ชงรัฐ‘โมเดลปลดหนี้ชาวนาเป็นศูนย์’

17 ก.ค. 2560 | 16:36 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ก.ค. 2560 | 23:36 น.
1.2 k
เครือข่ายชาวนา-สถาบันประชาชนฯ ชง “โมเดลปลดหนี้ชาวนาเป็นศูนย์” ให้รัฐบาล นำร่องหนี้ ธ.ก.ส.แสนล้าน ใช้หลักการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนร่วมนาแปลงใหญ่บริหารด้วยระบบสหกรณ์ ขอรัฐหนุนค่าครองชีพเดือนละ 3 พัน กันพื้นที่ 2 ไร่ทำไร่นาสวนผสมเพิ่มรายได้

นายระวี รุ่งเรือง นายกสมาคมการค้าเครือข่ายชาวนาไทยและเลขานุการคณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทางสมาคมได้ร่วมกับสมาคมชาวนาและโรงสีข้าวไทย และเครือข่ายสถาบันประชาชนเพื่อการพัฒนาสาธารณสุขมูล ฐาน ทำโมเดล เรื่อง “การปลดหนี้ชาวนาเป็นศูนย์” นำร่องลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สถาบันการเงินของรัฐ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ไม่ ใช่ประกอบธุรกิจพาณิชย์แบบ ธนาคารพาณิชย์ทั่วไป

902 สำหรับวิธีการปฏิบัติเพื่อปลดหนี้ชาวนาเป็นศูนย์ จะคัดเลือกจากชาวนาที่เป็นลูกหนี้ชั้นดีของ ธ.ก.ส. ที่มีการชำระหนี้ปกติ มีสินทรัพย์เป็นหลักประกันที่มีมูลค่ามากกว่าหนี้สิน เมื่อคำนวณออกมาแล้วให้นำหนี้สินมาหักลบกัน เมื่อหักลบกันแล้วนำมูลค่าที่เหลือคำนวณเป็นหุ้นในการลงทุนในนาแปลงใหญ่ และบริหารด้วยระบบสหกรณ์ ซึ่งโครงการนี้ภาครัฐควรสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายเดือนละ 3,000 บาท เพื่อเป็นค่าครองชีพประจำวัน จะได้ไม่ต้องกลับไปเป็นหนี้นอกระบบอีก
นอกจากนี้ให้ชาวนากันพื้นที่ 2 ไร่ นำไปพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ขุดสระนํ้า เลี้ยงปลา และปลูกพืชผักแบบไร่นาสวนผสม เพื่อให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวคาดจะส่งถึงนายกรัฐมนตรีภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และมีเป้าหมายปลดหนี้เกษตรกรให้แล้วเสร็จภายใน 7 เดือน หากได้รับความช่วยเหลือ

นายพายัพ ยังปักษี รักษาการนายกสมาคมชาวนาและโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า โครงการนี้จะมีผู้เข้าร่วมที่เป็นองค์กรชาวนาไม่ตํ่ากว่า 10 องค์กร (ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน) ที่จะผนึกกำลังในการปลดหนี้ ถือเป็นภารกิจที่สำคัญและเร่งด่วน

ขณะที่นายเมธี จันท์จารุ-ภรณ์ ประธานสถาบันประชาชนเพื่อการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน ผู้นำเสนอโมเดลข้างต้น กล่าวว่า ที่ผ่านมาแม้จะมีกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร แต่ก็ไม่สามารถจัดการหนี้ได้สำเร็จ ชาวนามีราย ได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีพ โมเดลที่ออกมาเชื่อว่าจะทำให้ชาวนาไม่หวนกลับไปเป็นหนี้อีก

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มูลหนี้ของชาวนาในระบบ ธ.ก.ส. มีกว่า 1 แสนล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,279 วันที่ 16 - 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560