เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2567 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 317/2567 เรื่องแต่งตั้งคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี เพื่อทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา และพิจารณาเสนอความเห็นข้อเสนอแนะตามที่นายกฯ มอบหมาย
โดยมีองค์ประกอบหน้าที่ และอำนาจ ดังต่อไปนี้
1.นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษา
2.นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานที่ปรึกษา
3.นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษา
4.นายธงทอง จันทรางศุ ที่ปรึกษา
5.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ที่ปรึกษา
และให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายบริหารเป็นเลขานุการคณะที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้คณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ และอำนาจ ดังนี้
1. วิเคราะห์ และศึกษาโอกาสในการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาเสนอแนะแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านนโยบายของรัฐบาล
2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ของคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกฯ ได้ตามความจำเป็น และเหมาะสม
3. ให้ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความคิดเห็นส่งเอกสารให้ข้อมูลหรือดำเนินการอื่นที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี
4. ปฏิบัติงานอื่นตามที่นายกฯ มอบหมาย
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ตามที่ได้รับร้องขอ และให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาจำนวน 5 คน ครั้งนี้ของน.ส.แพทองธาร ในแวดวงการเมืองมองว่าเป็นการฟื้นคณะที่ปรึกษา บ้านพิษณุโลก กลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะการตั้ง เป็นประธานที่ปรึกษา เพราะเคยเป็นหัวหน้าทีมที่ปรึกษาที่รู้จักกันในชื่อ "ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก" สมัยรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ โดยดำรงตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ระหว่างปี พ.ศ. 2531–2534 ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มีชื่อเสียงหลายคน
ประวัติสำคัญของคณะที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก
การแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาชุดนี้จึงถูกจับตามองว่าจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศ