กรมชลประทานฯ ตอบโจทย์เรื่องน้ำ ผลิกชีวิตเกษตรกร ชุมชน สร้างรายได้ยั่งยืน

30 มี.ค. 2566 | 14:30 น.
อัปเดตล่าสุด :30 มี.ค. 2566 | 14:33 น.

กรมชลประทานฯ ตอบโจทย์เรื่องน้ำ ผลิกชีวิตเกษตรกร ชุมชน สร้างรายได้ยั่งยืน

ทราบหรือไม่ว่า “แม่น้ำมูล” มีน้ำท่าไหลเฉลี่ยถึงปีละ 30,700 ล้านลูกบาศก์เมตรปริมาณน้ำเท่ากับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์รวมกัน กรมชลประทานต้องการก่อสร้างระบบกระจายน้ำ เพื่อนำน้ำจำนวนนี้ขึ้นมาให้ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่อาศัยอยู่สองฝั่งของแม่น้ำมูลตอนล่างและสาขาอย่างเต็มที่ มีความมั่งคงในการประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ เพิ่มโอกาสมีน้ำให้ทุกคนเอาไปใช้ได้ แม้ว่าส่วนคนที่อยู่ไกลก็ไม่เสียโอกาสในการนำน้ำไปใช้ นี่คือที่มาของ “โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ PL-5” ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

“อุบลราชธานี” เป็นจังหวัดตั้งอยู่สุดชายแดนตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาค และเป็นอันดับ 3 ของประเทศ มีแนวพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านรวมความยาว 428 กิโลเมตร ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (จากอำเภอเขมราฐ อำเภอน้ำยืน ติดต่อกับแขวงสะหวันนะเขต และแขวงจำปาสัก ระยะทาง 361 กิโลเมตร) และราชอาณาจักรกัมพูชา (อำเภอน้ำยืน ติดกับจังหวัดเขาพระวิหารเป็นระยะทาง 67 กิโลเมตร) อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร 630 กิโลเมตร จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ ประมาณ 10.07 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.5 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับว่ามีพื้นที่เพาะปลูกเป็นอันดับต้นของประเทศ

 

กรมชลประทานฯ ตอบโจทย์เรื่องน้ำ ผลิกชีวิตเกษตรกร ชุมชน สร้างรายได้ยั่งยืน

จากศักยภาพดังกล่าว ก็ยิ่งทำให้กลมชลประทาน จะเร่งดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการใช้น้ำและสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรได้อย่างทั่วถึง ปัจจุบัน “โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ PL-5” ตำบลกุดลาด อำเภอเมือง ด้วยการสร้างระบบท่อส่งน้ำและคลองส่งน้ำรวม 10 สาย รวมระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร ด้วยการสร้างระบบท่อส่งน้ำและคารประกอบ 12 สาย รวมระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร คืบหน้าแล้วกว่า 77% หากก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำช่วยเหลือเกษตรกร 3,510 ไร่ และมีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคกว่า 640 ครัวเรือน

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำวังสะแบงเหนือ ตำบลหนองแสงใหญ่ อำเภอโขงเจียม ด้วยการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำรวม 10 สาย รวมระยะทาง 12 กิโลเมตร ปัจจุบันคืบหน้าหน้าแล้ว 40% หากดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำช่วยเหลือการอุปโภคบริโภคและการเกษตรในพื้นที่ได้ประมาณ 2,500 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์กว่า 525 ครัวเรือน

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า กรมชลประทานมุ่งมั่นสร้างความมั่นคงด้านน้ำเมืองอุบลฯ โดยการสร้างระบบท่อส่งน้ำเพิ่มศักยภาพการกระจายน้ำในพื้นที่การเกษตรได้อย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความเข็มแข็งทางภาคการเกษตร ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหบังของประเทศเพื่อให้การบริหารจัดการน้ำครอบคลุมทุกมิติ สามารถส่งน้ำได้อย่างเพียงพอต่อทุกกิจกรรมการใช้น้ำ โดยเฉพาะภาคการเกษตร สร้างรายงได้มั่นคง

นี่เป็นจุดแข็งของการเกษตรและควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำจะทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืยมากขึ้น