นิด้าโพลเปิดความนิยมทางการเมือง ยังหาคนเหมาะสมเป็นนายกฯ ไม่ได้พุ่ง

26 ธ.ค. 2564 | 07:51 น.
อัปเดตล่าสุด :26 ธ.ค. 2564 | 19:50 น.

“นิด้าโพล”เปิดผลสำรวจความนิยมทางการเมืองครั้งที่ 4 พบยังหาคนที่เหมาะสมเป็นนายกฯ ไม่ได้พุ่ง ขณะที่ความนิยม “พล.อ.ประยุทธ์” ทรุดลงต่อเนื่อง ตามด้วย“พิธา-สุดารัตน์” และไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย นำอันดับ 1

วันที่ 26 ธันวาคม 2564 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 4/2564” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-21 ธันวาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,504 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง

 

โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

 

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า


อันดับ 1 ร้อยละ 36.54 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้


อันดับ 2 ร้อยละ 16.93 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเพราะ เป็นคนมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ บริหารงานดี นโยบายช่วยเหลือประชาชนได้จริง


อันดับ 3 ร้อยละ 10.74 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ไฟแรง มีแนวคิดและอุดมการณ์ในการพัฒนาประเทศ


อันดับ 4 ร้อยละ 10.55 ระบุว่าเป็น น.ส. แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ


อันดับ 5 ร้อยละ 5.51 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นคนเก่ง พูดจริง ทำจริง มีประสบการณ์ด้านการบริหาร

 

 

 

นิด้าโพลเปิดความนิยมทางการเมือง ยังหาคนเหมาะสมเป็นนายกฯ ไม่ได้พุ่ง

อันดับ 7 ร้อยละ 4.35 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ


อันดับ 8 ร้อยละ 2.36 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า) เพราะ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ในการทำงาน มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ


อันดับ 9 ร้อยละ 2.24 ระบุว่าเป็น นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนที่มีความสามารถหลากหลาย มีภาวะผู้นำ ชื่นชอบในนโยบาย ของพรรคเพื่อไทย

 

อันดับ 10 ร้อยละ 1.84 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์ บริหารงาน อย่างตรงไปตรงมา

 

ร้อยละ 4.11 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) น.ส. กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคเศรษฐกิจใหม่) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ)

 

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา) นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายชวน หลีกภัย และ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์

                                นิด้าโพลเปิดความนิยมทางการเมือง ยังหาคนเหมาะสมเป็นนายกฯ ไม่ได้พุ่ง

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/64 เดือนกันยายน 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และนายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคกล้า) มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
 

นิด้าโพลเปิดความนิยมทางการเมือง ยังหาคนเหมาะสมเป็นนายกฯ ไม่ได้พุ่ง

 

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า

 

อันดับ 1 ร้อยละ 37.14 ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย

 

อันดับ 2 ร้อยละ 23.52 ระบุว่า พรรคเพื่อไทย

 

อันดับ 3 ร้อยละ 13.18 ระบุว่า พรรคก้าวไกล

 

อันดับ 4 ร้อยละ 8.99 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐ

 

อันดับ 5 ร้อยละ 7.15 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์

 

อันดับ 6 ร้อยละ 2.43 ระบุว่า พรรคเสรีรวมไทย

 

อันดับ 7 ร้อยละ 1.60 ระบุว่า พรรคไทยสร้างไทย

 

อันดับ 8 ร้อยละ 1.56 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

 

อันดับ 9 ร้อยละ 1.32 ระบุว่า พรรคภูมิใจไทย

 

อันดับ 10 ร้อยละ 1.08 ระบุว่า พรรคกล้า

 

ร้อยละ 2.03 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคชาติพัฒนา พรรคประชาชาติ และพรรคเพื่อชาติ

 

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/64 เดือนกันยายน 2564 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พรรคก้าวไกล พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยสร้างไทย และพรรคกล้า มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น