ส่องโอกาส “การศึกษา” ที่ซ่อนอยู่ใน "วิกฤติโควิด"

19 ก.ค. 2564 | 13:34 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ค. 2564 | 20:45 น.

ส่องโอกาส “การศึกษา” ที่ซ่อนอยู่ใน "วิกฤติโควิด" : สัมภาษณ์พิเศษ

สถานการณ์แพร่ระบาดอย่างหนักของเชื้อร้ายไวรัสโควิด19 ลากยาวนานกว่า 1 ปี เป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นทุกประเทศ ทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข ทุบทำลายเศรษฐกิจ และ สะเทือนกลายเป็นปัญหาสังคมที่รุนแรง

หลายสาขาอาชีพปรับตัวเพื่อรับวิถีใหม่ New normal เพื่อความอยู่รอด และขณะเดียวกันก็ค้นพบช่องทางในการ "สร้างโอกาสใหม่" โดยที่ไม่ต้องรอคำตอบว่าการแพร่ระบาดครั้งนี้ จะจบลงเมื่อไหร่

โดยหนึ่งในสาขาอาชีพที่ต้องปรับตัว คือ "ภาคการศึกษา" ทั้งระบบ

"ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุริม โอทกานนท์ รักษาการรองคณบดีงานสนับสนุนการศึกษาและวิชาการ วิทยาลัย การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)"  สะท้อนทั้งปัญหา และบอกถึงโอกาสในระยะสั้นและระยะยาวได้อย่าง น่าสนใจ

ปัญหาการศึกษาที่เกิดจากโควิด

ดร.บุริม บอกว่า สถานการณ์โรคโควิดก่อให้เกิดปัญหาคือ 

1. ระยะสั้น ได้มีผลวิจัยทางการศึกษาออกมาว่า สถานการณ์โรคโควิดนั้นทำให้เกิดการสูญหายของการเรียนรู้มากมายในระบบนิเวศของการศึกษาที่เรียกว่า Learning loss หรือ การเรียนรู้ที่ขาดหายไป เพราะจากเรียนในห้องเรียนก็เปลี่ยนมาเป็นการเรียนออนไลน์ทำให้ นักเรียน นักศึกษา ปรับตัวไม่ทัน ตอนนี้ก็ต้องกลายเป็นหนูทดลองไปก่อนว่าเข้าใจหรือไม่เข้าใจ

เพราะการเรียนการสอนออนไลน์ กับ การเรียนการสอนในห้องเรียนนั้นไม่เหมือนกัน วิธีการส่งมอบความรู้มันไม่ เหมือนกัน แต่ตอนนี้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยแทบทุกแห่งยังทำได้ไม่ลงตัว เรายังไม่มีสูตรสำเร็จที่มีประสิทธิภาพ

2. ระยะยาว เชื่อว่าสภาพนิเวศน์ทางการศึกษา (Educational Landscape) ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน เช่น รูปแบบของการเรียนการสอนในองค์ความรู้ที่เป็น Soft Skill อาจจะไม่กลับมามีสอนในห้องเรียนปกติอีกแล้ว แต่บางวิชาที่มีการใช้ Physical Skill หรือเป็น Hard Skill ต้อง หาเงื่อนไขการสอนที่ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ได้จากที่บ้านให้ลงตัวก่อน

เช่น วิชาดนตรี การกีฬา หรือรูปแบบของการเรียนรู้ที่เป็นหัตถการ อย่างด้านการแพทย์ วิศวกร ที่ต้องเรียนรู้เรื่องกายภาพคน ต้องสัมผัสและฝึกฝน ซึ่งอาจจะฝึกทักษะในลักษณะนี้ที่บ้านไม่ได้

นอกจากนี้กลายเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศน์ทางการศึกษา (Educational Landscape) ยังจะทำให้มหาวิทยาลัยไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ใหญ่โตกว้างขวาง เพื่อจัดการเรียนรู้เหมือนในอดีตอีกต่อไป อาคารเรียนรวมที่จุคนได้ 500-700 คน เริ่มไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

เพราะการเรียนออนไลน์ทำให้คนที่อยู่เชียงใหม่ก็สามารถเรียนมหาวิทยาลัยในกรุงเทพได้ ไม่ต้องเดินทางมาที่กรุงเทพ โดยใช้รูปแบบการเรียนแบบ Soft Skill ผ่าน Online Virtual Classroom ซึ่งทำได้ในหลายวิชา อย่างวิชาในกลุ่มสังคมศาสตร์นั้นสามารถทำได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น ต่อไปพื้นที่ก็จะลดความจำเป็นลง

 

การปรับตัวของ CMMU

1. วิทยาลัยการจัดการนั้น โดยปกติมีคนเข้ามาเรียน 600-700 คน นี่คือเต็มความจุของตึกที่จะรองรับ (Building Capacity) แล้ว อยากเรียน มากกว่านี้ก็เรียนไม่ได้เพราะตึกรับไม่ไหว ที่จอดรถรับไม่ไหว พอเริ่มสอนแบบออนไลน์สามารถขยายการรับนักศึกษาจากการเปิดคอร์สออนไลน์ได้มากขึ้น ผู้ที่อยู่ไกลไม่จำเป็นต้องมาที่ตึกแล้ว มีแค่บางวิชา เท่านั้นก็จำเป็นต้องมามหาวิทยาลัย แต่ถ้ากฎระเบียบเอื้ออำนวยต่อไปอาจจะไม่ต้องมาเลยก็ได้

ในแง่ของวิชาการนั้น การออกแบบหลักสูตรยังเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอยู่ ต้องออกแบบหลักสูตรที่เป็นที่ต้องการของผู้เรียน ตลาดแรงงาน ภาครัฐเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ อย่างตอนนี้เราเปิดสอนหลักสูตร การจัดการมหาบัณฑิต ( Master of Management) การจัดการดุษฎีบัณฑิต (Ph.D.)  เพื่อตอบความต้องการของผู้เรียนและหลักสูตรเหล่านี้เป็นหลักสูตรที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ

ดังนั้นเนื้อหานั้นไม่ได้เปลี่ยนจากหลักคิดเดิม แต่เปลี่ยนในเรื่องเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เป็น (Minor Change) มากกว่า 

"อย่างเช่นผมสอนการตลาด ผมคงไม่มานั่งย้ำสอนเรื่องเก่าๆ ที่ใช้มา 50 ปีแล้ว เช่นรูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบ วิทยุ แผ่นพับ โบร์ชัวร์ อันนี้โบราณ มาก แต่เราจะพูดรวมถึง โซเชียลมีเดีย ไอดอลมาร์เก็ตติ้ง อินฟลูเอ็นเซอร์ พ็อดแคส AI  ซึ่งเราจะปรับเนื้อหาในรายวิชาจะเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย ไม่ใช่แค่ตอบสมัย และยังตรงต่อความต้องการของโลก"

2. ปรับวิธีการเรียนรู้ สมัยก่อนหลักสูตรเน้นการเรียนให้เชี่ยวชาญด้านเดียว แต่ปัจจุบันไม่ใช่ หลายคนเรียนเป็น นักวิทยาศาสตร์ในขณะที่ที่บ้านบ้านทำธุรกิจ ถ้าจะช่วยงานที่บ้านด้วยก็ต้องรู้เรื่อง ความเป็นผู้ประกอบการ เรียนวิทยาศาสตร์เอาความรู้มาใช้เพื่อมาผลิตเครื่องสำอางแล้วการขายละจะทำอย่างไร

ดังนั้นก็ต้องมาเรียนรู้เรื่องการ เป็นผู้ประกอบการต่ออีก นี่คือเหตุผลที่ว่าปัจจุบันองค์ความรู้ด้านเดียวนั้นไม่เพียงพอ แต่ถ้าหากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทำงานในบริษัทเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่หาเพราะทำอย่างเดียวส่วนสินค้านั้นบริษัทเป็นผู้จัดจำหน่ายให้

"เป็นนักวิทยาศาสตร์ต้องรู้ว่าต้องทำครีมต้องทำให้ดีอย่างไร แต่ของดีไม่ใช่ว่าจะขายได้เสมอไป ยังต้องเรียนรู้ว่าจะขายของดีๆ เหล่านั้นออกไปได้อย่างไร  โลกวันนี้เขาไม่เรียนองค์ความรู้เดี่ยว (Single Discipline) องค์ความรู้ปัจจุบันมันจะต้องเป็นลักษณะขององค์ความรู้แบบผสาน (Transdiscipline) คือต้องการทำอะไรอย่างหนึ่งแต่มีองค์ความรู้ๆ หลายๆ มุม ผสานกัน เพื่อให้งานนั้นออกมาได้อย่างสมบูรณ์"

