อนุดิษฐ์ จี้ "นายกฯ-กสทช." แจง 6 ปมส่อทุจริต ประมูลวงโคจรดาวเทียม

28 ก.พ. 2566 | 15:00 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.พ. 2566 | 15:11 น.

นุดิษฐ์’ ปูด 6ข้อสงสัย ทุจริตประมูลวงโคจรดาวเทียม จี้ ‘ประยุทธ์-กสทช.’ แจงปมฮั้วประมูล-เอื้อนายทุน หรือไม่ ลั่นตามไม่ปล่อย เตรียมนำข้อมูลเชิงลึกมาแฉต่อ

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสำนักงานปราบโกง (สปก.) พรรคไทยสร้างไทย แถลงข่าวเบาะแสส่อทุจริตการประมูลวงโคจรดาวเทียม ที่ กสทช. ดำเนินการเมื่อเดือนมกราคม 2566 และมีบริษัทที่ชนะการประมูลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แม้การดำเนินการจะดูเหมือนว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ. กสทช. แต่เมื่อ สปก. ได้ตรวจสอบเชิงลึก กลับพบกับความไม่ชอบมาพากลหลายประการ ซึ่งอาจเป็นหลักฐานนำไปสู่การกระทำทุจริต ประพฤติผิดมิชอบ

 

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสำนักงานปราบโกง (สปก.) พรรคไทยสร้างไทย

 

น.อ.อนุดิษฐ์  กล่าวว่า สปก. ขอถามไปยัง “คณะกรรมการ กสทช.” ให้ตอบข้อสงสัย ดังต่อไปนี้

1.เหตุใด กสทช. จึงต้องออกประกาศหลักเกณฑ์ให้ใช้วิธีการประมูลวงโคจรดาวเทียมเป็นวิธีการเดียวและเปิดให้เอกชนเข้ามาประมูลวงโคจรดาวเทียมจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด?

ทั้งที่กฎหมายเปิดกว้างและไม่ได้บังคับให้ใช้เฉพาะวิธีการประมูล แต่สามารถใช้วิธีการอื่นที่อาจดีกว่าวิธีการประมูลก็ได้ เช่น วิธีการจัดสรรให้กับหน่วยงานของรัฐโดยตรง เป็นต้น เพราะกรณีการจัดสรรตำแหน่งวง

2.การประมูลดังกล่าวเป็นการเปิดกว้างให้บริษัทต่างๆเข้ามาแข่งขันราคากันอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่? เพราะบริษัทที่เข้าแข่งขันซึ่งมีเพียง 3 บริษัท และอาจแบ่งกันชนะการประมูลด้วย ซึ่งในวงการต่างรู้ดีว่าเป็นของใครบ้าง นำมาสู่ข้อสงสัยต่อมาว่าได้มีการเคาะราคากันอย่างจริงจังหรือไม่?

หรือเป็นเพียงแค่การจัดฉากให้เห็นว่ามีการประมูลตามหลักเกณฑ์เท่านั้น? เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น การประมูลวงโคจรดาวเทียมย่อมไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศ หรือการจัดการประมูลครั้งนี้อาจทำขึ้นเพื่อเอื้อเอกชนรายใดรายหนึ่งหรือไม่?  


3.บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศ และเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ แต่ไม่ได้เข้าแข่งขันในตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมที่บริษัทเอกชนเข้าประมูล ทั้งที่ตำแหน่งดั

ดังนั้นจึงอยากสอบถามไปยังผู้รับผิดชอบใน NT ว่า เมื่อบริษัทพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจดาวเทียม ทำไมจึงไม่เข้าแข่งขันในการประมูลวงโคจรที่ดีที่สุด แต่กลับไปประมูลวงโคจรอื่นเพื่อนำไปประกอบธุรกิจอะไร?

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสำนักงานปราบโกง (สปก.) พรรคไทยสร้างไทย

4.การกำหนดราคาขั้นต่ำที่ กสทช. ใช้เป็นมาตรฐานในการประมูลครั้งนี้ได้คำนึงถึงความมั่นคง และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างไรบ้าง และราคาขั้นต่ำที่อาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง มีความเหมาะสมและยุติธรรมหรือไม่อย่างไร?


5.เหตุใดคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานจึงไม่เคยเรียก กสทช. ไปชี้แจงแสดงเหตุผลเรื่องการบริหารจัดการวงโคจรดาวเทียมว่าควรใช้วิธีประมูลหรือใช้วิธีการจัดสรรให้กับหน่วยงานของรัฐแทน? หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เองมีประโยชน์ทับซ้อนกับการประมูลครั้งนี้หรือไม่?


6.มีการกล่าวอ้างว่า หากไม่รีบจัดให้มีการประมูลจะทำให้เสียสิทธิ์การจองตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม เพราะจองไม่ทันนั้น แต่ความเป็นจริง ถ้าจัดสรรให้กับหน่วยงานของรัฐเช่นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็สามารถจองตำแหน่งวงโคจรได้ทันทีเช่นกัน

น.อ.อนุดิษฐ์ กำชับว่า สำนักงานปราบโกง พรรคไทยสร้างไทย เรียกร้องให้ผู้รับผิดชอบตอบคำถามเหล่านี้ให้ชัดเจน เพื่อความโปร่งใส และเพื่อความสบายใจของพี่น้องคนไทยว่าทรัพยากรของชาติถูกบริหารจัดการเพื่อผลประโยชน์ของคนไทยทุกคน ไม่ใช่เพื่อใครคนใดคนหนึ่ง

แต่ถ้าไม่ตอบ หรือตอบไม่ตรงคำถาม หรือไม่มีเหตุผลชี้แจงที่เหมาะสม สปก.จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และจะนำข้อมูลเชิงลึกมาเปิดเผยให้คนไทยทั้งประเทศได้ทราบต่อไป