เปิดวาระลับ ครม. "ไทยคม" ปิดฉากสัมปทานดาวเทียม 30 ปี

10 ก.ย. 2564 | 14:18 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ก.ย. 2564 | 21:47 น.
2.5 k

"ไทยคม" ปิดฉากสัมปทาน 30 ปี ฐานเศรษฐกิจ ชวนดูวาระลับ ครม. โดยมีลำดับเหตุการณ์การอนุมัติแก้ไขสัญญา ฉบับที่ 5 เเละ ลำดับเหตุการณ์การอนุมัติโครงการดาวเทียมไทยคม 4 ไอพีสตาร์

วันนี้ ( 10 ก.ย.) สัมปทานดาวเทียมไทยคม อายุ 30 ปีได้สิ้นสุดลง บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เมื่อปี2534 ต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนให้กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส โดยกระทรวงมอบหมายให้บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT รับมอบดาวเทียมไทยคม 4 และ 6 ไปบริหารต่อ

โดย NT ได้เจรจากับไทยคมให้เป็นผู้บริหารจัดการดาวเทียมไทยคม 4 และไทยคม 6 ต่อ ในรูปแบบของหุ้นส่วนหรือความร่วมมือทางธุรกิจ

“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบหนังสือราชการลับ “ด่วนที่สุด” เรื่องการรายงานผลการพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการตามสัญญากิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ลงวันที่ 2 กันยายน 2564 (8 วันก่อนสิ้นสุดสัมปทาน)

โดยในเอกสารดังกล่าว มีรายงานถึงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2534 และ 6 สิงหาคม 2534 ที่อนุมัติให้ บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น) และปัจจุบันคือ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ เป็นผู้ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี

ต่อมาได้มีการลงนามสัญญา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2534 กับกระทรวงคมนาคม (คค.) ซึ่งได้โอนงานมายังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) โดยสัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 10 กันายน 2564

ในเอกสารดังกล่าวมีรายงานถึงมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ได้รับทราบการดำเนินการหลังคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงดำแหน่งทางการเมือง กรณีการดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญาตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) เสนอ กรณีการลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ที่ต้องถือใน บมจ.ไทยคม จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยว่าร้อยละ 40

โดยเห็นควรให้ดำเนินการยกเลิกการแก้ไขสัญญาครั้งที่ 5 เพื่อให้คงสัดส่วนการถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ดังเดิม โดยให้ผู้รับสัมปทานจะต้องยังคงสภาพเป็นนิติบุคคลไทยตามที่กฎหมายกำหนด โดยให้ ทก.ดำเนินการโดยเร็วเพื่อให้ผู้รับสัมปทานปฎิบัติตามสัญญาฯ 

ในเอกสารยังมีรายละเอียดกรณีการอนุมัติดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) โดยมิชอบ เห็นควรให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของราชการ และรายงานผลความคืบหน้า

โดย ทก.ได้มีคำสั่งลงวันที่ 7 ธันวาคม 2555 แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินงานกรณีดาวเทียมไอพีสตาร์ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ

แต่พบว่าไม่มีการดำเนินการของคณะกรรมการดังกล่าวจนกระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556

ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2558 รับทราบการดำเนินการหลังคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ กรณีการดำเนินงานให้เป็นไปตามสัญญา

โดย ทก.ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามสัญญาดำเนินกิจการตามมาตรา 72 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางดำเนินงานกรณีการแก้ไขสัญญาฯ ครั้งที่ 5 และกรณีดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์)

ดศ.ได้รายงาน กรณีการอนุมัติแก้ไขสัญญา ฉบับที่ 5 สืบเนื่องจากในสัญญาข้อที่ 4 เรื่องการจัดตั้งบริษัทใหม่เข้าดำเนินงาน ซึ่งในรายละเอียด บริษัท (บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ ฯในขณะนั้น) จะต้องตั้งบริษัทขึ้นใหม่เพื่อดำเนินงานสัญญาฉบับนี้

โดยบริษัทจะต้องดำเนินการจัดตั้งบริษัทใหม่ให้เสร็จภายใน 12 เดือน นับจากวันที่เริ่มให้บริการดาวเทียมตามสัญญา และอยู่ใต้เงื่อนไขจนกว่าจะหมดสัญญา คือ บริษัทจัดตั้งขึ้นใหม่ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ต้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จัดตั้งใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และต้องดำเนินการให้บริษัทที่จัดตั้งใหม่รับผิดตามสัญญาฉบับนี้ต่อกระทรวงร่วมกันและแทนกันกับบริษัท

ลำดับเหตุการณ์การอนุมัติแก้ไขสัญญา ฉบับที่ 5

24 ธันวาคม 2546

  • บมจ.ชินแซทเทลไลท์ เสนอเรื่องต่อ ทก.เพื่อขออนุมัติการลดสัดส่วนการถือหุ้นให้ บมจ.ชินแซทเทลไลท์

25 กุมภาพันธ์ 2547

  • ทก.ส่งเรื่องให้สำนักอัยการสูงสุด (อส.) พิจารณากรณีลดสัดส่วนการถือหุ้นใน บมจ.ชินแซทเทลไลท์

3 มิถุนายน 2547

  • อส.แจ้งว่ากรณีเมื่อจะต้องพิจารณาแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงื่อนไชสัญญาข้อนี้ซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นส่วนหนึ่งแห่งที่มาของการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีก็ควรที่ ทก.จะได้นำเรื่องเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาก่อนลงนามสัญญา

17 มิถุนายน 2547

  • ทก.ส่งเรื่องการลดสัดส่วนการถือหุ้นตามสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา

20 สิงหาคม 2547

  • สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สลค.แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีประกอบกับคณะรัฐมนตรีมีนโยบายที่จะลดเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีจึงขอส่งเรื่องคืน

24 กันยายน 2547

  • ทก.ขอหารือ อส.เรื่องการลดสัดส่วนการถือหุ้นตามสัญญาว่าจะใช้ดุลยพินิจดำเนินการแก้ไขสัญญาได้หรือไม่ เพียงใด โดยไม่ต้องส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

13 ตุลาคม 2547

  • อส.แจ้งว่าเมื่อ สลค.เห็นว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาดังข้อเสนอแนะของออสอทอกอจึงมีดุลยพินิจที่จะแก้ไขสัญญาตามร่างที่ อส. ได้ตรวจแก้ไขไว้ได้

27 ตุลาคม 2547

  • ทก. บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่นและบมจ.ชินแซทเทลไลท์ ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับ 5 โดยให้ยกเลิกข้อความในสัญญาหลักข้อ 4.2 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน 4.2 บริษัทจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

26 กุมภาพันธ์ 2553

  • องค์คณะผู้พิพากษามีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากว่ากรณีการอนุมัติแก้ไขสัญญาครั้งที่ห้าโดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของบมาจอชินคอร์ปอเรชั่นในเบอร์บมาจอไทยคมจากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 เป็นการกระทำที่เอื้อประโยชน์ให้แก่บมาจอจีนกับชินคอร์ปอเรชั่นและบมาจอไทยคมผู้รับสัมปทานจากรัฐโดยไม่สมควร

 

ลำดับเหตุการณ์การอนุมัติโครงการดาวเทียมไทยคม 4 ไอพีสตาร์

รายละเอียดคุณสมบัติเฉพาะของดาวเทียม (Satellite Technical Specification) ทุกดวงที่บริษัทจะจัดสร้างและจัดส่งตามสัญญานี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงก่อนและอุปกรณ์ทั้งหมดของดาวเทียมจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ยอมรับแล้วก็สามารถปฏิบัติงานได้อย่างดีทั้งนี้คุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองตั้งแต่ดวงที่สองเป็นต้นไปจะต้องมีคุณสมบัติไม่ด้อยกว่าคุณสมบัติการใช้งานของดาวเทียมหลักและดาวเทียมสำรองชุดที่หนึ่งตามที่กำหนดในข้อเจ็ดแต่จำนวนวงจรดาวเทียมและชนิดของย่านความถี่ C-Band หรือ Ku-Band) ให้เป็นไปตามที่กระทรวงและบริษัทตกลงกัน

 

17 ธันวาคม 2536

  • จัดส่งดาวเทียมหลับคือดาวเทียมไทยคม 1

7 ตุลาคม 2537

  • จัดส่งดาวเทียมสำรองคือดาวเทียมไทยคม 2

16 เมษายน 2540

  • จัดส่งดาวเทียมหลักคือดาวเทียมไทยคม 3

26 กรกฎาคม 2545

  • คค.เป็นผู้ดูแลโครงการดาวเทียมในขณะนั้นได้อนุมัติให้มีการจัดสร้างดาวเทียมสำรองของดาวเทียมไทยคมสามที่จะจัดส่งสู่อวกาศคือ ดาวเทียมไทยคม 4 แต่เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องจัดส่งขึ้นสู่อวกาศนั้น บริษัทผู้รับสัมปทานก็คือ บมจ.ชินแซทเทลไลท์ได้ขอเลื่อนกำหนดหลายครั้ง