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุริม โอทกานนท์ รักษาการรองคณบดีงานสนับสนุนการศึกษาและวิชาการ วิทยาลัย การจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)

อย่างหลักสูตรที่เกิดทางวิทยาลัยพัฒนานั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่นหลักสูตรผสมผสานแบบพื้นฐานที่เราทำกันก็คือหลักสูตร 4 + 1 Accelerated Degree คือปกติแล้วคนเรียน ปริญญาตรี 4 ปี แล้วมาเรียนต่อป.โทอีก 2 ปี กว่าจะจบ ตอนนี้เราตัดออกเหลือเป็น 4 + 1 ก็เรียนจบ นั่นคือเรียนปริญญาตรี 4 ปี แล้วต่อโทอีก 1 ปีจบ

“อย่างลักษณะอย่างที่ผมพูดถึงหลักสูตรเร่งรัด (Accelerated Degree) เช่นวิทยาศาสตร์และการเป็นผู้ประกอบการ การออกแบบหลักสูตรนี้คือขณะที่นักศึกษาเรียนปี 3 ของคณะวิทยาศาสตร์ ก็สามารถสมัครเข้าเรียนปริญญาโทได้เลย แต่เราวิทยาลัยก็ยังยังไม่ได้รับเขานะครับ แต่พอเขาจบปี 3 เราก็ให้ไปเรียนปริญญาโทร่วมด้วยเหมือนการทดลองเรียนปริญญา โท เมื่อปี 4 ถ้าเขาจบปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ยังอยากเรียนด้านผู้ประกอบการให้จบ เราก็รับเขาและโอนเขาเข้าเป็นนักศึกษาปริญญาโทเลย และเรียนต่ออีกปีเดียวก็จบรับปริญญาโท” 

ในขณะที่หลักสูตร อีกแบบคือหลักสูตรเรียนร่วม (Combined Degree) มีหลักการในการหลอมรวมองค์ความรู้ของศาสตร์ต่างๆ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน อย่างเช่นตอนนี้ร่วมมือกับโรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดปริญญาตรีร่วมปริญญาโท คือเป็นหลักสูตรให้นักศึกษาแพทย์ที่ต้องเรียน 6 ปีนั้น ในระหว่างที่เรียนก็เรียนควบปริญญาโทไปด้วย แต่ตอนจบต้องจบด้วยกันจึงจะได้ปริญญา ทำหลักสูตรแบบนี้ได้

ต่อไปเราจะมีผู้อำนวยการทางการแพทย์ที่ มีความรู้ด้านการจัดการ ไม่ใช่บังคับคุณหมอที่เก่งในด้านการรักษาคน แล้วผลักดันให้ไปเป็นผู้อำนวยการ โดยท่านอาจจะขาดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ดังนั้นพอคุณหมอไปเป็นผู้บริหาร คุณหมอก็ต้องไปหาทางเรียนรู้เอาเอง ผิดบ้างถูกบ้างทำให้บางครับก็อาจจะไม่ชอบงานด้านการบริหารไปเลย 

ตอนนี้หลักสูตรทั้งสองลักษณะนี้เริ่มขยายและกระจายตัวมากขึ้น ตอนนี้ไม่ใช่แค่คณะแพทย์อย่างเดียว แต่ที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตอนนี้มีการเปิดหลักสูตรลักษณะนี้ (Accelerated Degree และ Combined Degree) ไม่เพียงแค่ทำกับคณะอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น ทำข้ามมหาวิทยาลัยด้วย โดยเปิดหลักสูตรแบบนี้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือด้วย

"เราคิดว่า การศึกษามันไม่ได้ขึ้นอยู่ว่ามหาวิทยาลัยไหนทำอะไรได้ดี แต่มันขึ้นอยู่กับว่ามหาวิทยาลัยสามารถทำให้คนเรียนรู้แล้วแข่งขันกับคนในประเทศอื่นๆ ได้ไหม ดีกว่ามานั่งแข่งกันเองในประเทศว่าใครเบอร์หนึ่งเบอร์สองมันไม่จำเป็น ที่จริงมันต้องเอาทุกเบอร์มารวมกัน เอาจุดแข็งมาร่วมผสานกันช่วยกันเพื่อให้ ประเทศอยู่รอดได้

