ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.- ส.ก.ร่วมประกาศเจตนารมณ์ไม่ทุจริตเลือกตั้ง

05 เม.ย. 2565 | 11:34 น.
อัปเดตล่าสุด :05 เม.ย. 2565 | 18:43 น.

ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. – ส.ก. ร่วมอบรมเลือกตั้งสมานฉันท์ ประกาศเจตนารมณ์ร่วมเลือกตั้งสุจริตเที่ยงธรรม ไม่ทำผิดกฎหมาย ไม่ใส่ร้ายป้ายสีกัน ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนทุจริตเลือกตั้ง ไม่ซื้อสิทธิขายเสียงทุกรูปแบบ

วันนี้ (5 เม.ย.65) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร (กกต.กทม.)  จัดโครงการเลือกตั้งสมานฉันท์ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) โดยเชิญผู้สมัครมาร่วมประชุมเพื่อรับฟังและทำความเข้าใจและชี้แจงข้อกฎหมาย  ระเบียบข้อควรปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง  การป้องกันการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง   

                                    ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.- ส.ก.ร่วมประกาศเจตนารมณ์ไม่ทุจริตเลือกตั้ง

และร่วมประกาศเจตจำนงสุจริตในการเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครยอมรับเรื่องรู้แพ้รู้ชนะรู้ภัย รู้รักสามัคคี เพื่อให้การหาเสียงเป็นไปอย่างสุจริตโปร่งใส ไม่ใส่ร้ายป้ายสีกันและกัน และลดการกระทำความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์  

มีผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. และผู้สมัคร ส.ก. สนใจเข้าร่วมจำนวนมาก เช่น  พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข  6 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 3 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 8  นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4   น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 7  นายโฆสิต  สุวินิจจิต  ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.หมายเลข 24 และ นายวรัญชัย โชคชนะ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 22 นายศราวุธ เบญจกุล ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 28

                 ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.- ส.ก.ร่วมประกาศเจตนารมณ์ไม่ทุจริตเลือกตั้ง    ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.- ส.ก.ร่วมประกาศเจตนารมณ์ไม่ทุจริตเลือกตั้ง

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธาน กกต. กล่าวเปิดโครงการเลือกตั้งเชิงสมานฉันท์ ว่า การเลือกตั้ง ส.ก. และผู้ว่าฯ กทม.ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งผู้ที่จะมาบริหารและติดตามตรวจสอบการบริหาร กทม. ซึ่งเป็นมหานคร องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ที่จะต้องมีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมในพื้นที่ที่มีปัจจัยทางสังคมที่แตกต่างและหลากหลาย  

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ทั้งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ผู้ดำเนินการหรือจัดการควบคุมการเลือกตั้ง ผู้สนับสนุนการเลือกตั้ง และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต่างมีพันธะร่วมกัน ที่จะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และชอบด้วยกฎหมาย  

 

ถือเป็นโอกาสดีที่ผู้สมัครทุกคนจะได้แสดงความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่จะปฏิบัติให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยการสุจริตโปร่งใสเที่ยงธรรม เต็มใจและสมัครใจในการประกาศเจตจำนงสุจริตในการเลือกตั้งร่วมกัน เพื่อสร้างความสมานฉันท์ถือเป็นการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดีงามให้สังคมปละประชาชนได้รับรู้รับทราบ
ประธาน กกต. กล่าวว่า สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้การจัดการเลือกตั้งเป็นไปอย่างสมานฉันท์ สุจริต และเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง คือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องรู้จักหน้าที่ และปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด 

                                         ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.- ส.ก.ร่วมประกาศเจตนารมณ์ไม่ทุจริตเลือกตั้ง
ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 50 ได้บัญญัติหน้าที่ของบุคคลไว้ โดยอนุมาตรา 3 บัญญัติว่า บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ซึ่งในบริบทนี้คือกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น  อนุมาตรา 6 บัญญัติว่าเคารพและไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่น และไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม 

 

อนุมาตรา 7 บัญญัติว่า ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ  และอนุมาตรา 10 บัญญัติว่า ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตในทุกรูปแบบ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ถือเป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทยในรัฐธรรมนูญ   หากทุกคนได้ปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าวแล้วเชื่อมั่นว่าจะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปด้วยความสุจริตเที่ยงธรรมและชอบด้วยกฎหมาย


ทั้งนี้กฎหมายเลือกตั้งฉบับปัจจุบันมีสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากกฎหมายฉบับก่อนๆ ทั้งคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้ง   วิธีการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบัน กกต.ได้จัดทำแอพพลิเคชั่น “Smart Vote” หรือ “ฉลาดเลือก” ซึ่งมีข้อมูลที่สำคัญทั้งกฎหมายท้องถิ่น คำถาม-ตอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งและพรรคการเมือง การตรวจสอบสิทธิต่างๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 

 
รวมทั้งช่องทางการแจ้งเบาะแสการทุจริตเลือกตั้งผ่านแอพพลิเคชั่น “ตาสับปะรด” แต่เมื่อถึงเวลาที่การหาเสียงเพิ่มความเข้มข้นขึ้น แนะนำให้โทรสายด่วน 1444   ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่กกต.ให้คำปรึกษาทันที เพื่ออำนวยความสะดวกให้การหาเสียงเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสมานฉันท์

                                   ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.- ส.ก.ร่วมประกาศเจตนารมณ์ไม่ทุจริตเลือกตั้ง
หลังจากนั้น นายอิทธิพร พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงาน กกต. ได้เป็นสักขีพยานในการประกาศเจตจำนงสุจริตในการเลือกตั้งร่วมกันของผู้สมัคร ส.ก. และผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. โดยมีรายละเอียดว่า 


ข้าพเจ้าจะพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   ข้าพเจ้าจะถือปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้ง และระเบียบที่เที่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ข้าพเจ้าจะแข่งขันเลือกตั้งตามกติกา รู้แพ้ รู้ขนะ รู้อภัย และรู้รักสามัคคี ข้าพเจ้าจะดำรงรักษาความเป็นมิตร เป็นเพื่อนบ้าน ความเป็นญาติ เป็นพี่เป็นน้องในท้องถิ่น ทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้ง 

 


ข้าพเจ้าจะไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตเลือกตั้ง และการซื้อสิทธิขายเสียงทุกรูปแบบ และขอให้คำมั่นสัญญาว่าจะแข่งขันเลือกตั้งในครั้งนี้ให้เป็นเยี่ยงอย่างที่ดีของประเทศ รวมทั้งจะเป็นองคาพยพที่สำคัญในการพัฒนาการปกครองระบอนประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มั่นคง ยั่งยืน สืบต่อไป