ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2567 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รวม 2 ฉบับ
สำหรับสาระสำคัญของเรื่อง พบว่า ร่างพ.ร.บ.รวม 2 ฉบับ ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตคันนายาว เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
นอกจากนี้มีสาระสำคัญเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูช่วงแคราย – มีนบุรี ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตคันนายาว เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าหน้าที่ในเวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายในระยะเวลา 4 ปี
ส่วนร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ในท้องที่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ในท้องที่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้เพื่อให้ภาระในอสังหาริมทรัพย์มีการแสดงสิทธิในที่ดินให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายต้องยอมรับภาระว่าไม่สามารถใช้สอยอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ตามปกติแต่ไม่ได้สร้างภาระจนถึงขนาด ที่ รฟม. จะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น
ขณะเดียวกันพบว่าในกรณีเวนคืนที่ดินเป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตคันนายาว เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยให้ รฟม เป็นเจ้าหน้าที่ในเวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ และให้เจ้าหน้าที่เวนคืนเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนภายในระยะเวลา 4 ปี
นอกจากนี้แม้ รฟม.ได้ส่งมอบที่ดินที่ถูกเขตทางทั้งหมดในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี เพื่อใช้ในการก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว แต่มีเจ้าของที่ดินในท้องที่ดังกล่าว จำนวน 28 แปลง (จากเดิม 592 แปลง) ไม่ตกลงซื้อขาย
ดังนั้น รฟม.จึงได้วางเงินทดแทนให้กับเจ้าของที่ดินดังกล่าว แต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังเป็นของเจ้าของที่ดิน โดยจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟม.ก็ต่อเมื่อได้มีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ
อย่างไรก็ตามรฟม.จึงมีความจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เพื่อให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยโดยเร็วต่อไป
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการเวนคืนที่ดิน “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” พบว่า เจ้าของที่ดิน จำนวน 28 แปลง ไม่ยอมตกลงทำสัญญาการเวนคืนที่ดินกับรฟม. อีกทั้งพบว่ามีปัญหาเรื่องภาระจำยอมกันเองระหว่างเจ้าของกับเจ้าของที่ดินที่ได้ภาระจำยอม รวมถึงเจ้าของที่ดินเสียชีวิตทายาทไม่มาติดต่อ
ส่วนสาเหตุที่การเจรจาเวนคืนที่ดินในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูไม่ได้ข้อยุตินั้นเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ดำเนินการได้คือ การเสนอออก พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินฯตามที่มติ ครม.อนุมัติเมื่อวันที่ 17 ธค 67
ในระหว่างนี้เจ้าของที่ดินสามารถตกลงทำสัญญาซื้อขายกับ รฟม. ได้ จนกว่าเรื่องจะเสนอต่อสภาฯ ซึ่งทุกแปลง รฟม. ได้วางเงินตามกฎหมายเข้าใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างโครงการแล้ว
สำหรับเจ้าของที่ดิน 28 แปลง ที่ไม่ยอมทำสัญญาเวนคืนที่ดินในโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ดังนี้