นายกฯ บอก โอเค! หลังเรียกอธิบดีกรมปศุสัตว์ แจง ปมโรคระบาด ASF

14 ม.ค. 2565 | 16:23 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ม.ค. 2565 | 23:31 น.

นายกฯ นายกฯ บอก โอเค!หลัง เรียก อธิบดีกรมปศุสัตว์ แจง ปมโรคระบาด ASF ขอเวลาบิ๊กตู่ 8-12 เดือน พลิกสถานการณ์ ชี้โรคระบาด ASFไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทย แต่เกิด 34 ประเทศทั่วโลก

วันที่ 14 มกราคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ปฏิเสธที่จะตอบข้อซักถามสื่อมวลชน หลังเรียก นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เข้าพบ เพื่อติดตามการแก้ปัญหาโรคระบาดในสุกร หลังจากที่ไทยมีการประกาศพบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ในประเทศ ทั้งนี้ เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ได้พูดคุยแล้วเป็นอย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า "ก็โอเค" 


ขณะที่นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์กิจจา อุไรรงค์ ภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวภายหลังเข้าพบพลเอกประยุทธ์ ในประเด็นการแก้ไขปัญหา อหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ส่งผลทำให้ราคาเนื้อสุกรภายในประเทศไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์


 

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์

โดยนายสัตวแพทย์สรวิศ เปิดเผยแพร่หลังที่แจ้งต่อนายกรัฐมนตรีว่า ได้เรียกมาถามว่ากรมปศุสัตว์ ขณะนี้ได้มีการแก้ไขปัญหาอย่างไรไปถึงไหน ซึ่งนายกรัฐมนตรีนั้นเข้าใจ ซึ่งต้องการให้เดินหน้าไปด้วยกัน โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้ ดำเนินการเรื่องของการควบคุมโรค เร็วที่สุด และมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และฟื้นฟูเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ว่าจะมีการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง

 

นอกจากนี้ในเรื่องของการพัฒนาวัคซีน ซึ่งเกิดมาร้อยกว่าปีแต่ยังไม่มีวัคซีน และแนวทางการสำรวจว่าสุกรที่สูญหายไปจากระบบ กว่าร้อยละ 50-60 เป็นจริงหรือไม่ ซึ่งได้ขอความร่วมมือจากทุกหน่วยงานเช่นกระทรวงมหาดไทย โทรหาปศุสัตว์อย่างเดียวมีคนน้อยคงทำงานไม่ได้ และทำให้ประชาชนผู้บริโภคเดือดร้อนน้อยที่สุด

ขณะที่การตรึงราคาสินค้าสุกร ต้องคุยกับกรมการค้าภายใน นายกรัฐมนตรีรับทราบมาโดยตลอด ว่ากรมปศุสัตว์ทำอะไรตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา

 

ส่วนกระแสข่าวที่บอกว่ากรมปศุสัตว์นั้นปกปิดการแพร่ระบาด นายสัตวแพทย์สรวิศ ชี้แจงว่า เรื่องนี้นายกรัฐมนตรีเข้าใจ เนื่องจากได้รายงานนายกรัฐมนตรีโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2561 ที่แพร่ระบาดในประเทศจีน และปี 2562 ทำอะไรไปบ้างยกระดับสู่การเป็นวาระแห่งชาติ หากเราปกปิด ไม่เช่นนั้นเราส่งออกไปต่างประเทศ 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งเวียดนามและกัมพูชาคงไม่ได้ เพราะจะต้องมีการตรวจโรค จึงเป็นคำตอบที่สำคัญ

 

ขณะที่การของบประมาณ 574 ล้านบาทเพื่อเยียวยา ฟื้นฟูเกษตรกรรายย่อย จากการลดความเสี่ยง เกิดโรคระบาด ตามหลักระบาดวิทยาของสัตวแพทย์ ที่จะต้องมีการประกาศการแพร่ระบาดและให้รัฐบาลเป็นผู้ชดเชยเยียวยา ซึ่งจะเป็นการชดเชย จะครอบคลุมเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยไม่ ไม่ครอบคลุมผู้ประกอบการรายใหญ่

