กรมที่ดิน ได้สรุป 4 ขั้นตอน การยื่นคำขอตรวจหลักฐานทะเบียนที่ดินขอคัด-ถ่ายสำเนาเอกสาร และ คัดโฉนดที่ดินราคาเท่าไหร่นั้น มีรายละเอียดดังนี้
1 ผู้ยื่นคำขอ
- ผู้ขอเป็นบุคคลทั่วไป และไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
- หรือเอกสารที่ขอตรวจสอบ หรือขอถ่ายสำเนาเอกสาร
2.การยื่นคำขอ
- ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ให้ผู้ขอระบุหมายเลขหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดิน เครื่องหมายที่ดิน
- หรือระบุที่ตั้งของที่ดินได้ชัดเจน กรณีไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ จึงไม่อาจให้ตรวจสอบได้
- ระบุเหตุผลในคำขอว่ามีความประสงค์ขอตรวจสอบ หรือถ่ายสำเนาเอกสารใด เพื่อประโยชน์อะไร และให้รับรองเอกสารด้วยหรือไม่
- กรณีไม่มีคำขอห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้
3. การดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่
- สอบสวนผู้ขอว่า ต้องการขอตรวจสอบที่ดินแปลงใด ? ต้องการทราบเรื่องใด ? ขอคัดหรือถ่ายสำเนาเอกสารใด ?เพื่อประโยชน์อะไร
- ให้ใช้ดุลยพินิจพิจารณาเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 มาตรา 15 และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
- กรณีสามารถเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลได้ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เช่น ศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานรัฐ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมาย เป็นต้น
- กรณีไม่อาจเปิดเผยข้อมูลข้อมูลข่าวสาร หรือไม่มีกฎหมายให้กระทำได้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งไม่รับคำขอพร้อมแจ้งเหตุผลที่เปิดเผยไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทใดและเพราะเหตุใด พร้อมสิทธิการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ให้ผู้ขอทราบ (ให้ผู้ขอทำเป็นหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
- ให้หัวหน้าฝ่ายทะเบียน หรือ ผู้ได้รับมอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจสั่งการในคำขอ
4. การรับรองสำเนาเอกสาร
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความชัดเจน ครบถ้วน ถูกต้องตรงกับเอกสารที่ขอให้รับรองหรือไม่ และรับรองสำเนาถูกต้องทุกแผ่น ทุกหน้า พร้อมระบุชื่อตำแหน่ง และวัน เดือน ปี
ค่าธรรมเนียม
- ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมการรับรองสำเนาเอกสาร ฉบับละ 10 บาท
ค่าตรวจหลักฐานทะเบียนที่ดิน
- กรณีการตรวจจากสื่อบันทึก กรณีการตรวจหลักฐาน ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น รวมทั้งข้อมูลแปลงที่ดินทางระบบ Land Infomation (LIS) ให้เรียกเก็บ ครั้งละ 100 บาท
- กรณีการตรวจหลักฐาน ทะเบียนที่ดินด้วยมือแปลงละ 10 บาท
- จากสื่อบันทึกข้อมูล ทางคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ให้เรียกเก็บแผ่นละ 50 บาท.