 

วิเคราะห์ความต้องการการเรียนการสอนในยุคใหม่

ในส่วนของนักศึกษา นักศึกษาเองบางส่วนก็ชอบการเรียนออนไลน์เพราะตอบโจทย์การเรียนรู้ที่เขาชอบ แต่การสอน การสอนออนไลน์นั้นต้องออกแบบ ไม่ใช่การยกคลาสเรียน ปกติมาขึ้นไว้บนระบบออนไลน์ เนื้อหาที่จะสอน เวลาที่สอน ลักษณะที่จะสอน มันมีความแตกต่างกัน เราต้องพัฒนาอีกหลายอย่าง ในขณะเดียวกันผู้สอนเองก็ต้องมีองค์ความรู้ มีวิธีการที่จะทำให้การเรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องไปดูไปเรียนรู้ว่าคนอื่นเขาทำกันอย่างไร

"หลายมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ให้อาจารย์ไปทำเองเขามีทีมช่วยเหลือในการทำ มีทีมช่วยมาช่วยว่าจะทำอย่างไร มุม กล้องต้องเป็นอย่างไร อาจารย์อยากได้แบบไหน และเครื่องไม้เครื่องมือที่จะใช้"

 

มองอย่างไรกับอนาคตของการศึกษาไทย

ตอนนี้หลายคนรอให้โควิดคลายตัวแล้วจะดึงคนกลับเข้าไปที่คลาสเรียน ยิ่งคนที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเคยทำแบบไหนก็ จะทำแบบนั้น แม้กระทั่งอาจารย์ ถ้าให้ผมมอง ผมคิดว่าถ้าสถานการณ์โรคโควิดดีขึ้นก็จะมีบางคลาสที่จะกลับไปเรียนในห้องเรียนได้แต่รับรับรองไม่ใช่ทั้งหมดแน่

เพราะบางอย่างกำลังเปลี่ยนไป อาจารย์บางท่านตอนนี้ปรับตัวได้กับการสอนออนไลน์ และรู้สึกสนุกกับการแบบนี้ ผมว่าถ้าเขามีความสุขเขาคงไม่กลับไปสอนในคลาสเรียนแล้ว

"เดี๋ยวนี้รูปแบบการหาความรู้มันเปลี่ยนไปแล้ว แนวคิดของผู้เรียนหลายๆคน คือเรียนโดยมีค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องจ่ายเงินมาก ดังนั้นเรียนผ่านการค้นคว้าหาข้อมูลออนไลน์ก็ได้ เพราะเข้าออนไลน์แจจะถูกกว่า การเรียนบนกระดาษ เป็นกระดาษต้องเสียเงินซื้อ และบางเรื่องก็ไม่ทันสมัย แต่การเรียนออนไลน์เดี๋ยวนี้ หลายวิชาจะทำในรูปแบบของการอัดเทป แบบนี้นักศึกษาสามารถกลับไปดูได้ว่าอาจารย์สอนอะไร เปรียบเทียบกกับการนั่งเรียนในห้องเรียนที่เรียนจบแล้วจบเลย ไม่มีการอัดวิดีโอ เด็กหลายก็คนมองว่าการเรียนออนไลน์แบบนี้ก็เป็นสิ่งที่ดีมากกว่าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ไม่ต้องมาโรงเรียน วิธีการสอบ ก็สอบแบบออนไลน์ก็ได้ รูปแบบเปลี่ยนไปแน่นอนใครปรับตัวได้เร็วกว่า ก็จะทำให้รูปแบบการทำงานทำงานได้เร็วกว่าคนอื่น"

ข้อเสนอ

ผมคิดว่ารัฐบาลต้องตามเรื่องการศึกษาให้ทัน ต้องส่งเสริมการเรียนออนไลน์ แก้ไข ปรับปรุง กฎหมาย กฎระเบียบ เพราะต่อไประบบการศึกษาน่าจะเป็นรูปแบบแบบ กศน. หรือการสอบเทียบมากขึ้น คือลงทะเบียนเรียนได้เอง รับผิดชอบตัวเองแล้วมาสอบ อันนี้อาจจะได้รับความนิยมมากขึ้น

