มติด่วน มหาเถรสมาคม ห้าม “พระ-สามเณร” ยุ่งกิจกรรมการเมือง

11 พ.ย. 2563 | 14:47 น.
1.6 k

มหาเถรสมาคม มีมติด่วน 4 ข้อ ห้าม “พระ-สามเณร” ยุ่งกิจกรรมการเมือง ฝ่าฝืนคำสั่ง ให้เจ้าคณะปกครองดำเนินการทันที

11 พฤศจิกายน 2563 นายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า จากรณีมีภาพพระภิกษุ และสามเณร ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองจนมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมกันอย่างกว้างขวางนั้น  ที่ผ่านมาทาง พศ.และมหาเถรสมาคม (มส.) ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ส่งหนังสือไปยังเจ้าคณะผู้ปกครองแล้วประมาณ 2-3 ครั้ง ถึงการดูแลปกครองไม่ให้พระภิกษุสามเณรเข้าร่วมชุมนุม แต่ยังมีพระเณรเข้าร่วมการชุมนุมอยู่

 

ดังนั้น มส.จึงต้องออกเป็นมติเร่งด่วนที่ชัดเจน 4 ข้อ แจ้งไปยังวัดทั่วประเทศ ห้ามพระภิกษุ สามเณร ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง หากฝ่าฝืนคำสั่งหรือมติ มส.ให้เจ้าคณะปกครองดำเนินการทันที ประกอบด้วย

 

1.ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจ้งเจ้าคณะผู้ปกครองดำเนินการกับพระภิกษุสงฆ์ สามเณรที่เข้าข่ายและฝ่าฝืนคำสั่ง เรื่องห้ามพระภิกษุสามเณรเกี่ยวข้องกับการเมือง พ.ศ.2538

 

2.มีมติมอบถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ซึ่งเป็นประธานการรมการฝ่ายการปกครองสงฆ์ ให้วางแนวทางการป้องกัน การชุมนุมของพระภิกษุ สามเณร เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว

 

3.มีมติให้นำรายชื่อผู้ฝ่าฝืนของพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ส่งให้เจ้าคณะผู้ปกครอง เพื่อพิจารณาทางพระธรรมวินัยต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะติด สถานการณ์การชุมนุม ม็อบคณะราษฎร 11:11: 63

กกต.จัดชุดเคลื่อนที่เร็วจับทุจริต "เลือกตั้ง อบจ." 

ที่ประชุมพรรคปชป. โหวตไม่รับญัตติยื่นตีความศาลรธน.

กกต.เผย 3 จังหวัด "เพชรบุรี-กระบี่-อุทัยธานี" ไร้คู่แข่งชิงนายก อบจ.

 

4.ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจ้งประสานหน่วยงานที่มีหน้าที่ทางกฎหมาย ตรวจสอบสถานะพระที่เข้าร่วมชุมนุม ทุกรูป เพื่อป้องกันพระปลอมเข้าร่วมชุมนุมเพราะจะทำให้ศาสนา เกิดความเสียหาย

นายณรงค์ กล่าวอีกว่า ส่วนการเอาผิดกับพระภิกษุสามเณร ที่กระทำผิดทางพระธรรมวินัยจะต้องถึงขั้นให้ลาสิกขาหรือไม่ ให้อยู่กับการพิจารณของเจ้าคณะผู้ปกครอง ตั้งแต่ว่ากล่าวการตักเตือน และให้สึก เบื้องต้นจากภาพที่มีพระภิกษุ และสามเณรเข้าร่วมชุมนุมประมาณ 7 รูป พบรายชื่อเป็นพระจริง 1 รูป เณรจริง 1 รูป ส่วนที่เหลืออยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบ ว่าใช่พระจริงหรือไม่ โดยจะส่งหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หากพบเป็นพระปลอม ให้ดำเนินการตามกฏหมายอาญาต่อไป

"สำหรับกรณีพระภิกษุ ชูป้ายในระหว่างการชุมนุม ทวงคืนคิ้ว หรือเอาคิ้วคืนมานั้น พระสงฆ์ที่เข้ามาบวช ไม่ได้มีใครบังคับ เข้ามาด้วยความสมัครใจ และกฏบอกไว้ชัดเจนว่าต้องโกนคิ้ว หากยอมรับระเบียบไม่ได้ ก็แค่ลาสิกขาเพราะการบวชไม่ได้มีใครบังคับ มาบวชด้วยความสมัครใจ"นายณรงค์ กล่าว