ต่อมาบริษัทผู้รับสัมปทาน บมจ.ชินแซทเทลไลท์ ได้ขอแก้ข้อกำหนดทางด้านเทคนิคโดยขอเปลี่ยนคุณสมบัติของดาวเทียมสำรองคือดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยมีหนังสือขอแก้ไขข้อกำหนดทางเทคนิคของดาวเทียมไทยคม 4

29 สิงหาคม 2545

  • รายงานการประชุมคณะกรรมการประสานงานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศที่แต่งตั้งขึ้นตามสัญญาสัมปทานครั้งที่ 1 / 2545 มีมติว่าดาวเทียมไทยคม 4 ไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมดวงใหม่ไม่ใช่ดาวเทียมสำรองเช่นเดียวกับความเห็นของกรมไปรษณีย์โทรเลข

10 กันยายน 2545

  • รายงานการประชุมคณะกรรมการประสานงานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศครั้งที่ 2 / 2545 มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายงานการประชุมครั้งที่ 1/ 2545 และอนุมัติให้ดาวเทียมไทยคม4 ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมสำรอง

24 กันยายน 2545

  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น คือนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อนุมัติให้ บมจ.ชินแซทเทลไลท์ ดำเนินการดังนี้ คุณสมบัติเฉพาะของดาวเทียมไทยคมไอพีสตาร์ ตามข้อกำหนดของสัญญาข้อ 6 และให้นำรายละเอียด

1.คุณสมบัติเฉพาะของดาวเทียมผนวกเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาหมายเลข 4 เพิ่มเติม

2.แผน  Back up ดาวเทียมไทยคม 3 ย่านความถี่ C-Band และ Ku – Band ตามข้อเสนอของ บมจ.ชินแซทเทลไลท์

3.แผนดำเนินงานของดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ซึ่งมีผลทำให้แก้ไขเอกสารแนบท้ายสัญญา 3 : แผนการดำเนินงานเฉพาะในส่วนของดาวเทียมไทยคม 4

4.ให้ บมจ.ชินแซทเทลไลท์ จัดสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม4 ขึ้นสู่ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก โดยมีช่วงความถี่ที่กำหนด

2 ตุลาคม 2545

  • โอนกิจการอวกาศรวมถึงกิจการเกี่ยวกับสัญญาในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคมมาเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

9 พฤษภาคม 2548

  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายสุวิทย์ คุณกิตติ อนุมัติให้ บมจ.ชินแซทเทลไลท์ใช้ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมไทยคม เพื่อใช้จัดตั้งดาวเทียมไทยคม 4

11 สิงหาคม 2548

  • ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ขึ้นส่งถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรตำแหน่งที่ 118.5 องศาตะวันออก

คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 องค์คณะผู้พิพากษามีมติคะแนนเสียงข้างมากว่ากรณีการอนุมัติโครงการดาวเทียมไทยคม4 ไอพีสตาร์ เป็นการกระทำโดยมิชอบเอื้อประโยชน์ให้บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่นและ บมจ.ไทยคม

มติคณะกรรมการกำหนดแนวทางมีสาระสำคัญคือ เห็นควรให้ ทก.ปัจจุบันคือ ดศ.ดำเนินการให้ดาวเทียมไทยคม 4 เป็นดาวเทียมตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ. 2556

เนื่องจากเป็นการใช้ตำแหน่งวงโคจรของรัฐและเห็นควรให้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา โดยกำหนดให้ดาวเทียมผนวกเข้ามาเป็นเข้ามาอยู่ในสัญญาเดิมด้วย

ซึ่งการแก้ไขสัญญาดังกล่าวจะต้องพิจารณากำหนดอัตราผลประโยชน์ตอบแทนใหม่ตามความเหมาะสมกับคุณลักษณะและการให้บริการของดาวเทียมไทยคม 4 ไอพีสตาร์ ที่มิใช่ดาวเทียมสำรอง เพื่อไม่ให้รัฐต้องเสียประโยชน์และประชาชนได้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง