“นายก” ห่วงลูกจ้างเรือบรรทุกน้ำมันระเบิด สั่ง รมว. เฮ้ง รุดช่วยเหลือด่วน

10 มี.ค. 2565 | 16:59 น.
อัปเดตล่าสุด :11 มี.ค. 2565 | 00:01 น.

“นายก” ห่วงลูกจ้างเรือบรรทุกน้ำมันระเบิด สั่ง รมว. เฮ้ง รุดช่วยเหลือด่วน

จากเหตุการณ์ระเบิดบนเรือบรรทุกน้ำมันขณะกำลังขนถ่ายน้ำมัน บริเวณท่าเรือบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) สาขาพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 น. ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย และเสียชีวิต 1 ราย นั้น

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แสดงความเสียใจและห่วงใยต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ กำชับให้กระทรวงแรงงานเร่งช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตโดยด่วน ซึ่งตนได้สั่งการให้นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เร่งตรวจสอบและดำเนินการช่วยเหลือลูกจ้างผู้ประสบเหตุในกรณีดังกล่าวทันที

“นายก” ห่วงลูกจ้างเรือบรรทุกน้ำมันระเบิด สั่ง รมว. เฮ้ง รุดช่วยเหลือด่วน

นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้มอบหมายให้นายศักดินาถ สนธิศักดิ์โยธิน ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบข้อเท็จจริง ให้ความช่วยเหลือลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บ และเร่งประสานทายาทผู้เสียชีวิตเพื่อรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนโดยด่วน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เรือบรรทุกน้ำมันที่ประสบเหตุชื่อ สมูธ ซี 2 ขนาด 1989 ตัน เป็นเรือสัญชาติไทย ของบริษัท สมูธ ซี จำกัด เหตุการณ์ดังกล่าวมีลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ชื่อ นายณัฐภูมิ ลักษณะจันทร์ อายุ 32 ปี อาการบาดเจ็บ ปวดหู หูอื้อ ข้างขวา นายสมพงษ์ คงวิเชียร อายุ 33 ปี อาการบาดเจ็บปวดแขนขวา และนายพีรกานต์ พงษา อายุ 25 ปี อาการบาดเจ็บแผลฉีกขาดแก้มขวา มีแผลไฟไหม้ตามร่างกาย ทั้ง 3 คน ถูกนำตัวส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลบางปะกอก 3 เรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้เสียชีวิต 1 ราย ทราบชื่อคือ นายศรรกฏิยพงษ์ สงวนพันธุ์ 

“นายก” ห่วงลูกจ้างเรือบรรทุกน้ำมันระเบิด สั่ง รมว. เฮ้ง รุดช่วยเหลือด่วน

“นายก” ห่วงลูกจ้างเรือบรรทุกน้ำมันระเบิด สั่ง รมว. เฮ้ง รุดช่วยเหลือด่วน

นายศักดินาถ สนธิศักดิ์โยธิน ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม กล่าวในตอนท้ายว่า วันนี้ตนและเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เข้าตรวจสอบและให้กำลังใจลูกจ้างที่ได้รับบาดเจ็บ พร้อมให้เจ้าหน้าที่เร่งประสานทายาทผู้มีสิทธิของลูกจ้างที่เสียชีวิต ให้มารับสิทธิประโยชน์จากกรณีบาดเจ็บและเสียชีวิตเนื่องจากการทำงาน ซึ่งจะได้รับค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกินตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ค่าทดแทน 70% ของค่าจ้าง กรณีลูกจ้างหยุดพักรักษาตัวดามแพทย์สั่ง ตั้งแต่วันแรกที่หยุดงานแต่ไม่เกิน 1 ปี ค่าทตแทน 70% ของค่าจ้าง กรณีสูญเสียอวัยวะ ไม่เกิน 10 ปี ลูกจ้างจะได้รับการประเมินเมื่อสิ้นสุดการรักษา และค่าทดแทน 70% ของค่าจ้าง กรณีสูญหายหรือเสียชีวิต เป็นเวลา 10 ปี ในการนี้ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จะให้การดูแลสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างผู้ประกันตนที่ได้รับบาดเจ็บ และทายาทของผู้เสียชีวิตให้ได้รับสิทธิประโยชน์อย่างครบถ้วน ดุจคนในครอบครัวเดียวกัน โดยไม่ทิ้งเขาไว้ข้างหลังอย่างแน่นอน