ยื่นหนังสือจี้นายกฯเลิกคำสั่งปลด “ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” ออกจากราชการ

07 เม.ย. 2564 | 11:57 น.
อัปเดตล่าสุด :07 เม.ย. 2564 | 19:08 น.

กลุ่มชาวสองล้อและเครือข่ายการจัดการวิกฤติป่าและน้ำ (คปน.) ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ทบทวนและยกเลิกคำสั่งให้ “นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” ออกจากราชการ

วันที่ 7 เมษายน  2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี กลุ่มชาวสองล้อ จำนวน 20 คนรวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอความเป็นธรรมให้กับ นายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ชี้มูลความผิดให้ออกจากราชการ และร่วมกันทำกิจกรรมร่วมขี่มอเตอร์ไซค์แสดงพลัง SAVE หัวหน้า ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้พิทักษ์ป่าดีเด่น วีรบุรุษแก่งกระจาน

หนึ่งในแกนนำกล่าวว่า ต้องการแสดงจุดยืนเพื่อปกป้องข้าราชการที่ดีและทวงคืนความยุติธรรมให้กับนายชัยวัฒน์  พร้อมขอให้พิจารณาคำสั่งกระทรวงที่ให้นายชัยวัฒน์ออกจากราชการ  ซึ่งการเรียกร้องในครั้งนี้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ไม่ได้เป็นการบีบบังคับใคร และไม่ได้มาเพื่อสร้างความแตกแยกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 

ขณะเดียวกันเครือข่ายการจัดการวิกฤติป่าและน้ำ (คปน.) สมาคมอุทยานแห่งชาติ สาขาภาคเหนือ ได้ยื่นหนังสือเรื่องขอให้คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาทบทวนและยกเลิกคำสั่งให้นายชัยวัฒน์ ออกจากราชการ ซึ่งมีข้อเรียกร้อง 10 ข้อ 

โดยสรุปว่า ทางเครือข่ายได้ปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย อาทิ ผู้พิพากษา อัยการ อดีตคณะกรรมการ ป.ป.ท. พร้อมทั้งได้ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ จึงได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนและชะลอคำสั่งออกไปก่อน แต่คาดว่าอาจจะไม่ได้รับการพิจารณา

ทางเครือข่ายฯ จึงจำเป็นต้องขอความกรุณาจากนายกรัฐมนตรี ได้ให้ความคุ้มครองนายชัยวัฒน์และพิจารณาให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดประชุมคณะกรรมการ อ.ก.พ. เพื่อทบทวนมติและขอให้ยกเลิกคำสั่งให้นายชัยวัฒน์ออกจากราชการไว้ก่อนโดยด่วน เพื่อพิจารณาตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อเท็จจริงเรื่องนี้อย่างเป็นธรรมและละเอียดรอบคอบ ด้วยเหตุผลและข้อสังเกต ดังนี้ 

ตามมาตรา 17 พรบ มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พศ 2551 ป.ป.ท. มีอำนาจในการชี้มูลความผิดเฉพาะในข้อหาทุจริตต่อหน้าที่หรือทุจริตต่อภาครัฐก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้นจึงอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ท. ที่จะชี้มูลความผิดนายชัยวัฒน์ เพราะกรณีนี้ไม่ได้มีความผิดฐานทุจริตแต่อย่างใด 

