เปิดโฉม 30 กมธ.ยุติธรรม ยุค สนช. จุดเปลี่ยนคดี บอสกระทิงแดง

28 ก.ค. 2563 | 18:08 น.
9.7 k

เปิดโฉม 30 กมธ.ยุติธรรม ยุค สนช. ไขข้อกังขาเครื่องมือสอบพยานใหม่ จุดเปลี่ยนคดีบอสกระทิงแดง หลุดข้อหาชนตำรวจเสียชีวิต 

กรณีนายเชาว์ มีขวด ทนายความ  อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการที่สำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.) มีคำสั่งไม่ฟ้อง และให้ยุติการดำเนินคดีกับ นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ทายาทกระทิงแดง โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ไม่ได้มีการคัดค้าน พร้อมกับถอดหมายจับในทุกคดี โดยนายเชาว์ ตั้งข้อสังเกตว่า จุดเปลี่ยนเรื่องนี้ เพราะมีกรรมาธิการยุติธรรมยุค สนช. เป็นเครื่องมือรื้อคดีนี้สอบใหม่ ก่อนสรุปว่ามีพยานหลักฐานใหม่ ว่านายวรยุทธไม่มีความผิด ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดทบทวนคำสั่งฟ้องนายวรยุทธ
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พลิกปูม “เนตร นาคสุข” รองอสส.คนสั่งไม่ฟ้องคดี“บอส อยู่วิทยา”

นายกฯไม่ตอบปม.อสส.ไม่ฟ้อง "บอส อยู่วิทยา" ชี้เป็นวันมงคล 

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาจับพิรุธรถยนต์ชนจยย.คดี“บอส อยู่วิทยา”

คดี "บอส กระทิงแดง" ตำรวจ-อัยการ ชี้แจง กมธ.พรุ่งนี้ เปิดสื่อถ่ายทอดสด
 

ทางอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนสอบพยานบุคคลเพิ่มเติมจำนวน 2 ปากตามข้อเสนอความเห็นของกมธ.ยุติธรรม ยุค สนช.ที่กล่าวอ้างขึ้นใหม่ ทั้งที่พยาน 2 ปากนี้ไม่เคยให้การกับพนักงานสอบสวนมาก่อน เพิ่งปรากฏตัว ปี 2562 ภายหลังวันเวลาเกิดเหตุนานถึง 7 ปี ซึ่งปกติพยานลักษณะนี้ ไม่มีน้ำหนักให้น่าเชื่อถือรับฟังได้ แต่อัยการกลับรับฟังคำพยาน จนมีคำสั่งให้กลับคำสั่งเดิมเปลี่ยนจากคำสั่งฟ้องมาเป็นสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธโดยเชื่อพยานหลักฐานใหม่ที่ กมธ.กฎหมาย สนช.ส่งให้ สตช.ไม่แย้งทำให้คดีถึงที่สุด

นายเชาว์ ยังระบุถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า  รัฐบาลซึ่งตอนนี้หนีไม่พ้นข้อครหา เพราะมีการใช้คณะกรรมาธิการกฎหมาย ยุคสนช. มีชื่อน้องชายพลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณรองนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมาธิการ รื้อคดีสอบเองจนกลายเป็นจุดเปลี่ยนของคดี ทำให้เกิดคำถามว่ามีบิ๊กคนไหนเข้าไปสร้างกระบวนการฟอกผิดเป็นถูกให้กับทายาทมหาเศรษฐีหรือไม่
 

“ฐานเศรษฐกิจ” ตรวจสอบพบว่า คณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ ในยุค สนช. มีทั้งสิ้น 30 คน ดังนี้
 

•    พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมาธิการ
•    พลตำรวจโท บุญเรือง ผลพานิชย์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง
•    ร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง
•    พันตำรวจโท พงษ์ชัย วราชิต รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม
•    พลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์ โฆษกคณะกรรมาธิการ
•    นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ
•    พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่ปรึกษาและกรรมาธิการ
•    พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ ที่ปรึกษาและกรรมาธิการ
•    พลเรือเอก กฤษฎา เจริญพานิช ที่ปรึกษาและกรรมาธิการ
•    ศาสตราจารย์พิเศษกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ กรรมาธิการ
•    พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา กรรมาธิการ
•    พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ กรรมาธิการ
•    พลเอก ธนเกียรติ ชอบชื่นชม กรรมาธิการ
•    นายประมุท สูตะบุตร กรรมาธิการ
•    ศาสตราจารย์พิเศษภัทรศักดิ์ วรรณแสง กรรมาธิการ
•    นายภาณุ อุทัยรัตน์ กรรมาธิการ
•    นายฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล กรรมาธิการ
•    พลตำรวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้ กรรมาธิการ
•    พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ กรรมาธิการ
•    พลเอก สมโภชน์ วังแก้ว กรรมาธิการ
•    พลเอก สุชาติ หนองบัว กรรมาธิการ
•    นางสุวิมล ภูมิสิงหราช กรรมาธิการ
•    พลตำรวจเอก เอก อังสนานนท์ กรรมาธิการ
•    นายวรพล โสคติยานุรักษ์ กรรมาธิการ
•    พลตำรวจโท ชาญเทพ เสสะเวช กรรมาธิการ
•    พลตำรวจโท ศานิตย์ มหถาวร กรรมาธิการ
•    นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมาธิการ
•    นายธานี อ่อนละเอียด เลขานุการคณะกรรมาธิการ
•    นายอุสาห์ ชูสินธ์ ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ
•    พลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง กรรมาธิการ

 

ที่มา เว็บไซต์วุฒิสภา