เปิดปฏิบัติการ “ง้างปากฉลามขาว” พบเครื่องชั่งตวงท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้มาตรฐาน

06 มี.ค. 2564 | 10:55 น.
อัปเดตล่าสุด :06 มี.ค. 2564 | 18:06 น.
2.4 k

เปิดปฏิบัติการ "ง้างปากฉลามขาว” พบความผิดปกติของเครื่องชั่งตวงท่าเรือแหลมฉบัง จำนวน 4 เครื่องไม่ได้มาตรฐาน นำมาสู่การดำเนินคดีแต่ไม่มีความคืบหน้า จึงทำหนังสือร้องเรียนต่อนายกฯ และ ผบ.ตร.

จากข้อมูลปี 2561-2562 (ตุลาคม 2561-กันยายน 2562) จำนวนตู้สินค้าเข้าปี 2562 ท่าเรือกรุงเทพ เรือเทียบท่า 3,791 เที่ยว สินค้าผ่านท่า 21.476 ล้านตัน ตู้สินค้าผ่านท่า 1.451 ล้าน ที.อี.ยู. ท่าเรือแหลมฉบัง เรือเทียบท่า 10,686 เที่ยว สินค้าผ่านท่า 90.156 ล้านตัน ตู้สินค้าผ่านท่า 8.110 ล้าน ที.อี.ยู. 

เมื่อดูจากจำนวนการนำเข้าสินค้าที่มีจำนวนตู้สินค้าและปริมาณสินค้าที่นำเข้ามีจำนวนค่อนข้างสูง ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะมีการกระทำใดๆ ที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมายข้อบังคับหรือเงื่อนไขใด ๆ ตามกฏหมาย เพื่อประโยชน์ชาติอย่างสูงสุด จึงให้มีการเข้าสืบค้นความจริง ที่สำคัญท่าเรือแห่งประเทศไทยมีหลายหน่วยงานใช้ท่าเรือเพื่อหาประโยชน์มหาศาล จึงเป็นไปได้ว่าจะมีการกระทำการทุจริตหรือกระทำการใดๆ ที่มีผลประโยชน์ในทางลับโดยให้หรือเอื้อ-ประโยชน์กับผู้ใดผู้หนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่เป็นการให้ประโยชน์ที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย 

นี่คือเหตุผลของ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ออกคำสั่งลับให้ดำเนินการตรวจสอบและสืบค้นข้อมูลการทำงานเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่การท่าเรือ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์เพื่อความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในยุคของ ดร.อธิรัฐ

จึงเป็นที่มาของ “ปฏิบัติการล้างท่าเรือให้ขาวสะอาด” โดยมีไทม์ไลน์การปฏิบัติการดังนี้ 

วันที่ 11 เมษายน 2563 เฝ้าสังเกตุการทำงานในทุกหน่วยงานของการท่าเรือและรายงาน ต่อ นายอธิรัฐ รายงานครั้งที่ 1 วันที่ 19 มิถุนายน 2563 พบความผิดที่สังเกตจาการทำงานของด่านชั่งน้ำหนัก โดยสลิปที่ออกจากระบบดิจิทัลไม่ใช่น้ำหนักที่ถูกต้อง มีการตั้งค่าการคำนวนน้ำหนัก โดยดูจากสลิปที่การชั่งน้ำหนักที่ใส่โรแกรมเป็นตัวเลขที่มีค่าเป็นจำนวนเต็ม ไม่มีส่วนต่างทางกายภาพแบบเครื่องชั่งทั่วไป

รายงานครั้งที่ 2 วันที่ 6 กรกฎาคม 2563 ทีมปฏิบัติการเฝ้าศึกษาระบบการทำงานของด่านเครื่องชั่ง พบว่ามีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการชั่งทุกคัน 30 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่ของการท่าเรือ 100 บาท 

รายงานและเข้าประชุมหารือครั้งที่ 3 วันที่ 1 สิงหาคม 2563 นายอธิรัฐ ออกคำสั่งให้ทีมปฏิบัติการลับเฉพาะกิจให้ดำเนินการหาข้อเท็จจริงในการใช้เครื่องชั่งของการท่าเรือว่าดำเนินการถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการจัดซื้อเพื่อประโยชน์ของการท่าเรือหรือไม่ 

จากนั้นทีมปฏิบัติการลับจึงลงปฏิบัติการครั้งที่ 1  เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2563 ที่ด่านเครื่องชั่งท่าเรือแหลมฉบัง เฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิดและทีมเจ้าหน้าที่ท่าเรือลงตรวจสอบการชั่งน้ำหนัก ไม่ได้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในเรื่องการชั่งน้ำหนัก 

เปิดปฏิบัติการ “ง้างปากฉลามขาว” พบเครื่องชั่งตวงท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้มาตรฐาน

เปิดปฏิบัติการ “ง้างปากฉลามขาว” พบเครื่องชั่งตวงท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้มาตรฐาน

ต่อมาเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2563 ได้ร่วมกับตำรวจ สภ.แหลมฉบัง และเจ้าหน้าที่ของท่าเรือแหลมฉบัง ผลการตรวจสอบมีการชั่งน้ำหนักโดยการกดปุ่มควบคุมน้ำหนักรถจากโปราแกรมที่ไม่ใช่น้ำหนักจริงของรถ ซึ่งทางกายภาพของรถจะไม่เท่ากันแม้เป็นรถยี่ห้อเดียวกัน เนื่องจากการบรรจุเชื้อเพลิงที่มีความต่างของถังที่ใช้บรรจุ หรือแก๊สที่ใช้เป็นเชื้อเพลิง น้ำหนักของตัวคนขับ หรือผู้เดินทางมากับรถ 

เมื่อได้หลักฐานซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีการกระทำผิดจริงจึงเกิด “ปฏิบัติการง้างปากฉลามขาว” ขึ้น โดยได้ร่วมกับกองชั่งตวงวัดกระทรวงพานิชย์ เข้าตรวจสอบตราชั่งที่ห้องปฏิบัติการควบคุมประตูเพื่อนำสินค้าออกเขตการท่าเรือ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 พบการกระทำผิดเรื่องการใช้เครื่องชั่งดังนี้

เครื่องชั่งที่ใช้สำหรับชั่งน้ำหนักรถผ่านออกจากท่าเรือของสินค้าที่นำเข้าและออกประเทศ มีเครื่องชั่งบางเครื่องไม่ได้รับการรับรองจากกองชั่งตวงวัด (ระบบ WIM) โดยกระทรวงพานิชย์ จึงมีความผิดตาม พรบ. ชั่งตวงวัด 

ท่าเรือแหลมฉบังมีการแก้ไขโปรแกรมซอฟแวร์ของเครื่องชั่งดิจิทัล การชั่งจึงไม่ใช่น้ำหนักที่เป็นจริงของสินค้าทุกๆ ตู้ที่นำออกจากท่าเรือ ซึ่งจะส่งผลให้การชำระภาษีมีความคลาดเคลื่อนและจากการตรวจสอบการชั่งน้ำหนักปรากฎถึงการจงใจให้น้ำหนักสูญหายและเกินมากถึง 3,000-5,000 กิโลกรัม โดยในแต่ละวันที่เรือเข้าเทียบท่าและมีสินค้าบรรจุภายในตู้คอนเทรนเนอร์มากถึง 6-7000 ตู้ต่อวัน เมื่อนำจำนวนผลต่างจากการชั่งน้ำหนักมาหาค่าแบบเฉลี่ยจะได้ตัวเลขเท่ากับ 28,000,000 กิโลกรัม หากคิดเพียงกิโลกรัมละ 100 บาท ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นโดยประมาณ 2,800,000,000 บาท / วัน 