การเรียนในระบบอาจจะลดความจำเป็นลง เพราะความรู้ อยู่ในมือถือ บนโลกอินเทอร์เน็ต โลกมันเปลี่ยนไป เช่นสมัยก่อนไม่มีหนังสือจะดูจากที่ไหนเพราะมันไม่มีสื่อมากมายอะไรให้ได้เรียนรู้ แต่ทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องมีหนังสือ แค่เข้าอินเทอร์เน็ตก็รู้ได้หมด รู้ได้เร็วด้วย ทันสมัยด้วย ทุกวันนี้ห้องสมุดออนไลน์ไปหมดแล้ว ปัจจุบันการศึกษาเปลี่ยนไปเยอะมาก ผู้เรียนก็เปลี่ยน โดยเปลี่ยนจากการถูกบังคับเรียน

เดี๋ยวนี้ก็สามารถเลือกเรียนได้ (Existentialism) ผู้สอนก็เปลี่ยน ผู้สอนต้องเรียนรู้ว่ามีวิธีการสอนแบบไหนที่ดึงดูด ผู้เรียนบนหน้าจออยากเรียนได้มากขึ้น ไม่ใช่ว่าฉันอยากสอนอะไรก็สอนโดยไม่สนผู้ฟัง

และถ้าหากเป็นอย่างนั้น ในอนาคตผู้เรียนก็ไม่จำเป็นต้องเรียนที่เมืองไทยอย่างเดียว สามารถเลือกเรียนเมืองนอกก็ได้หากเรียนผ่าน ออนไลน์ได้แล้วได้ผลดี

แต่ตอนเงื่อนไขของ สำนักงานข้าการพลเรือน หรือ กพ. ยังไม่รับรอง เพราะหากเรียนมหาวิทยาลัยต่างประเทศผู้เรียนต้องเอาตัวเองไปที่ประเทศนั้นๆ เป็นระยะเวลาหนึ่งจึงจะยอมรับได้ ผมว่าระบบพวกนี้เป็นระบบที่ไม่ทันหมด ไม่ทันกับยุคใหม่ของการศึกษาและการทำงานที่เปลี่ยนไป  ซึ่งภาครัฐจะต้องแก้ไขในสิ่งเหล่านี้อย่างรวดเร็ว

 

อีกปัญหาหนึ่งคือ คนที่เข้าถึงเทคโนโลยีได้ต่ำก็จะมีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ทันที ยิ่งคนชนบทไกลๆ รายได้น้อย ยิ่งลำบาก เพราะการใช้อินเทอร์เน็ตมีค่าใช้จ่าย ไม่ใช่มีแค่อินเตอร์เน็ตแล้วพอยัง ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีกล้องมีไมค์ อีก ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายซึ่งอาจจะรับไม่ไหว

นอกจากรัฐบาลจะมีมาตรการบางอย่างที่ช่วยสนับสนุน แต่ตอนนี้รัฐบาลก็ตามความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ตามไม่ทัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้การศึกษาในอนาคต คนมีโอกาส คนด้อยโอกาส และคนไร้โอกาส จะยิ่งทิ้งห่างกันไปใหญ่ โดยเฉพาะระหว่างคนที่มีเงินกับคนไม่มีเงิน คนไม่มีเงินเข้าไม่ถึง การศึกษาหรือเข้าได้ไม่ลึก ในขณะคนมีเงินเข้าถึงได้ทั่วโลก

ไม่ว่าจะเป็นการแสวงหาถึงสื่อแบบนี้มันยากกว่าคนมีเงิน คนมีเงินมันเข้าถึงได้เลย เฉพาะฉะนั้นมันจะเกิดความถี่ ห่างของสังคมมากขึ้นคนถูกทิ้งก็จะถูกทิ้งได้มากและเร็วขึ้น"

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโท-เอก รายละเอียดเพิ่มเติม www.cm.mahidol.ac.th/cmmu

สอบถามข้อมูลได้ที่ โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเพจเฟซบุ๊ก CMMU Mahidol (https://www.facebook.com/CMMUMAHIDOL)