ไพรมารี่โหวต ปัญหา‘หนักอก’พรรคการเมือง

08 ต.ค. 2564 | 17:34 น.

ไพรมารี่โหวต ปัญหา‘หนักอก’พรรคการเมือง : รายงาน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,720 หน้า 10 วันที่ 7 - 9 ตุลาคม 2564

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ลงนามหนังสือส่งถึงหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค เพื่อให้เตรียมความพร้อมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไป

มีประเด็นหลัก 4 ข้อ ประกอบด้วย 1. การดำเนินการให้มีสมาชิกพรรคการเมืองตามพ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการ เมือง 2560 2. การจัดตั้งสาขาพรรคการเมือง 3. การแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด และ 4. การสรรหาผู้ สมัครรับเลือกตั้งส.ส.

โดยเฉพาะ ข้อ 4 ในเรื่องการสรรหาผู้สมัคร เนื่องจากจะต้องแบ่งเขตใหม่ 400 เขต จะทำให้เขตเลือกตั้งเปลี่ยนจากเดิม ดังนั้น จังหวัดที่เขตเลือก ตั้งเพิ่ม ควรสรรหาผู้สมัครไว้ตามความเหมาะสม

เรื่องที่ กกต.ให้พรรค การเมืองเตรียมพร้อม และเป็นปัญหา “หนักอก” ของพรรคการเมืองคือ 

การจัดตั้งสาขาพรรคการ เมือง ตามมาตรา 33 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ศ. 2560 โดยต้องมีที่ตั้งสาขาพรรคการ เมืองและคณะกรรมการสาขาพรรคการเมืองอยู่ในเขตเลือกตั้งนั้น และต้องมีสมาชิกพรรคการ เมืองที่มีภูมิลําเนาในเขตเลือกตั้งนั้นตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป และแจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง หากไม่ดําเนินการดังกล่าว พรรค การเมืองก็จะไม่สามารถส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบ่งเขตเลือก ตั้งในจังหวัดนั้นได้ หรือจะไม่สามารถแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัดในเขตเลือกตั้งในจังหวัดนั้นได้ เพราะจะขัดกับมาตรา 35 พ.ร.ป.พรรค การเมือง 2650

 

กรณีที่พรรคการเมืองยังมิได้จัดตั้งสาขาพรรคการเมือง หากประสงค์จะส่งผู้สมัครรับ เลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขต ก็จะต้องดําเนินการจัดตั้งสาขาพรรค การเมืองให้เป็นไป ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 33 ประกอบประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองและการแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัด พ.ศ. 2563 โดยที่สาขาพรรคการเมือง แต่ละสาขาต้องมีสมาชิกพรรคการเมืองที่มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสาขาพรรคการเมืองตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป โดยมีเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของสาขาพรรค การเมืองเฉพาะเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งหนึ่ง 

การแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัด กรณีที่พรรคการเมืองยังมิได้แต่งตั้ง ตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัด ตามมาตรา 35 พ.ร.ป. พรรคการเมือง 2560 หากประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 

 

ไพรมารี่โหวต  ปัญหา‘หนักอก’พรรคการเมือง

 

ต้องดำเนินการ โดยในเขตเลือกตั้งนั้นต้องมีสมาชิกซึ่งมีภูมิลําเนาในเขตเลือกตั้งนั้นเกิน 100 คน ทั้งนี้ตัวแทนพรรค การเมือง ประจําจังหวัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งขององค์ประชุมของที่ประชุมใหญ่พรรคการเมือง และคณะกรรมการสรรหาผู้สมัคร 

การสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อมีกรณีที่ต้องสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรค การเมืองต้องจัดให้มีคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประกอบด้วยบุคคลและจํานวนตามที่กําหนดในข้อบังคับพรรคการเมืองซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการเมือง ไม่เกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง และตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัด 

 

ทั้งนี้ จํานวนหัวหน้าสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจําจังหวัด อย่างน้อยต้องมีหัวหน้าสาขาพรรค การเมืองไม่น้อยกว่า 4 สาขา ซึ่งมาจากต่างภาคกัน และการได้มาซึ่งคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องกระทําการเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่พรรคการเมืองโดยวิธีการลงคะแนนลับ

อย่างไรก็ตาม ปัญหา “หนักอก” ของพรรคการเมืองในบางเรื่อง ที่ปฏิบัติได้ยาก กำลังจะนำไปสู่การแก้ไข นั่นก็คือ ในการเลือกตั้งขั้นต้นเพื่อหาผู้สมัคร ส.ส. หรือ “ไพรมารี่โหวต” 

ในเรื่องดังกล่าว ไพบูลย์นิติตะวัน ในฐานะประธานคณะกฎหมายพรรคพลังประชารัฐ เตรียมที่ยกร่างแก้ไขร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข มาตรา 83 และมาตรา 91 ว่าด้วยระบบเลือกตั้งบัตร 2 ใบ และเตรียมหารือ กกต.

โดยประเด็นที่จะแก้ไขในร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง จะปรับแก้ไขในการเลือกตั้งขั้นต้น เพื่อหาผู้สมัคร ส.ส. หรือ “ไพรมารี่โหวต” ซึ่งจะนำความของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 13/2561 เรื่อง การดำเนินการตาม พ.ร.ป.  ว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) มาบัญญัติแทนเพื่อให้การคัดเลือกผู้สมัคร เป็นไปตามกระบวน การของพรรคการเมือง เมื่อครั้งเลือกตั้งปี 2562

นายไพบูลย์ บอกว่า ในประเด็นการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. มีประเด็นที่ต้องพิจารณาด้วย คือ ข้อกำหนดให้มีตัวแทนพรรคประจำจังหวัด เดิมพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง กำหนดให้มีตัวแทนประจำจังหวัดในเขตเลือกตั้ง จึงจะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ 

นั่นคือ หากจะส่งส.ส.ลง 400 เขต ต้องมีตัวแทนพรรคที่ประกอบด้วยสาชิกพรรคอย่างน้อย 100 คนทุกเขต เบื้องต้นจะไม่เสนอแก้ไข แต่มีรายละเอียดพิจารณาว่า ตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 13/2561 กำหนดให้มีตัวแทนพรรคประจำจังหวัดใดในจังหวัดนั้น สามารถส่งผู้แทนลงทุกเขตเลือกตั้งได้ ซึ่งเป็นเหมือนกับการเลือกตั้ง ปี 2562

บางเรื่องบางประเด็นที่ “กกต.” แจ้งให้ “พรรคการเมือง” ดำเนินการ กำลังจะมีการแก้ไขเพื่อให้สอดรับกับแก้ไขรัฐธรรมูญว่าด้วย “บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ” ซึ่งต้องรอดูว่าจะมีการแก้ไขในประเด็นใดบ้าง