ผลการเข้าตรวจสอบที่ด่านการชั่งสินค้าขาเข้า พบว่าเครื่องชั่งจำนวน 4 เครื่อง มีการแก้ไขโปรแกรมซอฟแวร์ เจ้าหน้าที่จึงได้การปิดการใช้เครื่องชั่ง 4 เครื่อง ชนิดสะพานที่ท่าเรือแหลมฉบัง 

หลังจากนั้นได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษ บริษัท สนธิ แอนด์ ซัน จำกัด และท่าเรือแหลมฉบัง ในข้อหาร่วมกันกระทำการใดๆ ที่ทำให้โปรแกรมที่ใช้กับเครื่องชั่งแสดงผลการชั่งผิดเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดตามมาตรา 26 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 75/1 มาตรา 76 (2) และเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงพานิชย์เรื่องข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องชั่งแบบแทนชั่งที่ติดตรึงซึ่งมีพิกัดกำลังตั้งแต่  30 เมตริกตันขึ้นไป และมีส่วนชั่งน้ำหนักเป็นระบบดิจิทัล (เครื่องชั่งรถยนต์) ตามข้อ 4 (3.4) รับโทษตามมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  

เปิดปฏิบัติการ “ง้างปากฉลามขาว” พบเครื่องชั่งตวงท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้มาตรฐาน

เปิดปฏิบัติการ “ง้างปากฉลามขาว” พบเครื่องชั่งตวงท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้มาตรฐาน

จากข้อมูลพบว่าตั้งแต่มีการแจ้งความดำเนินคดีในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 และเกิดเหตุโควิ-19 ระบาดในรอบสอง จึงอาจจะทำให้คดีมีความล่าช้า หากนับจากวันที่แจ้งความถึงปัจจุบันนี้รวม 73 วัน ยังไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ แก่ผู้กระทำผิด 

ที่สำคัญยังมีการใช้เครื่องชั่งสนับสนุนให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามปกติทุกวัน เป็นการผิดต่อข้อกำหนดในสัญญา IMO (International Maritime Organization) มาตรฐานการขนส่งสินค้าทางทะเล ทำให้ต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในระบบการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพราะน้ำหนักคือหัวใจของการขนส่งทางเรือ หากเกิดความผิดพลาดใน การชั่งจะส่งผลให้การคำนวณการบรรทุกสินค้าคลาดเคลื่อนและผิดพลาด เกิดผลเสียหายต่อการขนส่งและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ซึ่งเคยมีเหตุเรือขนส่งสินค้าจมกลางทะเลเนื่องจากความผิดพลาดของน้ำหนักที่บรรทุกขึ้น เรือ และการจัดเก็บภาษีที่ต้องใช้น้ำหนักในการประเมินหรือคำนวนภาษีนั้น จะทราบได้อย่างไรว่าการจัดเก็บภาษีถูกต้องหรือไม่ 

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564  นายชลกร โนรี สมาชิกกลุ่มสภาประชาชนแห่งประเทศไทย จึงทำหนังสือร้องเรียนเพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบองค์กรแห่งรัฐ ฯ ต่อ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพลตำรวจเอกสุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อ้างถึงคดีการจับกุมเครื่องชั่งที่ไม่ได้มาตรฐาน คดีอาญาเลขที่ 1380/63 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2563 สถานีตำรวจอำเภอแหลมฉบัง 

นายชลกร ระบุว่า ด้วยความกังวลของในการปฏิบัติการครั้งนี้ มีความลำบากในการทำงานที่ต้องไปเผชิญกับอิทธิพลในรูปแบบต่างๆ จึงขอความอนุเคราะห์นายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติช่วยดำเนินการตามกฏหมายให้เกิดความถูกต้องและเป็นประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป

เปิดปฏิบัติการ “ง้างปากฉลามขาว” พบเครื่องชั่งตวงท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้มาตรฐาน

เปิดปฏิบัติการ “ง้างปากฉลามขาว” พบเครื่องชั่งตวงท่าเรือแหลมฉบังไม่ได้มาตรฐาน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :