7 ขั้นตอน 'รีไฟแนนซ์บ้าน' ฉบับมือใหม่เข้าใจง่าย!

19 ธ.ค. 2565 | 09:53 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ธ.ค. 2565 | 17:01 น.
565

7 ขั้นตอน รีไฟแนนซ์บ้าน ฉบับมือใหม่เข้าใจง่าย เคล็ดลับที่จะช่วยให้ 'ผ่อนบ้าน' หมดเร็วยิ่งขึ้น หลังส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะอนุญาตให้รีไฟแนนซ์ได้หลังผ่อนชำระครบ 3 ปี

19 ธ.ค.2565 - เคล็ดลับการผ่อนบ้านให้หมดเร็วยิ่งขึ้น ด้วย การรีไฟแนนซ์ คือ การขอเงินกู้จากธนาคารใหม่ เพื่อปลดภาระเงินกู้จากธนาคารเก่า อย่างไรก็ตามสำหรับมือใหม่ ที่อยากรีไฟแนนซ์ คงเป็นเรื่องยากไม่น้อย เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง โดย บมจ.ศุภาลัย บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้สรุปขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้านแบบครบจบเข้าใจง่ายๆ ไว้อย่างน่าสนใจและเป็นประโยชน์โดยเป็นการอ้างอิงข้อมูล จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา นำมาเผยแพร่เป็นบทความผ่าน  Supalai Society ดังต่อไปนี้ 

7 ขั้นตอน \'รีไฟแนนซ์บ้าน\' ฉบับมือใหม่เข้าใจง่าย!

7 ขั้นตอน 'รีไฟแนนซ์บ้าน' 

  • พิจารณาระหว่างธนาคารเดิมกับธนาคารใหม่

สิ่งที่ต้องเปรียบเทียบคือ ค่าธรรมเนียมในการรีไฟแนนซ์ และดอกเบี้ยที่ธนาคารใหม่เสนอให้

 

  • ตรวจสอบสัญญาการกู้

ตรวจสอบว่า กำหนดการที่สามารถให้รีไฟแนนซ์ได้เมื่อไร โดยส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะอนุญาตให้รีไฟแนนซ์ได้หลังผ่อนชำระครบ 3 ปี
 

  • ตรวจสอบข้อมูลยอดหนี้คงเหลือ

การตรวจสอบข้อมูลยอดหนี้คงเหลือ สามารถทำได้ผ่านการติดต่อกับสถาบันทางเงินเดิมเพื่อสรุปยอดหนี้สินในการผ่อนชำระ โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเลือกธนาคารใหม่ ผ่านการนำยอดหนี้ที่คงเหลือไปคำนวณกับข้อเสนอที่ธนาคารมอบให้

 

  • เตรียมเอกสารให้พร้อม

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล เช่น บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและทะเบียนสมรส เป็นต้น
  2. เอกสารแสดงรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน และรายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน เป็นต้น
  3. เอกสารหลักประกัน เช่น โฉนดที่ดินและสัญญาเงินกู้จากธนาคารเดิม เป็นต้น

 

  • ยื่นขอสินเชื่อสำหรับการรีไฟแนนซ์

หลังเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ผู้ขอสินเชื่อสามารถเข้าไปขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้ โดยเมื่อธนาคารรับเรื่องแล้วจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปประเมินราคาหลักประกันเพื่อประกอบการอนุมัติ และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วทางธนาคารจะติดต่อกับธนาคารเดิมเพื่อสอบถามหนี้คงเหลือและนัดวันไถ่ถอนต่อไป

 

  • เตรียมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

โดยค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมมี ดังนี้ ค่าประเมินราคา ค่าจดจำนอง จ่ายให้กรมที่ดิน ค่าประกันอัคคีภัย ค่าอากรแสตมป์ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคาร

 

  • ทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน

สำหรับการทำสัญญา ทางธนาคารจะมีเจ้าหน้าที่ถือสัญญาไปให้เซ็นที่กรมที่ดิน พร้อมกับการทำสัญญาจดจำนองในวันเดียวกัน หลังทำสัญญาและจดจำนองเรียบร้อยแล้ว ก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการรีไฟแนนซ์

 

ข้อมูล : krungsri.com