เช็คผล"นิด้าโพล" คนสงขลาเลือกพรรคไหน-สนับสนุนใครเป็นนายกฯ

05 มี.ค. 2566 | 09:42 น.
อัปเดตล่าสุด :05 มี.ค. 2566 | 09:50 น.

"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจคนสงขลา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นำอันดับ 1 คนสงขลาสนับสนุนเป็นนายกฯ 26% ตามด้วย แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร 18.46 % และพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 11.36% ส่วนพรรคการเมืองที่มีแนวโน้มเลือกเป็น ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อ ประชาธิปัตย์ นำอันดับ 1

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "คนสงขลาเลือกพรรคไหน" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 17-23 กุมภาพันธ์ 2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นำเป็นอันดับ 1 คนสงขลาสนับเป็นนายกฯ ส่วนพรรคการเมืองที่มีแนวโน้มเลือกเป็นส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ นำอันดับ 1

เช็คผล\"นิด้าโพล\" คนสงขลาเลือกพรรคไหน-สนับสนุนใครเป็นนายกฯ

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนสงขลาจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 26.00 ระบุว่าเป็นพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) เพราะ ซื่อสัตย์สุจริต มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบและต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 2 ร้อยละ 18.46 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะเป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคเพื่อไทยสามารถแก้ไขปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรได้ ขณะที่บางส่วนระบุว่าชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร

อันดับ 3 ร้อยละ 11.36 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ชื่นชอบนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล

อันดับ 4 ร้อยละ 10.36 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

อันดับ 5 ร้อยละ 7.18 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะเป็นคนมีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และชื่นชอบนโยบายของพรรคชาติพัฒนากล้า

อันดับ 6 ร้อยละ 6.73 ระบุว่าเป็นนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา ขณะที่บางส่วนระบุว่าเป็นคนใต้เหมือนกัน

อันดับ 7 ร้อยละ 4.64 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ มีผลงานชัดเจน มีประสบการณ์ด้านการบริหารประเทศ และชื่นชอบนโยบายพรรคภูมิใจไทย

อันดับ 8 ร้อยละ 4.18 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะเป็นคนพูดจริงทำจริง ตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงา

อันดับ 9 ร้อยละ 3.18 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ มีประสบการณ์ด้านการบริหารและชื่นชอบนโยบายของพรรคไทยสร้างไทย

อันดับ 10 ร้อยละ 1.91 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

อันดับ 11 ร้อยละ 1.27 ระบุว่าเป็นนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) เพราะ มีประสบการณ์ในการทำงาน และช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 12 ร้อยละ 1.09 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต และตรงไปตรงมา

และร้อยละ 3.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) และดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

สำหรับพรรคการเมืองที่คนสงขลามีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 23.46 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

อันดับ 2 ร้อยละ 19.00 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย

อันดับ 3 ร้อยละ 15.91 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ

อันดับ 4 ร้อยละ 13.45 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล

อันดับ 5 ร้อยละ 7.55 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย

อันดับ 6 ร้อยละ 4.73 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ

อันดับ 7 ร้อยละ 4.64 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

อันดับ 8 ร้อยละ 3.18 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ

อันดับ 9 ร้อยละ 2.45 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

อันดับ 10 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย

อันดับ 11 ร้อยละ 1.27 ระบุว่าเป็น พรรคกล้า

อันดับ 12 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคประชาชาติ

และร้อยละ 1.91 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคไทยภักดี พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจไทย และไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านพรรคการเมืองที่คนสงขลามีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 22.91 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

อันดับ 2 ร้อยละ 20.09 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย

อันดับ 3 ร้อยละ 17.18 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ

อันดับ 4 ร้อยละ 13.18 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล

อันดับ 5 ร้อยละ 7.09 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย

อันดับ 6 ร้อยละ 5.18 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

อันดับ 7 ร้อยละ 4.09 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ

อันดับ 8 ร้อยละ 3.00 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

อันดับ 9 ร้อยละ 2.46 ระบุว่าเป็นพรรคพลังประชารัฐ

อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย

อันดับ 11 ร้อยละ 1.09 ระบุว่าเป็น พรรคกล้า พรรคประชาชาติ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอื่น ๆ ได้แก่ พรรคไทยภักดี พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยศรีวิไลย์ และไม่ตอบ/ไม่สนใจ