 

ส่วนนายกรัฐมนตรีได้มีการขีดเส้นตายในการแก้ไขปัญหา หรือไม่ อธิบดีกรมปศุสัตว์ระบุว่าไม่ โดยนายกรัฐมนตรีขอให้ช่วยเหลือกัน กับเพื่อน เพราะต้องเข้าใจว่าโรคนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิด 34 ประเทศทั่วโลก แต่นายกรัฐมนตรีได้ถามตนว่าราคาสุกร ทั้งระบบจะแล้วเสร็จเมื่อใด ซึ่งตนก็มีการรายงานไปว่าจะใช้เวลา 8 - 12 เดือน

 

ขณะที่วานนี้ที่นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปว่า ไม่ทราบว่าหมูหายไปไหน อธิบดีกรมปศุสัตว์ชี้แจงว่า ปกติถ้ามีการแจ้งมากรมปศุสัตว์ก็จะมีการตรวจสอบ และเก็บตัวอย่าง ซึ่งนายกรัฐมนตรีข้อสั่งการให้สำรวจว่าสุกรนั้นมีอยู่เท่าไหร่

 

ส่วนฟาร์มแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐมออกมาระบุว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อ ASF และมีหมูล้มตาย มากว่า 2 ปีแล้วนั้น นายสัตวแพทย์กิจจา ระบุว่า ประเด็นสำคัญเมื่อประกาศโรคอย่างเป็นทางการแล้ว มาตรการที่จะต้องดำเนินการตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ เป็นเรื่องการฟื้นฟู อุตสาหกรรมเลี้ยงสุกรให้เข้มแข็งขึ้นเหมือนเดิม ส่วนความเสียหายเป็นอย่างไรนั้นต้องรอการประเมินอีกครั้งหนึ่ง พร้อมย้ำว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาคือจะต้องควบคุมการแพร่ระบาด โดยใช้หลักวิชาการเป็นหลักแต่ไม่ให้เดือดร้อนกับผู้เลี้ยงและผู้บริโภค เรื่องก่อนหน้านี้เป็นเรื่องก่อนหน้านี้เป็นเรื่องที่เราไม่ต้องพูดถึงแล้ว ส่วนราคาเนื้อหมูในปัจจุบันก็มีอยู่หลายปัจจัย

 

ส่วนประเด็นที่กลายเป็นว่าผู้บริโภคนั้นบริโภคหมูที่ติดเชื้อ มากว่า 2 ปีแล้วนั้น นายสัตวแพทย์กิจจาที่แจ้งว่า หากเป็นโรคนี้จริง ไม่มีการก่อโรคในคน และสัตว์ชนิดอื่น เนื้อหมูยังสามารถบริโภคได้ตามปกติ แต่ต้องเน้นสุขอนามัยที่ต้องกินสุก และไม่มีพิษภัยต่อคนยกเว้นสุกร ขออย่าตระหนกและตกใจ

 

โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ยังปฏิเสธ ระบุว่าไม่ทราบ ถึงกรณีที่มีการข่มขู่เกษตรกร พี่ออกมาเปิดเผยข้อมูลการแพร่ระบาดในพื้นที่

 

ส่วนอธิบดีนั้นถอดใจหรือไม่ นายสัตวแพทย์สรวิศย้ำว่า ตั้งแต่ทำงานมาเป็นอธิบดี ก็ผ่านโรคระบาดมาหลายครั้ง ก็สามารถควบคุมเรียบร้อยทั้งหมด เช่นโรคในม้า และ lumpy Skin ในวัว ส่วนโรคนี้เกิดมาร้อยปีแล้วยังไม่มีวัคซีน ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็เข้าใจและให้กำลังใจในการทำงานสำเร็จลุล่วง