“วิษณุ” แจงนายกรัฐมนตรีปัดใช้ ม.44 ปิดเหมืองทองอัครา

29 ส.ค. 2563 | 17:11 น.
5.6 k

สั่งให้หยุดดำเนินการชั่วคราว หลังมีร้องเรียนผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมสั่งให้เปิด พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ แต่บริษัทคิงส์เกตฯ กลับไม่ขออนุญาต

จากกรณีที่ฝ่ายการเมืองเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จายการต่อสู้คดีกับ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ บริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด โดยใช้อำนาจมาตรา 44 (ม.44) สั่งปิดเหมืองอัครา นั้น ต่อเรื่องนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ในวันนี้ (29 ส.ค.) ว่า รัฐบาลไม่ได้ใช้ ม.44 สั่งออกคำสั่งปิดเหมืองอัครา แต่อย่างใด แค่สั่งให้หยุดดำเนินการเหมืองไปก่อนเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมี พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ แล้วให้ทางเหมืองอัครา มาขออนุญาตดำเนินการเปิดเหมืองอัคราอีกครั้ง เนื่องจากมีหลายปัญหา เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ยังได้รับการร้องเรียนตั้งแต่สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีรวมถึงเรื่องการบุกรุกพื้นที่บางส่วน จึงให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ ทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงอุตสาหกรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“คดีเหมืองทองอัครา” ป.ป.ช.พบติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ
“กพร.” ยันไทยยังไม่แพ้คดี “เหมืองทองอัครา”
ศาลเพิกถอนคำสั่งก.ล.ต.คดีลงโทษ"ชยันต์ อัคราทิตย์"ชี้ไม่ชอบด้วยก.ม.
นายกฯ ยันใช้ม.44 ระงับเหมืองอัคราเพื่อประโยชน์สาธารณะ

นอกจากนี้ยังมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริต ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และต่อมาได้รับรายงานว่า ป.ป.ช.ของประเทศออสเตรเลีย ตรวจสอบพบการทุจริตในประเทศเขาด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบ แต่ระหว่างการให้หยุดดำเนินการบริษัทดังกล่าวมีการเลิกจ้างคนและปิดเหมืองของเขาเอง เมื่อ พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ออกมาเขาก็ไม่ได้เข้ามาขออนุญาตดำเนินการ แต่กลับนำประเด็นนี้ไปฟ้องร้องต่อศาลต่างประเทศ เหมือนคดีวอลเตอร์ บาว (ดคีดอนเมืองโทลล์เวย์) ที่มีการฟ้องร้องในศาลต่างประเทศ ก็ต้องไปจ้างทนายสู้คดีกันไป ที่มีการลือกันว่ารัฐบาลแพ้แล้วต้องจ่ายค่าเสียหายแล้วนั้น ตอนนี้ยังไม่มีใครแพ้ใครชนะทั้งสิ้น

ส่วนหากประเทศไทยชนะจะสามารถเรียกร้องให้บริษัท คิงส์เกต รับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้หรือไม่นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า เรื่องนี้แล้วแต่อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศจะให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

อนึ่งก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (กห.) ได้มีการชี้แจงถึงกรณีเหมืองอัครา  ซึ่งมีบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด รับผิดชอบ ว่า ขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการ  โดยยืนยันว่ามาตรา 44 เป็นการระงับใบอนุญาตชั่วคราวของรัฐที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชน  ซึ่งตนคิดว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลต้องคิดแบบนี้ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม มีเหตุมีผล ถ้ามีความเสียหาย