจาก ต่อเนื่อง จนถึงรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเป็นซีอีโอ บมจ. บีบีจีไอ บริษัทโฮลดิ้ง กลุ่มผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพ 

 

ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.)

 

เพื่อยกระดับตลาดคาร์บอนเครดิตไทย ให้พร้อมรองรับให้สถานประกอบการไทยปรับตัวสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้ทันกาล ได้ประโยชน์สูงสุด 

 

และร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชวนเอกชนไทยยกระดับสินค้าและบริการที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เชื่อมต่อแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาด และคาร์บอนเครดิตแล้ว ตั้งแต่ 21 ก.ย.2565

 

ซึ่งคาดจะมีมูลค่าตลาดถึง 3.25 แสนล้านบาท ในปี 2065

 

เกียรติชาย ไมตรีวงษ์ 
ผอ.องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)