“สกลธี”ลุยหาเสียงผู้ว่าฯ กทม. ควงหมอจุฬาฯ แจงนโยบายสมาร์ต คลินิก

18 เม.ย. 2565 | 15:13 น.
อัปเดตล่าสุด :18 เม.ย. 2565 | 22:23 น.

“สกลธี"ลงพื้นที่ตลาดสดสี่แยกทศกัณฑ์ ย่านบางแค หาเสียงผู้ว่าฯ กทม. ก่อนลงชุมชนพบปะประชาชน พร้อมหมอจุฬาฯ เสนอ ติดกล้องวงจรปิดและเซ็นเซอร์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ให้ความช่วยเหลือทันท่วงที

วันที่ 18 เม.ย.65 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 3  ยังคงเดินหน้าหาเสียงในพื้นที่  กทม. โดยได้เดินทางไปพบปะประชาชนที่ตลาดสดสี่แยกทศกัณฑ์  จากนั้นร่วมรับฟังข้อเรียกร้องจากประชาชนที่ชุมชนศิริเกษมร่วมใจ เขตบางแค  

                               “สกลธี”ลุยหาเสียงผู้ว่าฯ กทม. ควงหมอจุฬาฯ แจงนโยบายสมาร์ต คลินิก
นายสกลธี กล่าวว่า วันนี้ ตนยังคงลงพื้นที่ตลาดเพราะเชื่อว่า เป็นจุดที่สามารถพบปะพูดคุยกับประชาชนอย่างใกล้ชิดและรับรู้ปัญหาได้โดยตรง ซึ่งวันนี้ได้พบกับ นายเริง (ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ก. เขตบางแค) โดยบังเอิญ และเดินทางพบปะพี่น้องประชาชนร่วมกัน ตนยินดีถ้าหากมีโอกาสได้ทำงานร่วมกันและในความเป็นจริงแล้วก็สามารถทำงานร่วมกับ ส.ก. จากทุกพรรคเพราะตน สมัครในนามอิสระไม่มีสังกัดดังนั้นจึง ไม่มีปัญหา สามารถทำงานร่วมกับทุกคนได้


จากนั้น นายสกลธีพร้อมกับ นพ.พัชร อ่องจริต หนึ่งในทีมงานด้านสาธารณสุข ได้ร่วมประชุม กับ ชาวชุมชนศิริเกษมรวมใจ 50 นำเสนอนโยบาย ด้านสาธารณสุข ตามนโยบาย สมาร์ต คลินิก ซึ่งหากตนได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. จะเพิ่มการดูแลอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการและกลุ่มเปราะบาง ให้สามารถเข้าถึงการบริการทางด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็วสะดวก

                        “สกลธี”ลุยหาเสียงผู้ว่าฯ กทม. ควงหมอจุฬาฯ แจงนโยบายสมาร์ต คลินิก   “สกลธี”ลุยหาเสียงผู้ว่าฯ กทม. ควงหมอจุฬาฯ แจงนโยบายสมาร์ต คลินิก

โดนไม่ต้องใช้เวลามากโดยเฉพาะการ นำเทคโนโลยี มาใช้ในการตรวจสุขภาพให้กับประชาชน หากไม่สามารถเดินทางออกนอกบ้านได้ รวมถึงการให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยสูงอายุให้มีความสามารถ ในการบริหารจัดการดูแลสุขภาพ ญาติพี่น้องอย่างถูกวิธี

 

ด้าน นพ.พัชร กล่าวว่า ในส่วนของนโยบายด้านสาธารณสุขคิดว่าสามารถทำให้เป็นระบบได้ โดยเฉพาะ นโยบายสมาร์ตคลินิก เช่น การดูแล ผู้สูงอายุที่อยู่ที่บ้านที่ ลูกหลานออกไปทำงาน ตามนโยบายของเราคือให้ ลูกหลานลงทะเบียนกับสาธารณสุขชุมชน ชุมชนและใช้เทคโนโลยีเข้าไปในการติดตามตรวจสอบ Monitor เช่น เพิ่มกล้องวงจร ปิด หรือติดเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ของผู้ป่วย โดยเจ้าหน้าที่สามารถ เปิดกล้องดูที่ศูนย์ ตรวจสอบตามเวลาว่าเกิดเหตุหรือมีอาการเจ็บป่วยเร่งด่วนอื่นได้หรือไม่ หากเกิดอาการเร่งด่วนก็สามารถส่งรถเข้าไปรับหรือดูแลได้ทันท่วงที 

                              “สกลธี”ลุยหาเสียงผู้ว่าฯ กทม. ควงหมอจุฬาฯ แจงนโยบายสมาร์ต คลินิก
ทั้งนี้ เชื่อว่าหากชุมชนเข้มแข็ง กทม.มีแนวทางการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ดี ตัวลูกหลานก็มีกำลังใจ ในการทำงานไม่ต้องมีห่วงกังวลซึ่งในการดำเนินการนี้ใช้ ค่าใช้จ่ายไม่มาก และคิดว่าสามารถทำได้อย่างแน่นอน