วันที่ 1 ตุลาคม 2567 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยง ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ,เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น ,เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ,เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง โดยจะมีจุดไหน พิกัดใดบ้างสามารถตรวจสอบรายละเอียดดังต่อไปนี้
เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง
- แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร
ส่วนทางด้านกรมชลประทาน ได้รายงานว่า จากกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า วันที่ 30 ก.ย. - 5 ต.ค.67 บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา/แม่น้ำน้อย และพื้นที่เสี่ยง บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ
- คลองโผงเผง จ.อ่างทอง
- คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา
- ต.หัวเวียง อ.เสนา , ต.ลาดชิด , ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ. พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย)
เฝ้าระวังระดับน้ำอย่างใกล้ชิด หากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น และมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยากรมชลประทานจะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป
ปัจจุบันสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ข้อมูลล่าสุดวันนี้ 1 ต.ค.67 เวลา 07.00 น.
สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์
- ปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,052 ลบ.ม./วินาที
- แนวโน้ม : เพิ่มขึ้น
- ระดับน้ำ : เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานเล็กน้อย แต่ยังต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 2.74 ม.
สถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
- ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,899 ลบ.ม/วินาที
- แนวโน้ม : ทรงตัว
- ระดับน้ำท้ายเขื่อน : ต่ำกว่าตลิ่ง 2.15