ในการชี้มูลของ ป.ป.ท. ที่กล่าวหานายชัยวัฒน์ มีความผิดร้ายแรงน่าจะเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การพิจารณาเอกสารข้อมูลและลงมติดังกล่าวน่าจะเป็นการกระทำด้วยอคติ นอกจากนี้ ป.ป.ท. ยังกล่าวอ้างคำพิพากษาศาลปกครอง สูงสุด อย่างคลาดเคลื่อน โดยอ้างว่าคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด วินิจฉัยว่า นายชัยวัฒน์ รื้อถอน เผาทำลาย สิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของผู้นายคออี้ มีมิ และพวกรวม 6 คน เป็นการใช้อำนาจมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พศ 2551 ใน มาตรา 40 41 และ 42 ตามที่ได้กล่าวอ้างแต่งอย่างใด  อีกทั้งมาตรา 43 ระบุว่าหากผูบังคับบัญชาของผู้ถูกกล่าวหาไม่ดำเนินการลงดทษทางวินัยตามมิต ปปท ก็ห้ ป.ป.ท. ทำเรื่องถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้มีความเห็นที่สมควร อีกด้วย มาตรา 43 จึงเป็นช่องทาวให้ อ.ก.พ. ไม่ต้องรีบดำเนินการออกคำสั่งภายใน 30 วัน ควรตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ในทางตรงกันข้ามสมควรยกย่อง ชื่นชม นายชัยวัฒน์ ในฐานะข้าราชการที่ทุ่มเทเสียสละปกป้องผืนป่า  โดยหากกระทรวง ฯ ยังคงยืนยันลงโทษนายชัยวัฒน์ เพียงเพราะอ้างว่าต้องทำตามมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ป.ป.ท. ก็อาจจะกลายเป็นผู้กระทำผิดตามมาตรา 157 

ที่สำคัญการลงโทษนายชัยวัฒน์นครั้งนี้ยังกระทบกระเทือนถึงขวัญและกำลังใจในหมู่ข้าราชการป่าไม้และผู้พิทักษ์ป่าทั่วประเทศซึ่งกำลังทำหน้าที่รักษาป่าอย่างเหน็ดเหนื่อย 

ทั้งนี้สังคมกำลังตั้งคำถามและมีข้อสงสัยว่า การให้นายชัยวัฒน์ออกจากราชการในตำแน่งผู้อำนวนการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 จังหวัดอุบลราชธานี แล้วให้ไปดำเนินการร้องทุกข์ ขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมทำเนียบรัฐบาล จึงไม่สามารถคาดได้ว่านายชัยวัฒน์จะต้องใช้เวลานายเท่าไหร่จึงจะได้รับการพิจารณากลับเข้ามารับราชการอีกครั้ง ทำให้ข้าราชการและประชาชนมีความเห็นว่าผู้บังคับบัญชาไม่ได้ปกป้องคุ้มครองช่วยเหลือนายชัยวัฒน์ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา

นอกจากนี้การที่ อ.ก.พ.ลงโทษนายชัยวัฒน์ให้ออกจากราชการโดยไม่มีการโต้แย้ง ด้วยอ้างถึง มาตรา 42 ซึ่งด้านหนึ่งเขียนไว้เพื่อเร่งรัดการปฎิบัติไม่ให้ต้นสังกัดเก็บเรื่องไว้ แต่อีกด้านหนึ่งก็มีลักษณะ เขียนเสือให้วัวกลัว ซึ่งจะทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเร่งรีบและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ที่ประสงค์และไม่หวังดีต่อทรัพยากรธรรมชาติใช้ช่องทางของกฎหมายมาทำร้ายข้าราชการที่ทำหน้าที่พิทักษ์ป่าได้สำเร็จ ผู้บุกรุกป่าเกิดความเหิมเกริมแต่ผู้พิทักษ์เกิดความหวาดหวั่นหากทำผิดอาจจะเกิดกรณีแบบนายชัยวัฒน์หรือไม่ 

อย่างไรก็ตามหากกระทรวงฯ ยังคงยืนยันให้นายชัยวัฒน์ออกจากราชการแล้วและแต่งตั้งผู้อื่นทำหน้าที่ในตำแหน่งของนายชัยวัฒน์การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ดังกล่าวอาจไม่เข้มแข็ง ก็จะทำให้ประชาชนสงสัยว่ามรวาระซ่อนเร้นหรือไม่
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

จี้นายกฯ เลิกคำสั่งปลด "ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร" ออกจากราชการ

ร้อง "บิ๊กตู่" ทบทวนคำสั่งปลด "ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร"

สกู๊ปพิเศษ “ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” กับการทวงคืนศักดิ์ศรีผู้พิทักษ์ป่า

สกู๊ปพิเศษ: “ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” กับเหรียญอีกด้านของคดีเผาบ้านกะเหรี่ยงบางกลอย