ชำแหละงบเลือก สว. 227 ล้าน วัดดวงศาลรัฐธรรมนูญ โมฆะ-ไม่โมฆะ

16 มิ.ย. 2567 | 21:20 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มิ.ย. 2567 | 21:37 น.

เปิดไส้ในงบเลือก สว.200 คน ครม.เท งบกลาง สำรองจ่ายจำเป็น-ฉุกเฉิน 227 ล้านบาท วัดดวง ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย โมฆะ-ไม่โมฆะ 18 มิ.ย.นี้

การเลือก สว.200 คน ทั้งระดับอำเภอ-ระดับจังหวัด จบลงไปแบบทุลักทุเล เต็มไปด้วยข้อกังขา และต้องไปลุ้นโกงความตายจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินออกมาแนวทางใด ก่อนถึงสนามสุดดท้ายการเลือก สว.ระดับประเทศในวันที่ 26 มิถุนายน 2567  

วันที่ 18 มิถุนายน 2567 ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงด้วยวาจา-ปรึกษาหารือและลงมติ ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. 4 มาตรา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่ 

สำหรับรายจ่ายที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ใช้ในการเลือก สว. คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) จำนวน 227.105 ล้านบาท ดังนี้ 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่ง สว. ดำเนินการโดย กกต. วงเงิน 100,949,700 บาท ประกอบด้วย 

  • ภารกิจการดำเนินการให้ได้มาซึ่ง สว. จำนวน 50,404,700 บาท
  • ภารกิจส่งเสริมการมีส่วนร่วม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ จำนวน 34,260,000 บาท 
  • ภารกิจในการสอดส่อง สืบสวนสอบสวน วินิจฉัยชี้ขาดและดำเนินคดีในศาล และคุ้มครองพยาน จำนวน 15,909,000 บาท 
  • ภารกิจตรวจติดตาม นิเทศ ประเมินผลในการดำเนินการให้ได้มาซึ่ง สว. จำนวน 126,000 บาท 
  • ภารกิจสนับสนุนการดำเนินการให้ได้มาซึ่ง สว.ส่วนกลาง จำนวน 250,000 บาท 

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้ได้มาซึ่ง สว.ดำเนินการโดยหน่วยงานสนับสนุนวงเงิน 126,155,800 บาท ประกอบด้วย

  • สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง วงเงิน 39,135,000 บาท
  • กองการสื่อสาร กรมการปกครอง วงเงิน 912,720 บาท
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วงเงิน 34,397,380 บาท
  • กรุงเทพมหานคร วงเงิน 17,353,200 บาท 
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วงเงิน 28,900,000 บาท 
  • การไฟฟ้านครหลวง วงเงิน 5,457,500 บาท 

เลวร้ายที่สุด หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือก สว.ระดับอำเภอและระดับจังหวัดเป็น “โมฆะ” งบประมาณ-เงินภาษีประชาชนที่ต้องจ่ายไป โดยไม่มีส่วนร่วม ใครต้องรับผิดชอบ